เถาวัลย์หลง

เถาวัลย์หลง

ลักษณะ ต้นใบและเถา เป็นไม้ประเภทพันธุ์เลื้อย ใบคล้ายใบหญ้านาง แต่ใบบางกว่า ท้องใบมีพรายปรอทเป็นมัน เถาคล้ายเถาสลิดหรือขจร เป็นปล้องๆ แต่ใบไม่เหมือนกัน เถาวัลย์หลงนี้มีสองชื่อ ชื่อหนึ่ง เรียกว่า “เถาหมาหลง” คนโบราณได้เล่ากันต่อๆ มาว่าเป็นต้นไม้เถาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่ออกจะแปลก ถิ่นกำเนิดอยู่ในแดนเมืองลับแล คือเมืองลับแล จังหวัดอุดรดิษถ์ แต่สมัยนี้หายาก และยากนักที่ชาวเมืองนั้นจะรู้จัก ไม้เถาต้นนี้

เถาวัลย์หลงนี้มีอยู่สองชนิด ชนิดดอกขาวเป็นตัวผู้ ชนิดดอกสีม่วงเป็นตัวเมีย ต้นใบและเถาเหมือนกันไม่มีอะไรแปลกแตกต่างกัน

สรรพคุณ ถ้าได้ทั้งชนิดผู้และเมียปลูกไว้ใกล้กันจะดีมาก ปลูกไว้เป็นซุ้มประตูลอดเข้าออกหน้าบ้าน ผู้ใดลอดผ่านเข้าไปแล้วจะเกิดงวยงงหลงไหล เกิดความนิยมชมชอบเจ้าของบ้าน จะพูดจะเจรจาพาทีกับเจ้าของบ้านอ่อนละมุลนุ่มนวลถึงแม้ผู้นั้นจะเคยพูดจาโผงผางโฮกฮากมาก่อน ที่เคยระแวงแครงใจหรือเคยเป็นศัตรูคู่อาฆาตคิดร้ายมาเก่าก่อน เมื่อลอดซุ้มประตูเข้าไปแล้วเกิดเป็นจังงังหลงไหลเปลี่ยนแปลงสิ่งร้ายกลายเป็นดี เกิดความเมตตาสงสารเห็นใจเจ้าของบ้าน ถ้าเจ้าของบ้านเป็นผู้ปลูกเองจะดียิ่งนัก ถ้าบ้านนั้นเป็นร้านค้าพาณิชย์ ผู้ ผ่านเข้าไปในร้านซื้อขายไม่พอใจในเบื้องต้นกลับออกไปแล้วก็จะหวลกลับมาซื้อของในร้านนั้นอีกติดมือไปจนได้

ตามตำรายังกล่าวไว้อีกว่าในป่าแถบเมืองลับแลนี้มีมาก เถาวัลย์หลงนี้เลื้อยเต็มไปหมดตลอดพื้นดิน ผู้ใดเดินผ่านข้ามเถาวัลย์นเข้าไปก็เกิดงงงวยหลงไหลกลับบ้านไม่ถูกเรียกว่าหลงป่าเลยเข้าไปพบหมู่บ้านซึ่งมีแต่สตรีเพศเป็นส่วนมากที่เรียกว่าเมืองแม่หม้าย ในที่สุดก็ลืมบ้าน จึงได้ชื่อว่าเถาหมาหลงอีกชื่อหนึ่ง