เป้งทะเล

(Mangrove Date Palm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix paludosa Roxb.
ชื่อวงศ์ ARECACEAE
ชื่ออื่น เป้ง
ลักษณะทั่วไป พวกปาล์ม ลำต้นสีเหลืองอมน้ำตาลถึงนํ้าตาลไหม้
ใบ ใบค่อนข้างสั้น กว้าง 0.45 ซม. ยาว 1.5 ม. ใบโค้งมีสีเขียว เป็นมันหรือสีเขียวอมเหลืองผิวใบด้านล่างเป็นสีเทาคล้ายควันโคนใบจะมีเส้นใยเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยจะเล็กแคบยาว ขอบจะพับเข้า จะค่อนข้างแข็งและตรงปลายใบจะห้อยลง ก้านใบด้านล่างจะมีหนามเรียวยาว แหลมและแข็ง


ดอก สีเหลืองนวล ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกตั้งตรง ออกดอกที่ง่ามใบ มีกาบขนาดใหญ่ 1 อันหุ้มอยู่ แต่กาบอันนี้จะหลุดไปในไม่ช้า ก้านช่อดอก ยาว 60 ซม. จะประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อย ซึ่งเป็นช่อเชิงลดเรียวตรงมีจำนวนมากมักจะเรียงทำมุมแคบกับแกนหลักไปทางปลายช่อ
ผล ผลสด อ่อนนุ่ม รูปไข่ กว้าง 0.8-1 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ผลแก่ มีผนังชั้นในบางคล้ายกระดาษ 1 เมล็ดต่อผล
นิเวศวิทยา พบตามป่าชายเลนในที่ระดับน้ำขึ้นน้ำลงท่วมไม่ถึงลำต้น หรือท่วมไม่นาน มีความทนทาน มีอายุยืน ไม่ต้องคอยดูแล
การใช้ประโยชน์ ใบ นำมาประกอบเป็นอุปกรณ์ประมง ต้น นำมาทำหลักหอย หรือทุบ ตากแดดทำเป็นไม้กวาด
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ยอดอ่อน ตำกับกะปิ และหัวหอม พอกแก้พิษปลาดุกทะเล นำมาต้มหรือคั่วผสมน้ำดื่ม แก้โรคลม แก้ท้องเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ และนำมารับประทานเป็นผัก
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย