เฟนเนล(Fennel)


ลักษณะทั่วไป
เพิ่งเริ่มนำเข้ามาปลูก ตลาดยังแคบ วิธีการปลูกง่าย เพียงแต่ระวังโรคเน่าดำ(black Rot) ในฤดูฝน ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกบนเนื้อที่เพียงเล็กน้อยในสถานีทดลองไม่กี่แห่ง ราคาเคลื่อนไหวง่ายแล้วแต่ปริมาณที่ออกสู่ตลาด การตัดสินใจของเกษตรกรเองที่มีผลกระทบต่อราคา
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Zefa Fino
ฤดูปลูก ตลอดปี
ระดับความสูง 800 เมตรขึ้นไป
ความเป็นกรดด่างของดิน 6.0-6.5
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย
ระยะปลูก (ต้นxแถว)    15×20 ซม.
ความลึก 5 ซม.
จำนวนต้น 28-33 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของแปลง 1 เมตร
ระยะห่างระหว่างแปลง 50 ซม.
การเตรียมกล้า
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    1×10 ซม.
ความลึก 0.5 ซม.
จำนวนต้น 600 ต้น/ตร.ม. (คาดว่ากล้าจะเสีย 40%)
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุนผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ควรปลูกฤดูร้อน เพราะในฤดูฝนมีปัญหาเรื่องโรค โดยเฉพาะ โรคเน่าดำ


ผลผลิต
ฤดูหนาว 150-220 กก. เป็นเกรด A ถึง 90% ฤดูร้อน 140-160 กก. เป็นเกรด A ถึง 80% ฤดูฝน ประมาณ 100 กก.เป็นเกรด A 70-80% แต่ถ้ามีการจัดการดี ผลผลิตฤดูฝนอาจสูงถึง 120-140 กก.
ราคาขายของเกษตรกร
ขึ้นลงแล้วแต่ปริมาณที่ออกขาย ฤดูหนาวราคาต่ำประมาณ 4-6 บาท/กก. ฤดูร้อน 8-10 บาท และฤดูฝนประมาณ 13 บาท
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
สูงกว่าเล็กน้อยในการปลูกฤดูฝนเพราะต้องใช้ยากำจัดเชื้อรา
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
เกษตรกรมีความรู้สึกไวต่อเรื่องราคา ถ้าคาดว่าราคาดีจะทำการเพาะปลูกมากเกินกว่าโควต้า ซึ่งมีผลทำให้ราคาตก ควรรักษาระดับการผลิต โดยพยายามให้เกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรเมล็ดพันธุ์ ทำการเพาะปลูกต่อเนื่อง และพยายามคัดเลือกเกษตรกรที่เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ในการปลูกควรแนะนำให้เกษตรกรปลูกให้เป็นระเบียบเพื่อง่ายต่อการปฏิบัติดูแลรักษา เกษตรกรควรระวังอย่าให้ก้านใบหักหรือต้นพืชเป็นแผลทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
การตลาด
ตลาดแคบและจำกัด ราคาไม่แน่นอน ระหว่าง 25-35 บาท/กก. ช่วงฤดูหนาว ผลผลิตมักมากเกินไปจนล้นตลาด
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)
ในแต่ละขั้นตอนการผลิต ต้องการชนิดและปริมาณปัจจัย ดังนี้


ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช ไม่มีปัญหา
โรค
โรคเน่าดำ (Black Rot) เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani วิธีป้องกันแก้ไขเทอร์ราคลอร์ (Terraclor) หรือ บราสซิคอล (Brassical)
อื่นๆ
ขาดธาตุ โบรอน (Boron Deficiency) ทำให้ต้นแตกหัก แก้ไขโดยใส่โบแรกซ์ (Borax), เอ็มซีเอ (MCA) หรือฉีดพ่น โทนา (Tona)
การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงเพาะกล้า
เตรียมดินขึ้นแปลงไว้ ก่อนเพาะกล้า คลุกปูนขาว ขี้ไก่ ปุ๋ย 15-15-15 และ เซฟวิน 85 ลงในดิน ขีดร่องลึก 0.5 ซม. ขวางแปลง ร่องห่างกัน 10 ซม. หยอดเมล็ดแล้วกลบดิน รดน้ำ คลุมแปลงด้วยตาข่ายพลาสติค 7-10 วัน จนกว่าเมล็ดงอก แล้วเอาออก รดน้ำเช้า-เย็น กำจัดวัชพืชถ้าเป็นปัญหา ระวังอย่าให้เกิดโรคเน่าคอดิน (Damping Off) ถอนกล้าย้ายปลูกเมื่ออายุ 25-30 วัน ไม่จำเป็นต้องแซะให้ติดราก
ช่วงการปลูก
ขุดดินตากไว้ให้แห้ง 7 วัน คลุกปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีลงในดิน ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ห่างกันแปลงละ 50 ซม. ทำหลุมลึกเพียง 5 ซม.ย้ายกล้ามาปลูก ระยะห่างกัน 15×20 ซม. (4-5 แถวต่อแปลง) ให้ดินกลบรากถึงโคนต้นเท่านั้น
ช่วงดูแลรักษา
ปลูกซ่อมหลังย้ายปลูก 7-15 วัน ละลายปุ๋ย 46-0-0 รดแปลงหลังย้ายปลูก 20 วัน และใส่ปุ๋ย 15-15-15 ประมาณ 15-20 วัน หลังจากการใส่ปุ๋ยครั้งแรก โรยปุ๋ย 1 ช้อนแกง ห่างจากต้น 10 ซม. แล้วกลบดิน ฉีดพ่นยากำจัดเชื้อรา ถ้าจำเป็น (หลังฝนตกหนัก) หลีกเลี่ยงการรดน้ำมากเกินไป และถ้าขาดธาตุโบรอน ลำต้นจะแตก
ช่วงเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวได้ 2-3 ครั้งต่อฤดู ใช้มีดตัดตรงโคนต้น
ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่