สภาพพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลือกสถานที่และการออกแบบที่เพาะIลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลือกสถานที่และการออกแบบที่เลี้ยงสัตว์น้ำ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่จะดำเนินการ และสอดคล้องกับสภาพของภูมิประเทศ เป็นต้นว่า การเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพหลักหรือเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือเป็นงานอดิเรก ความสำเร็จของการดำเนินการเลี้ยงสัตว์น้ำขึ้นอยู่กับการเลือกที่ได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดหรือไม่ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือการออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ โดยเฉพาะลักษณะพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นที่ราบสูง ปริมาณฝนตกเฉลี่ยระหว่าง 1,000-1,800 มม./ปี ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดินร่วน ซึ่งเฉลี่ยแล้วมีอนุภาคดินเหนียว (Clay Particle) มากกว่า 35% โดยคิดเฉลี่ยจากดินชั้นล่าง พื้นที่ดินบางส่วนมีลักษณะเป็นดินเค็มไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกประมาณ 36 ล้านไร่ แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำ 6 สาย อ่างเก็บน้ำ และหนองบง มีพื้นที่นับล้านไร่ที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการชลประทานได้ในปัจจุบัน 3.6 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝน

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลี้ยงปลาในบ่อ

พื้นที่และทำเลที่จะดำเนินการขุดปอเลี้ยงปลาควรคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการคือ

1. สภาพพื้นที่และทำเลที่ตั้ง ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการก่อสร้างและดำเนินงาน จะต้องได้ผลตอบแทนคุ้มค่าในการลงทุน

2. ลักษณะคุณภาพของดิน

3. น้ำและแหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง

1. สภาพพื้นที่ ควรมีลักษณะภูมิประเทศที่มีเชิงลาดกว้าง เมื่อสร้างบ่อก็สามารถที่จะชักน้ำและระบายน้ำทิ้งได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ พื้นที่ดังกล่าวที่เป็นที่ราบ ทุ่งนา มีลำคลองชลประทานใหญ่ และคลองซอยส่งน้ำ มีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตชลประทาน บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำเขือน อุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำลำปาว อ่างเก็บน้ำอูน และอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นจำนวนมากโดยกรมชลประทาน

สภาพพื้นที่ลำดับรองลงมาที่สมควรพิจารณาเลือก ได้แก่ บริเวณพื้นที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ซึ่งสามารถจะสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้เสมอตลอดปี และไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม

พื้นที่ในเขตเกษตรน้ำฝนในภูมิภาคนี้ซึ่งมีอยู่จำนวนมากก็สามารถจะเลือกเป็นที่ขุดบ่อเลี้ยงปลาได้ โดยพิจารณาในพื้นที่เอียงลาด เมื่อมีฝนตกลงมาน้ำฝนก็จะไหบ่าจากที่สูงบริเวณรับน้ำ (Water shed) ลงมาข้างล่าง ส่วนขนาดของบ่อนั้นขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำฝนและปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมา โดยปกติเนื้อที่แหล่งรับน้ำฝน 5-10 ไร่ จะรับน้ำได้เพียงพอสำหรับขุดบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1 ไร่ ซึ่งจะมีน้ำเลี้ยงปลาในช่วงฤดูฝนระยะเวลาประมาณ 4-6 เดือน และหากพื้นที่รับน้ำมีลักษณะเป็นป่าไม้ซึ่งสามารถดูดซับ น้ำฝนที่ตกลงมาได้มาก ขนาดของปอปลาก็ต้องปรับตามความเหมาะสม

โดยหลักการทั่วไปควรพิจารณาในด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

-พิจารณาในด้านสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดภาวะน้ำเสีย อันเกิดจากสารพิษ หรือสิ่งปฎิกูลจากโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง หรือทางเหนือน้ำ

-ด้านคมนาคมที่สะดวกต่อการขนส่ง และลำเลียงไปจำหน่าย

-ด้านสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานของกิจการ เช่น ไฟฟ้า ซึ่งมีความสำคัญที่จะใช้กับเครื่องสูบน้ำและเครื่องเพิ่มออกซิเจน ในการเพาะฟักและอนุบาลลูกปลา หรือเลี้ยงปลา

-สามารถจัดหาแหล่งอาหารปลาได้ง่ายและราคาถูก

-ด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น เป็นพื้นที่ซึ่งปราศจากจากโรคพยาธิระบาด และปลอดภัยจากขโมยและโจรผู้ร้าย

-ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุน ผลผลิตที่จะได้รายได้ ระยะเวลาที่คุ้มทุน และการขยายกิจการในอนาคต

2. ลักษณะคุณภาพของดิน(Soil) ควรเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย น้ำไม่ซึม หรือรั่ว ไม่ควรเลือกที่ที่เป็นดินทราย หิน หรือกรวด การทดสอบว่าดินจะเก็บกักนำได้ดีหรือไม่เพียงใดก็โดยนำดินมาผสมกับน้ำพอหมาดๆ แล้วบีบ หรือปั้นหากดินจับกันเป็นก้อนแน่นแสดงว่าเก็บน้ำได้ดี อนึ่ง การตรวจลักษณะของดินที่จะขุดปอนั้น ควรใช้สว่านเจาะดินตรวจดูสภาพของดิน ในระดับความลึก 50 ซม. 100 ซม. 150 ซม. และ 200 ซม. เพื่อกำหนดความลึกของพื้นดินก้นบ่อให้อยู่ในระดับดินที่เหมาะสม

3. น้ำและแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ถ้าเลือกที่ได้บริเวณเขตชลประทานหรือใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปีก็จะไม่มีปัญหาเรื่องปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงปลาในบ่อ ส่วนบริเวณอื่นๆ เช่น เขตเกษตรน้ำฝน ก็ควรจะพิจารณาปริมาณ ฝนตกประจำปี และแหล่งรับน้ำสัมพันธ์กับขนาดของบ่อเลี้ยงปลาที่จะขุด นอกจากนี้ในภูมิภาคนี้ยังมีแหล่งน้ำซับจำนวนมากที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเลื้ยงปลาได้

สำหรับคุณสมบัติของน้ำที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงปลา ก็มีความสำคัญมาก เพราะน้ำเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของปลา คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลา มีดังนี้

-อุณหภูมิ เนื่องจากระดับของอุณหภูมิและความแตกต่างของอุณหภูมิของน้ำมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตของบ่อสัตว์น้ำ เพราะอุณหภูมิมีส่วนสำคัญต่อขบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย ของตัวปลา เช่น การกินอาหาร การสืบพันธุ์ การเคลื่อนไหว การหายใจ ปกติปลาในเขตร้อนชอบอาศัยอยู่ในนํ้าที่มีอุณหภูมิระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส

-ความขุ่น ความขุ่นของน้ำตามธรรมชาติจากอินทรียสาร เช่น ตะกอน (silt) และโคลนตมที่แขวนลอยในน้ำเป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ ส่วนความขุ่นของน้ำอันประกอบ ด้วยแพลงก์ตอนสีเขียวเป็นสิ่งแสดงความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติในบ่อ ความขุ่นของน้ำอันเกิดจากตะกอนดิน ถ้ามีมากเกินไปก็อาจจะเป็นอันตรายต่อปลา หรือทำให้แสงสว่างส่องลงไปได้ลึกไม่เกิน 30 ซม. ก็จะทำให้พืชหรือแพลงก์ตอนพืชที่อยู่ใต้น้ำไม่สามารถจะเจริญเติบโตได้

-ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (O2) ปริมาณของออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีความสำคัญมากที่สุดในการเพาะเลี้ยงปลาเนื่องจากปลาต้องใช้ในการหายใจ น้ำจะได้รับออกซิเจนส่วนใหญ่ 2 ทาง คือ จากบรรยากาศที่อยู่ผิวน้ำ (มี O 2 อยู่ประมาณ 20%) แต่จะสามารถละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อยโดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ระดับความสูงและความเค็มของน้ำ ถ้าหากอุณหภูมิของน้ำสูง และมีความเค็มสูง ออกซิเจนจะละลายน้ำได้น้อย แหล่งสำคัญของออกซิเจนในน้ำอีกทางหนึ่งคือ การสังเคราะห์แสงของพืช โดยเฉพาะแพลงก์ตอนพืชโดยขบวนการแสงสังเคราะห์เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่ละลายน้ำแก่ปลาได้เป็นอย่างดี และเป็นการลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปด้วยถ้าหากมีในปริมาณที่พอเหมาะ

ในกรณีที่มีปริมาณของแพลงก์ตอนพืชมากเกินไปในตอนกลางคืน แพลงก์ตอนพืชจะหายใจใช้ออกซิเจน ทำให้ปริมาณลดลงตํ่าจนเป็นอันตรายต่อปลา สำหรับปริมาณของ O 2 ที่ละลายในน้ำเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลามีค่าตั้งแต่ 3 ppm. ขึ้นไป (วัดในตอนเช้ามืดเนื่องจากเป็นช่วงที่ D.O. ต่ำสุดของวัน)

-ความเป็นกรดเป็นด่าง ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ เป็นการวัดปริมาณของ เฮโดรเจนไอออน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในสภาพแวดล้อมที่สัตว์น้ำอาศัย น้ำที่มีคุณสมบัติเป็นกลางมีค่า pH 7 การเพิ่มไฮโดรเจนไอออนทำให้ค่า pH ต่ำลง หรือเป็นกรด การลดไฮโดรเจนไอออนทำให้ค่า pH สูงขึ้น หรือเป็นด่าง

น้าที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เป็นน้ำที่เหมาะแก่การเลี้ยงปลามากที่สุด เพราะในน้ำที่เป็นด่างมากปลาจะตาย และถ้าเป็นกรดปลาจะไม่อยากกินอาหาร อัตราการเจริญเติบโตลดลง และมีความต้านทานต่อโรคต่ำ อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

-คาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2) ตามธรรมชาติคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำได้มาจากบรรยากาศ การหายใจของพืชและสัตว์ และการเน่าสลายของอินทรียสาร โดยปลาจะหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในน้ำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ระดับสูงกว่า 5 ppm. แต่อาจมีบางชนิดสามารถอยู่ได้ในน้ำที่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในระดับสูงเกินกว่า 60 ppm. แต่ทั้งนี่ต้องมีออกซิเจนในระดับที่เพียงพอ และในวันหนึ่งๆ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงในตอนกลางคืน และลดลงในตอนกลางวันเนื่องจากถูกพืชน้ำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง

-แก๊สแอมโมเนีย (NH3) เป็นแก๊สที่มีพิษต่อปลามาก เกิดจากเศษอาหารที่หลงเหลือและมูลต่างๆ ที่สัตว์นํ้าขับถ่ายออกมา เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำมาก ถ้าความเข้มข้นในน้ำเกิน 2 ppm.  จะส่งผลให้กุ้ง ปลา เบื่ออาหารและเคลื่อนไหวช้าลงหากเกิน 5 ppm. จะทำให้กุ้ง ปลา บางชนิดตายได้นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้วน้ำบาดาลก็เป็นแหล่งกำเนิดแอมโมเนียที่สำคัญเช่นกัน ปัจจุบันมีวิธีแก้ไขโดยใช้ปูนขาว หรือเกลืออินออร์แกนิคบางชนิด ซึ่งสามารถดูดซึมการแตกตัวของแอมโมเนียได้

-ความเป็นด่างและความกระด้าง (Alkalinity) ความเป็นด่างหมายถึงความเข้มข้นของสารประกอบพวกด่างที่มีอยู่ในน้ำ โดยมีปฎิกิริยาสมดุลกับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO 3)

ระดับที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาพบว่า ค่าความเป็นด่างและความกระด้าง อยู่ในระหว่าง 20-300 ppm. ถ้าหากมีต่ำกว่านี้สามารถทำให้เพิ่มได้โดยใช้ปูนขาว โดยทั่วไปบ่อปลาที่มีน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโต ควรมีค่าความเป็นด่างและความกระด้าง (Total Alkalinity) สูงกว่า 100 ppm.

-ก๊าซไข่เน่า(H2S) เกิดจากการหมักหมม และการเน่าสลายของอินทรืuยสารก้นบ่อ จะเกิดปัญหาในการเลี้ยงปลาที่มีการให้อาหารปริมาณมาก และมีอาหารตกค้างและเป็นพิษต่อปลา โดยเฉพาะปลาที่อ่อนแอมีภูมิต้านทานต่ำ แม้เพียง 0.1-0.2 ppm. ก็จะตายได้ ส่วนปลาที่แข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง แต่ถ้าเกิน 1 ppm. ก็จะมีอาการมึนงงและตายได้เช่นกัน และสำหรับแนวทางในการแก้ไขทำได้โดยการตากบ่อ ลอกเลน และโรยปูนขาว ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณ H2S ในบ่อให้ลดน้อยลงไปได้

การเลี้ยงปลาในนา

สามารถดำเนินการได้ทั้งในระหว่างปลูกข้าวและหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือในนาที่อยู่ในบริเวณที่ลุ่มซึ่งสามารถดัดแปลงใช้เป็นแปลงนาที่ใช้เฉพาะการเลี้ยงปลา

การเลือกทำเลที่เหมาะสม

สภาพพื้นที่นาข้าวที่เหมาะสมจะทำการเลี้ยงปลานั้น ควรเป็นพื้นที่นาอยู่ในเขตชลประทาน ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 3 ล้านไร่เศษ จากพื้นที่นาทั้งหมดในภาคนี้จำนวน 38,619,691 ไร่ (สถิติของกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2523) พื้นที่นาดังกล่าวนี้อยู่บริเวณทุ่งราบกว้างท้ายอ่างเก็บน้ำ มีคลองส่งน้ำชลประทานขนาดใหญ่ และคลองซอยเชื่อมเข้าสู่แปลงนาในเขตพื้นที่ พื้นที่เหล่านี้เหมาะสมที่จะทำการส่งเสริมให้ชาวนาเลี้ยงปลาในนากันมากขึ้น คาดว่าสามารถจะดำเนินการได้อย่างน้อย 5% ของพื้นที่นาในเขตชลประทาน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 150,000 ไร่ แต่สถิติกรมประมง ปี 2528 มีผู้เลี้ยงปลาในนาข้าวของภาคตะวันออก เฉียงเหนือเพียงรวม 3,733 ราย เป็นเนื้อที่ 14,902 ไร่

สภาพพื้นที่ลุ่มในภูมิภาคนี้ซึ่งสำรวจโดยดาวเทียมและภาคสนาม มีเนื้อที่ทั้งหมด 365,995 ไร่ เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดปีหรือเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ เช่น พื้นที่ราบลุ่มริมเขตทุ่งกุลาร้องไห้ สภาพพื้นที่ดังกล่าวนี้เหมาะสมที่จะดัดแปลงเป็นแปลงเนื้อที่ใช้ในการเลี้ยงปลาได้ดี โดยยกคันดินให้สูงและกว้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม พื้นที่บางแห่งสามารถยกระดับน้ำให้สูงมีสภาพเช่นเสียวกับบ่อเลี้ยงปลา

สภาพพื้นที่นาที่อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ สามารถจะพิจารณาเลือกเป็นที่เลี้ยงปลาในนาได้ โดยเลือกแปลงที่อยู่ทางด้านต่ำของพื้นที่เอียงลาดซึ่งมีพื้นที่ลักษณะดังกล่าวอยู่จำนวนมาก และหากเป็นผืนที่นาแปลงใหญ่และมีชาวนาหลายคนเป็นเจ้าของ ก็อาจใช้วิธีจัดรูปที่ดินโดยชักชวนให้ร่วมมือกันทำการเลี้ยงปลาในนาบนพื้นที่ที่มีระดับลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ

พื้นที่ซึ่งมีลักษณะดินเค็มมีอยู่ประมาณ 36 ล้านไร่ ที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้อาจทำเป็นแปลงนาที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีความเค็มสูงได้ เช่น กุ้งทะเล อาร์ทีเมีย ปลากระบอก ปลานวลจันทร์ทะเล และปลานิลแดง เป็นต้น

การเลี้ยงปลาในกระชัง

การเสือกสถานที่ได้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งจะส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตดี อัตราการรอดตายสูง ทุ่นค่าใช่จ่าย และได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าในการลงทุน ในการเลือกที่มีปัจจัยต่างๆ ที่สมควรนำมาใช้ในการพิจารณาดังนี้

1. คุณสมบัติของน้ำดี ถ้าเป็นแม่น้ำต้องเลือกที่กระแสน้ำไม่แรง และในช่วงฤดูฝน นำไม่ขุ่นมากจนเป็นอันตรายต่อปลา และถ้าเลี้ยงในหนองบึงหรืออ่างเก็บน้ำก็พิจารณาในที่มีน้ำลึกประมาณ 3-5 เมตร หรือในทำเลที่พื้นล่างของกระชังอยู่สูงกว่าพื้นดินใต้ท้องน้ำ 1-2 เมตร มีที่บังคลื่นลมพอสมควร แหล่งน้ำที่มีอาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอน ลูกกุ้ง ลูกปลา มีส่วนช่วยทำให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็ว และแข็งแรง

2. ใกล้แหล่งพันธุ์ปลาและสะดวกในการจัดหาอาหารปลา

3. การคมนาคมในการลำเลียงปลา

4. ด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และปราศจากโรคระบาดจากพยาธิ และภัยธรรมชาติ

5. ไม่ขัดต่อกฎหมายการชลประทานและการสัญจรทางน้ำ

6. ปราศจากโจรผู้ร้าย

การเลี้ยงปลาในคอก

ควรเลือกบริเวณอ่างเก็บน้ำหรือหนองบึงที่เป็นอ่าว และมีระดับน้ำลึกประมาณ 1-3 เมตร และมีระดับน้ำขึ้นในรอบปีไม่แตกต่างกันมากนัก การกั้นคอกหรือทำคอกอาจสร้างเป็นลักษณะกลม สี่เหลยม หรือกึ่งวงกลม หรือกึ่งสี่เหลี่ยมก็ได้ แต่ถ้าการกั้นคอกกระทำเพียงด้านเดียวซึ่งจะเป็นการประหยัดเงิน สะดวกในการดูแลรักษา และสถานที่บริเวณริมฝั่งซึ่งเป็นที่เปิดรับทางลม เนื่องจากกระแสลมจะช่วยพัดแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหารปลาให้สะสมในบริเวณคอกเลี้ยงปลา

1. ควรเป็นบริเวณที่มีการหมุนเวียนของกระแสน้ำ เนื่องจากกระแสน้ำจะเป็นตัวช่วยให้มีการหมุนเวียนของออกซิเจนในน้ำ ช่วยขจัดของเสียอันเกิดจากการขับถ่ายของปลา และช่วยพัดพา

อาหารจากพื้นน้ำเบื้องล่างขึ้นสู่ผิวน้ำ ช่วยให้ผลผลิตของการเลี้ยงปลาในคอกสูงขึ้น

2. บริเวณที่จะใช้สร้างคอกเลี้ยงปลา ควรมีระยะเว้นห่างจากคอกปลาอื่นๆ และอยู่ห่างจากชายฝั่งพอสมควร

3. พื้นท้องนาบริเวณที่จะสร้างคอกเลี้ยงปลา ควรเป็นดินโคลนที่หนาพอประมาณ พื้นที่เป็นกรวดหรือทราย จะก่อให้เกิดความยากลำบากในการก่อสร้างคอกเลี้ยงปลามาก

4. เป็นแหล่งที่อยู่ใกล้ตลาดหรือมีเส้นทางขนส่งสะดวก

การเลี้ยงปลาในร่องสวน

คูในร่องสวนผลไม้หรือแปลงปลูกพืชผัก และคูรอบบริเวณบ้านพักอาศัยจำนวนมาก มีขนาดกว้าง 2-3 เมตร ลึก 1 เมตร คูน้ำเหล่านี้สามารถใช้เลี้ยงปลานิล สวาย ตะเพียนขาว สลิด แรด หมอตาล ฯลฯ โดยใช้เศษผักและของเหลือจากครัวเรือนเป็นอาหาร นอกจากนี้ใบแคหรือพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ในสวนก็สามารถใช้เป็นอาหารปลาได้

ผลผลิตของปลาที่เลี้ยงในร่องสวนแม้ว่าจะได้ไม่มากนัก แต่ก็อาจจะเพียงพอใช้บริโภคในครัวเรือน โดยมิต้องซื้อหา นับว่าเป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่ง

สิ่งที่ควรระมัดระวังมากในการเลี้ยงปลาในร่องสวนก็คือ การใช้ยาฆ่าแมลงที่ใช้ฉีดป้องกันพวกศัตรูพืชผักซึ่งมักจะเป็นอันตรายต่อการเลี้ยงปลาเช่นกัน