เถาถอบแถบ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris trifoliata Lour.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น แควบทะเล ผักแถบ (กลาง), ถอบแถบทะเล (เพชรบุรี), ถั่วน้ำ (นราธิวาส) ทับแถบ (สมุทรสงคราม)
ลักษณะทั่วไป มักจะเลื้อยพันต้นไม้ชนิดอื่น


ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนก้านใบยาว 10-15ซม. มีใบย่อย 1-2 คู่ และที่ปลายอีก 1 ใบ ก้านใบย่อยสั้นแผ่นใบย่อยรูปไข่ แกมรูปขอบขนาน รูปรีแกมรูปขนาน ถึงรูปขอบขนาน แกมรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-5 ซม.ยาว 3-10 ซม.แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้านปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบทู่ถึงมนกลม เส้นใบ 8-10 คู่


ดอก สีขาวก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 5-15 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1 ซม. ออกดอกเดือน พ.ค.-ส.ค.


ผล ฝัก เบี้ยว รูปขอบขนาน ขอบฝักเป็นสันบางแคบ สันฝักด้านบน กว้างกว่าด้านล่างสองเท่า กว้าง 3 ซม. ยาว 3.5 ซม. 1 เมล็ดต่อผล เมล็ดรูปไตยาว 1-1.2 ซม.
นิเวศวิทยา พบตามป่าชายเลนที่ถูกทำลายโดยเฉพาะในป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บนพื้นที่ดอนค่อนข้างสูง และลักษณะดินค่อนข้างแข็ง
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ต้น ราก ใบ ใช้กินเป็นยาระบาย แก้พิษตานซาง ตัดรากตานขโมยถ่ายเสมหะ ใช้ต้มน้ำให้เด็กรับประทาน เป็นยาระบายอ่อนๆ ถ่ายเสมหะเก่าขับผายลม ถ้าใช้เถาเป็นยาระบายดีกว่าใบ
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย