เม่าไข่ปลา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma ghaesembilla Gaertn
ชื่อวงศ์ STILAGINACEAE
ชื่ออื่น เม่าทุ่ง (ชุมพร, สงขลา). มังเม่า (กาญจนบุรี), มะเม่าข้าวเบา (ชุมพร) มะเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขะเม่าผา กูแจ (มลายู – นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 2-6 ม. ไม้เนื้อแข็ง เปลือกไม้เป็นรูปปุยขาว กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสั้น
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ยาว 5-7 ซม. กว้าง 3.5-4.5 ซม. ด้านบน เกลี้ยงถึงมีขนประปราย ด้านล่างมีขนสั้นๆ ปลายใบมนกลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนกลมถึงหยักเว้า แผ่นใบค่อนข้างกลมรูปไข่ถึงรูปรี เส้นแขนงใบ 5-7 คู่ หูใบเล็กและหลุดร่วงง่ายยอดสีขาวอมแดงใบแก่ สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.5-1 ซม.


ดอก ไม่มีกลีบดอก สีเขียวอ่อน แยกเพศอยู่ต่างต้นออกเป็นช่อ คล้ายๆ หางหนูสั้นๆ ออกตามง่ามใบใกล้ยอดและปลายกิ่งแต่ละช่อ ยาว 1-2 ซม. บางครั้งแยกเป็นช่อแขนงตามปลายกิ่ง
ผล ค่อนข้างกลม ผลแก่สีแดงคล้ำถึงดำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มม. ปลายประดับด้วยก้านเกสรตัวเมีย มี 1 เมล็ดต่อผล
นิเวศวิทยา พบตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ในพื้นที่โล่งลุ่มตํ่า และป่าพรุ
การใช้ประโยชน์ ยอดอ่อน ใบอ่อน นำมาปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง หรือใช้ต้มเป็นผักจิ้ม (ยอดมีรสฝาดอมเปรี้ยวและมัน)
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ต้นและราก รสจืดขับปัสสาวะ แก้กษัย บำรุงไต แก้มดลูกพิการ แก้ตาขาว แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย