เลี่ยนดอกม่วงมีประโยชน์อย่างไร


ชื่อวิทยาศาสตร์ Melia azedarach Linn.
ชื่ออื่นๆ เลี่ยน (กลาง) เคี่ยน เฮี่ยน (เหนือ)
ชื่ออังกฤษ Bastard Cedar, Persian Lilac, Bead Tree, Indian Lilac, China Berry Tree, Pride of India, Chinese Umbrella Tree, Cape Syringa, Syringa Tree.
ลักษณะ    ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 8-12 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบยาว 20-40 ซ.ม. เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่ยาวผิวใบเป็นมันขอบใบหยัก ดอกช่อมีสีม่วงอ่อน (lilac) กลิ่นหอม เกสรตัวผู้มีสีม่วงแก่ ช่อดอกออกตามง่ามของใบ กับลำต้น ผลค่อนข้างกลม ผลอ่อนมีสีเขียว รสฝาด เมื่อสุกจะมีสีเขียวอมเหลือง รสหวาน ในผลจะมีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ เนื้อไม้ ใบ เปลือกต้น ผล เมล็ด ราก
สารสำคัญ เปลือกต้น มีอัลคาลอยด์ margosine และแทนนิน
เปลือกราก มีชัน
ผล มีอัลคาลอยด์ azaridine ซึ่งเป็นสารพิษ bakayanin และ margosine เมล็ด มี 60% ของกรดไขมัน เช่น stearic, palmatic และ butyric acid มีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ
ประโยชน์ทางยา ใบ เปลือก ต้น ผลใช้เป็นสารไล่แมลง (repellent) ใบต้มกับนํ้าความแรง 3-5% ฉีดไล่ตั๊กแตน (grasshopper) และตั๊กแตนห่า (locusts) ผลเป็นพิษต่อปลา คน สัตว์บางชนิด และต่อตัวมวน ทำให้เกิดการผิดปกติในทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน และท้องเดิน แต่ไม่เป็นพิษต่อแกะและแพะ
การเกิดพิษ ถ้าได้รับขนาดมากขึ้นจะมีอาการเดินโซเซ ง่วงซึม ตาพร่า สมองสับสน ม่านตาขยาย หายใจโครกคราก และมีนงง เปลือกราก มีฤทธิ์เป็นยาขับพยาธิ
ดอก ใบ ใช้ทำยาพอกแก้ปวดศีรษะด้วยโรคประสาท นํ้าจากใบ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ
เปลือกต้น รักษาไข้มาลาเรีย นํ้ามันจากผล รักษาโรคผิวหนัง
ผล ใช้ขับพยาธิตัวกลม ขนาดที่ใช้ 15-20 กรัมทำเป็นยาต้ม
อื่นๆ เนื้อไม้ กระพี้ (sapwood) มีสีขาวปนเหลือง แก่น (heartwood) มีสีแดงเป็นไม้ที่ มีเนื้อสวยมาก นิยมทำเครื่องดนตรีและเครื่องเรือน
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ