เฟินเงินใช้รักษาโรคใดบ้าง


ชื่อ
จีนเรียก   หงบวยปิก  ห่งบวยเช่า Pteris ensiformis Burm. หรือ P. Mulifolia Poir.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามชายป่า ซอกผา ริมกำแพงบ้าน และที่ลุ่ม เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี ลำต้นเล็กและขึ้นราบไปตามหน้าดิน รากก็สั้นใบขึ้นเป็นแฉกๆ หลายแฉก ยาวฟุตกว่าๆ สังเกตดูจะมีใบจริงและใบไม่จริงออกมาปนกัน ใบจริงนั้นยาวและมีขนปุยขึ้นตามใบ ส่วนใบปลอมนั้นมักจะสั้นและมีขนาดกว้างกว่า ขอบใบมีรูปเป็นฟันเลื่อย พืชชนิดนี้มีสองจำพวกอีกจำพวกหนึ่งเรียกว่าห่งบวยเช่า ลำต้นยาวประมาณ 2 ฟุต รากสั้นแต่สั้นกว่ามีใบจริงใบปลอมด้วยเช่นกัน ใบจริงนั้นแฉกแหว่งและแคบ ส่วนใบปลอมนั้นแฉกแหว่งมักจะสั้น

รส
ขมนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ธาตุเย็นประสะเลือดและลำไส้ให้เย็น ขับปัสสาวะ แก้พิษ ฤทธิ์เข้าถึงลำไส้ และม้าม

รักษา
บิดมูกบิดเลือด ปัสสาวะไม่คล่องในหน้าร้อน

ตำราชาวบ้าน
1. บิดมูกบิดเลือด – เฟินเงิน 2 ตำลึง ต้มนํ้าชงนํ้าผึ้งหรือนํ้าตาลแดงรับประทาน ติดต่อกัน 2-3 วัน หรือเฟินเงิน 2 ตำลึง ต้มกับปอนก
2 ตำลึง หรือต้มกับใบบัวบก 1 ตำลึง หรือต้มกับผักเบี้ยขาว 1 ตำลึง รับประทานก็ได้
2. ปัสสาวะเลือด – เฟินเงิน ต้มกับสายนํ้าผึ้ง อย่างละ 1 ตำลึง ชงนํ้าผึ้งรับประทาน
3. ปัสสาวะเลือด – เฟินเงิน 2 ตำลึง ผักกาดนํ้า  1 ตำลึง ต้มด้วยกันรับประทาน
4. เลือดกำเดา – เฟินเงิน รากหญ้าคาอย่างละครึ่งตำลึงต้มกับกวยแชะ รับประทาน
5. ปัสสาวะไม่คล่อง – เฟินเงิน 2 ตำลึง ต้มใส่นํ้าตาลแดงรับประทาน

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช