เสลาใบใหญ่


ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.
ชื่อวงศ์ LYTHRACEAE
ชื่ออื่น เกรียบ ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลา อินทรชิต
ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 4-6 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือทรงกระบอก แน่นทึบ กิ่งห้อยย้อย เปลือกต้นสีเทาเข้มเกือบดำ ผิวขรุขระ มีรอยแตกเป็นทางยาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-10 ซม. ยาว 16-24 ซม. ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนใบมน แผ่นใบค่อนข้างหนา และเหนียว สีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างมีนวลสีขาวใบมีขนนุ่มสั้นทั้งสองด้าน
ดอก สีม่วงอมชมพูและเปลี่ยนเป็นสีซีดเกือบขาวเมื่อใกล้โรย ออกเป็นช่อ แบบช่อแยกแขนงที่กิ่งแก่และปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 10-30 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีสันนูนตามยาวและมีขนสั้น ปลายแยกเป็น 6 แฉก กลีบดอก 6 กลีบ รูปทรงกลม ออกสลับกับ กลีบเลี้ยงโคนกลีบคอดเรียวเป็นก้านสั้น กลีบดอกบางยับย่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีเหลืองสด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 6-8 ซม. ออกดอกเดือน ธ.ค.-มี.ค.


ผล ผลแห้งแตกกลางพู รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. เปลือกแข็ง มีกลีบเลี้ยงคงอยู่ เมื่อสุกสีน้ำตาล เมล็ดแบน สีน้ำตาลอมเหลือง มีปีกจำนวนมาก ติดผลเดือน ก.พ.-ก.ค. ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้สีเทาแกมน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ แข็งปานกลาง ทนทานพอประมาณ เลื่อยผ่าไสกบ ตบแต่งง่าย ใช้ทำกระดานพื้น ฝา ฝ้าดาน เครื่องเรือน ตู้โต๊ะ ลังใส่ของ
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใบ บดกับกำยานก้อนเล็กๆ ใช้ทา แก้ผดผื่นคัน
หมายเหตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย