แกลดิโอลัส(Gladiolus)

 

Common name : sward lily

Scientific name : Gladiolus hybrid

Family : Iridaceae

Gladius แปลว่า “ดาบ” เพราะใบมีลักษณะ เหมือนดาบ มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้

แกลดิโอลัส (หรือซ่อนกลิ่นฝรั่ง) ปัจจุบันปลูกทำเป็นไม้ตัดดอกการค้าที่กำลังได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากซ่อนกลิ่นฝรั่ง มีรูปทรงของช่อดอกตลอดจนสีสันที่สวยงามสะดุดตาตั้งแต่สีอ่อนสุดจนถึงสีเข้มสุด เช่น ขาว เหลือง ชมพู ม่วง ส้ม น้ำตาล แดง ฯลฯ นอกจากมีสีของดอกสวยงามแล้ว ซ่อนกลิ่นฝรั่งยังมีก้านดอกค่อนข้างยาวและตรง เหมาะแก่การใช้สำหรับจัดแจกันมาก นอกจากนี้ยังใช้ปลูกประดับแปลงดอกไม้ภายในสวนได้ดีเช่น เดียวกัน แกลดิโอลัสที่ปลูกในปัจจุบันนี้ส่วนมากเป็นพันธุ์ที่ส่งมาจากต่างประเทศโดยใช้หัว (corn) ปลูก เมื่อปลูกหัวเก่าจะฝ่อไปและเกิดหัวใหม่ขึ้นแทนซึ่งเก็บไว้ขยายพันธุ์ต่อไปได้ แต่การที่จะปลูกให้ได้ผลดีนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่น พันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา ความอุดมสมบูรณ์ของดินสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม การป้องกันโรคและแมลง

แกลดิโอลัสมีอยู่หลายชนิด ทั้งที่ดอกมีกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่นหอม ปัจจุบันมีคนรู้จักแกลดิโอลัสมากกว่า 150 ชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดนัก ที่คนสนใจ นอกนั้นปลูกไว้เพื่อการผสมพันธุ์ เพื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นการค้า ปัจจุบันมีพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าเกือบ 3,000 พันธุ์ ส่วนใหญ่ของแกลดิโอลัสพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ผสมขึ้นในปัจจุบันได้มาจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีมาจากแหลมกู๊ดโฮบ ในศตวรรษที่ 18 ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จน กระทั่งจัดไว้เป็นพวกพืชสวน ในปี 1901 มีการแสดงดอกไม้ที่อเมริกา ซึ่งได้ปลูกซ่อนกลิ่นฝรั่งไว้ด้วยในสวนสาธารณะ ทำให้มีผู้สนใจเพิ่มขึ้น และหลังจากนั้นอีกประมาณ 30 ปี มี ผู้สนใจทางไม้ดอกได้ถือว่าแกลดิโอลัสเป็นพืชสวนที่สำคัญและได้รับความสนใจมากชนิดหนึ่ง หลังจากนั้นมาได้แพร่หลายไปยังประกาศต่าง ๆ ทั่วโลก

การแยกประเภท

ประเภทของแกลดิโอลัส ในการปลูกแกลดิโอลัสโดยทั่วไปและการปลูกเพื่อประกวดได้ จัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. Early flowerine ดอกจะบานในตอนปลายฤดูหนาว และต้นฤดูใบไม้ผลิ มีทั้งชนิดพันธุ์เตี้ย และชนิดพันธุ์สูง ทั้ง 2 ชนิดนี้เหมาะสำหรับปลูกในเรือนกระจก

2. Summer flowering เป็นพวกลูกผสม ซึ่งดอกบานในฤดูร้อน

นอกจากนี้ยังแบ่งได้เป็นพวก formal และ informal โดยพวก formal จะมีการจัดเรียงของช่อดอกภายในช่อสม่ำเสมอ แต่ละดอกชิดกัน และอยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ส่วนพวก informal การจัดเรียงของดอกไม่สม่ำเสมอ แต่ละดอก

อยู่สลับกันภายในช่อ

ในสหรัฐอเมริกา สมาคม The American Gladiolus Society แบ่งซ่อนกลิ่นฝรั่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. Grandi florws มีดอกใหญ่ ช่อดอกยาว ดอกบานในเวลาเดียวกันทั้งช่อ

2. Primulinus ดอกห่าง มีสีอ่อน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ½  นิ้ว มีสีเหลือง ส้ม ชมพู แดง และม่วง

3. Primulinus Gradi florws ส่วนความแข็งแรงและของช่อดอกและความสวยงามของ Primulinus และขนาดดอกของ Grandi florws เข้าไว้ด้วยกัน

พันธุ์

แกลดิโอลัสมีสีมากมายหลายหลากสีด้วยกัน และในแต่ละสีมีพันธุ์ต่างๆ หลายพันธุ์ เช่น: สีจาง (deticate colours) เช่น Ontario (สีม่วง อ่อน) Tistey (สีชมพูอ่อน)

สีชมพู (pink) เช่น Arthur rank, Dr. Fleming

สีกุหลาบ (rose) เช่น Alfred Nobel, Allure

สีชมพูหม่น (salmon pink) เช่น Coronation, Picordy

สีส้ม (orange) เช่น Gold lack, Suremer Joy

สีแดงปนส้ม (orange-red) เช่น Golden west, Vulcane

สีแดงอ่อน (light red) เช่น Allard pierson, Johann Strauss

สีแดงและแดงเข้ม (red & deepred) เช่น Atlan­tic, crimson glow

สีน้ำตาลปนแดง (reddish-brown) เช่น Ankava, Hawaii

สีฟ้า (blue) เช่น Firmament, Gratia

สีม่วงอ่อน (lilac + mauve) เช่น Blue impression Cattleya

สีม่วง (violet) เช่น Abu Hassan, Eridge

สีแดงปนม่วง (violet-red) เช่น Benjamin, Memorial

สีม่วงแก่ (deep purple) เช่น Birghamton, Boulogne day

สีหมอก (smoky) เช่น Canther, Oklahoma

สีแสด (primrose) เช่น Adinda, June wonder

สีเหลืองอ่อน (light yellow) เช่น Lord Nelson, Rising Sun

สีเหลืองแก่ (deep yellow) เช่น Gold dust, Naples

สีเหลืองมีแต้มแดง (yellow with red blotch) เช่น Hocus pocus, Spot light

สีขาว (white) เช่น Flying wing, Snow princess

สีขาวมีแต้ม (white with blotch) เช่น Hudson มีแต้มแดง Silentus มีแต้มแดงแก่

ลักษณะทางพฤกศาสตร์

หัว (corn) คือส่วนที่เจริญขึ้นจากการสะสมอาหารที่ส่วนฐานของใบ ต้นท่อนจะงอกจากตาที่หัวและเจริญเติบโตขึ้นไป หลังจากใบผลิตอาหารขึ้นแล้วก็ส่งไปเก็บที่โคนใบจนกระทั่งเกิดเป็นหัวใหญ่ เปลือกที่หุ้มหัว (leaf base or tunic) สร้างโดยส่วนของโคนใบ เปลือกเหล่านี้จะป้องกันไม่ใหัได้รับอันตรายจากเชื้อโรคและสิ่งต่าง ๆ ฉะนั้นจึงไม่ควรเอาออก ยกเว้นตอนปลูก เมื่อลอกเปลือกออกแล้วควรทายาป้องกันราเสียก่อนที่จะนำไปปลูก

ลักษณะของหัว ตาใหญ่นั้นจะเจริญเติบโตเป็นใบ(ต้น) ส่วนตาเล็กจะเป็นแกนกลางใบ ตาใหญ่และตาเล็กเหล่านี้จะสร้างใบและช่อดอกหัวใหม่จะเกิดเมื่อมดอก หัวจะโตขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากดอกบานแล้วหัวเก่าจะแห้ง ปริมาณ แป้งในหัวเน่าจะลดลงจาก 29 เปอร์เซ็นต์คงเหลือ 9 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 4 ถึง 6 อาทิตย์หลังปลูก

ราก (root) การเกิดรากและหัวใหม่ หัวใหม่ที่เกิดขึ้นจะมี contractile root ที่ปลายรากนี้จะเกิดเป็นหัวเล็ก (cormel) บางที cormel เกิดติดกัน new corm ขนาด cormel ประมาณ 1.5 ซม. รากที่งอกครั้งแรก (primary root) จะเป็น เส้นด้าย contractile root เหล่านี้ยึดลำต้นและบังคับหัวให้อยู่ในดิน หาน้ำและแร่ธาตุเพื่อความเจริญเติบโตของลำต้น ถ้ารากฝอยแห้งหรือหงิกงอ จะทำให้การเจริญของหัวใหม่หยุดชะงัก

ลำต้น เป็นลำต้นเทียม (pseudostem) ค่อนข้างแบน เกิดจากกาบใบและโคนใบอยู่รวมกัน ส่วนลำต้นแท้ ๆ นั้นอยู่ภายในหัว

ใบ ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายดาบ มีเส้นใบขนานไปตามความยาวใบ จากลักษณะของใบนี้ ชาวโรมันจึงให้ชื่อว่า “Gladiolus” ซึ่งแปลว่า ดาบ

ช่อดอก เป็นแบบ spike แบ่งตามลักษณะการจัดเรียงของดอกบานบนช่อได้ 5 แบบ คือ

1. ช่อดอกแบบ Full เวลาบานดอกเรียงแน่นทั้งช่อ

2. ช่อดอกแบน Medium ดอกเรียงกันในระยะห่างพอเหมาะ

3. ช่อดอกแบบ Wild species ดอกน้อย และอยู่ห่างกัน เวลาบานดอกก็ไม่ติดกัน ในช่อดอกมีดอกประมาณ 2-3 ดอก

4. ช่อดอกแบบ Spaced ดอกบานห่างกัน แต่ยังแน่นกว่าพวก Wild species

5. ช่อดอกแบบ Primulinus ดอกบานเรียงเป็นแถวเดียว

ลักษณะดอก

ดอกมีรูปร่างแบบกรวย (funnel shaped) มีเกสรตัวผู้ 3 อัน อยู่ภายในหลอด (tube) เกสรตัวเมีย 3 อัน ก้านเกสรตัวเมียยาว รังไข่มี 3 ช่อง (locules) สำหรับรูปดอกของแกลดิโอลัส แยกได้ 9 แบบ คือ

1. Orchid tupe ลักษณะดอกคล้ายดอกกล้วยไม้

2. Iriangular form รูปดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม

3. Common wide open เป็นดอกที่บานออกกว้าง

4. Round petal form กลีบดอกกลมเรียว

5. Recurved or Rosebud type กลีบดอกม้วน ดอกคล้ายดอกกุหลาบ

6. Needle point ปลายกลีบดอกแหลม

7. Primulinus type เป็นแบบที่มี hood สำหรับป้องกันเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียไม่ให้ถูกละอองน้ำ ดอกซ่อนกลิ่นฝรั่งแบบนี้แยกออก เป็นแบบย่อยๆได้อีก 3 แบบคือ

แบบที่ 1 กลีบดอกชั้นนอกที่อยู่ข้างบนชิดกันพอดี

แบบที่ 2 กลีบดอกชั้นนอกที่อยู่ด้านบนเกยกัน

แบบที่ 3 กลีบดอกชั้นนอกที่อยู่ด้านบนอยู่ห่างกัน

8. Laciniated ตามขอบของกลีบดอกชนิดนี้เป็นรอยหยัก

9. Ruffled petal ปลายกลีบดอกย่น

ลักษณะดินฟ้าอากาศที่เหมาะสำหรบการเจริญเติบโต

แกลดิโอลัสพันธุ์ต่าง ๆ จะออกดอกได้ดีเมื่อได้เแสงตามต้องการ อุณหภูมิมีส่วนสัมพันธ์กับการยึดตัวของลำต้น อุณหภูมิต่ำสุดที่ต้องการ คือ 40 องศาฟาเรนไฮต์ ความเข้มของแสงหากมากเกินไปจะลดอัตราการเจริญเติบโต การลดความเข้มของแสงโดยใช้ผ้าดิบสีขาวคลุมแปลงที่ปลูก จะเพิ่มขนาดของต้นและขนาดของช่อดอกด้วย แกลดิโอลัสสามารถขึ้นได้ดีในดินชนิดต่าง ๆ กัน โดยทั่ว ๆ ไปแล้วชอบดินร่วนปนทรายหรือดินตะกอนซึ่งมีการระบายน้ำดี มีความชื้นสูง ดินปลูกควรมี pH 6.0-7-.0 ถ้าดินเป็นกรดมากควรเติมปูนขาวลงไปเพิ่มแก้การเป็นกรดแต่ถ้าดินเป็นด่างจะทำให้เป็นโรครา (Oak leaf mold) ดังนั้น ควรนำดินที่จะปลูกมาวิเคราะห์เสียก่อนว่าจะเหมาะสมหรือไม่ และควรจะใส่ปุ๋ยอะไรเป็นจำนวนเท่าใด การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้รากและลำต้นอ่อนแอ เปราะและหักง่าย การใส่ปุ๋ยจำพวกฟอสฟอรัสให้เพียงพอจะช่วยให้ราก ตา ลำต้น และดอกแข็งแรงโตเร็ว ส่วนปุ๋ยจำพวกโปแตสเซี่ยมนั้นทำให้หัวมีขนาดใหญ่ขึ้น

การปลูก

การปลูกแกลดิโอลัสโดยทั่วไปในปัจจุบัน มักปลูกจากหัว ความลึกในการปลูกมีผลต่อการออกดอก ตั้งแต่ 3-6 วัน ถ้าปลูกลึกเกินไปจะให้ช่อดอกช้าไป หรือถ้าปลูกตื้นเกินไป ช่อดอกก็ไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ แต่การปลูกตื้นจะให้หัวใหม่ที่ใหญ่ และมีปริมาณหัวย่อยมากกว่า การปลูกลึกปกติในดินทรายจะปลูกลึกประมาณ 4-5 นิ้ว ถ้าหัวใหญ่กว่าปกติก็ปลูกลึกถึง 6 นิ้ว ถ้าเล็กกว่าปกติก็ปลูกลึก 2-4 นิ้ว ในดินหมักควรปลูกตื้นกว่าดินทรายคือลึกประมาณ 3-4 นิ้ว สำหรับการปลูกด้วยหัวย่อยควรให้ลึกเพียง 1 นิ้ว สำหรับระยะในการปลูกขึ้นอยู่กับขนาดของหัว ถ้าหัวใหญ่ก็ควรปลูกห่างกันประมาณ 6 นิ้ว ถ้าหัวเล็กก็ห่างกันเพียง 4 นิ้วก็พอ โดยปลูกเป็นแถว แต่ละแถวห่างกันประมาณ 18-24 นิ้ว ในการปลูกด้วยหัวย่อย หลังจากปลูกควรให้น้ำอย่าให้ขาด เพราะความร้อนจากแสงแดดจัด ๆ เพียง 4-5 ชั่วโมง สามารถทำลายความงอกได้ในขณะที่ปลูกทางที่ดีควรแช่หัวย่อยไว้ในน้ำสัก 1 วัน ก่อนทำการปลูก จากนั้นเอาออกมาผึ่งไว้ในอากาศประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วจึงปลูก หลังการปลูกด้วยหัวย่อย ควรมีการให้น้ำอย่างพอเพียง

หลังปลูกแล้วควรมีการคลุมดินเมื่อต้นสูงประมาณ 1 ฟุต วิธีนี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในดินทราย เพราะจะช่วยป้องกันการระเหยน้ำของดิน รักษาความชื้น และยังควบคุมวัชพืชได้ด้วย

ในการปลูกแกลดิโอลัสโดยใช้หัวปลูก ก่อนปลูกควรทำการคัดขนาดของหัวเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การเจริญเติบโตของต้นมีความสม่ำเสมอกันตลอดทั้งแถว โดยปกติแล้วจะแบ่งขนาดของหัวออกเป็น 7 ขนาดด้วยกัน (ขนาด Jumbo มี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ corm มากกว่า 2 นิ้ว และ No.6 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ corm น้อยกว่า ½ ” )

หลังจากแบ่งขนาดแล้ว ต้องตรวจดูว่าหัวมีโรคทำลายหรือไม่ หัวที่ได้ขนาดควรจะมีลักษณะที่แน่น ผิวเรียบและเป็นมัน หัวที่แตกหรือเป็นจุดช้ำ แสดงถึงลักษณะการเข้าทำลายของโรค ควรทำลายเสียเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ปลูกพบอยู่เสมอนั้นคือหัวไม่งอก ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการฟักตัว ซึ่งทั้งหัวและหัวย่อยของแกลดิโอลัสจะมีระยะฟักตัวนานมาก ถ้าไม่มีการทำลายการฟักตัวก่อนที่จะนำไปปลูก หัวหรือหัวย่อยนั้น จะไม่งอกตามที่เราต้องการ มีข้อที่ควรพิจารณาในเรื่องการฟักตัวและการงอกของหัวและหัวย่อยของแกลดิโอลัสอยู่ 3 ทาง คือ

1. ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนงอก

2. ระยะเวลาการงอกของหัวแรกและหัวสุดท้ายที่งอกจากจำนวนที่ปลูกพร้อม ๆ กัน

3. เปอร์เซ็นต์ความงอกทั้งหมดของหัวที่ปลูก

ในปัจจุบันได้มีผู้พยายามที่จะทำลายการฟักตัวของซ่อนกลิ่นฝรั่ง ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 2 วิธี คือ

1. การใช้สารเคมี เท่าที่มีผู้ทดลองทำก็มีหลายอย่างด้วยกันเช่น

  • การ treat ด้วย ethylene chlorhydrin ในอัตรา 0.5-4 ml. ต่อ 1 ลิตรของอากาศเป็น เวลา 2 วัน จะทำให้ย่นระยะเวลาการฟักตัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกอีกด้วย วิธีนี้แม้จะหมดเปลืองหากใช้ความเข้มข้นมากเกินไป แต่สามารถใช้ป้องกันโรคเท่าที่เกิดจากเชื้อ Fusarium ได้อีกด้วย
  • แช่หัวในแอลกอฮอล์ 1 ชั่วโมง จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกและป้องกันโรคได้ แต่มีผลทำให้ใบของซ่อนกลิ่นฝรั่งเล็กลง และมี การเจริญเติบโตช้า แต่ต้นแข็งแรงดี
  • Ethylene ether 1 ml. ต่อ 2 ลิตรของอากาศ

2. การควบคุมอุณหภูมิในที่เก็บหัว ในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิในโรงเก็บ ควรเก็บหัวในท้องที่มีอุณหภูมิต่ำ เป็นเวลาประมาณ 60-90 วัน แล้วจึงนำมาเก็บในอุณหภูมิธรรมดา 5-7 วัน จะสามารถทำลายการฟักตัว และได้ต้นแกลดิโอลัสที่แข็งแรง

การขยายพันธุ์แกลดิโอลัส

แกลดิโอลัสสามารถขยายพันธุ์ได้ 3 วิธี ด้วยกัน คือ

1. หัว คือส่วนหัวที่เจริญขึ้นมาจากการสะสมอาหารที่ส่วนฐานของใบ หัวจะมีเปลือกหุ้ม ป้องกันไม่ให้หัวได้รับอันตรายต่าง ๆ เช่น โรคต่างๆ ถ้าจะลอกเอาเปลือกนี้ออกควรทายากันราก่อนที่จะนำไปปลูก การปลูกจากหัวจะได้ต้นอ่อนซึ่งงอกจากตา ซึ่งเจริญมาจากฐานของหัว เมื่อปลูกได้ใบจริงยาวประมาณ 6-8 นิ้ว หัวเก่าก็จะเริ่มมีขนาดลดลงเพราะอาหารถูกใช้ไป ใน ขณะเดียวกันหัวใหม่ก็เกิดขึ้นที่โคนใบอยู่เหนือหัวเก่า และหัวใหม่นี้จะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จนใบยาวประมาณ 12-15 นิ้ว ก็จะเกิดช่อดอกและหัวย่อยเล็ก ๆ ก็จะเริ่มเกิดขึ้นที่ฐานของหัวใหม่ไป เรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวลาที่ติดดอก หลังจากตัดดอกประมาณ 8 อาทิตย์ ก็สามารถเก็บหัวใหม่ และหัวย่อยที่เกิดขึ้นมาปลูกในฤดูต่อไป

2. หัวย่อย เป็นหัวเล็ก ๆ ที่เกิดมาพร้อม ๆ กับช่อดอกจาก corm ใต้ดิน เราสามารถนำไปปลูกขยายพันธุ์ได้ แต่ในฤดูแรกของการปลูกมันจะเกิดเป็นหัวก่อนระยะหนึ่ง และจะเกิดหัวย่อยขึ้นใหม่ด้วยพร้อม ๆ กันจากนั้นในฤดูการปลูกที่สองจึงจะให้ช่อดอกและเกิดหัวย่อยเพิ่มขึ้น หรือหัวย่อยที่เกิดขึ้นอาจจะเจริญเป็นหัวต่อไปอีก ถ้ามีอาหารเพียงพอ และสภาพแวดล้อมเหมาะสม จากการศึกษาการเจริญของซ่อนกลิ่นฝรั่งในปัจจุบันพบว่า ในบางครั้งจะไม่เกิดการฟักตัวของหัวและหัวย่อย เคยสามารถนำไปปลูกได้ทันที และเช่นเดียวกันหัวย่อยยังสามารถเจริญเป็นหัวที่มีขนาดใหญ่และเกิดหัวย่อยอีกด้วย พร้อมทั้งให้ดอกได้ โดยไม่ต้องรอฤดูปลูกที่สองก็มีให้เห็นอยู่เสมอ

3. เมล็ด เมล็ดของแกลดิโอลัสมีลักษณะกลม มีเยื่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งลักษณะคล้ายปีกบรรจุอยู่ในฝักเป็นแถว ๆ มี 3 แถวด้วยกัน การขยายพันธุ์จากเมล็ดนี้มักใช้ในด้านการหาพันธุ์ใหม่ หรือใช้ในด้านการคัดพันธุ์เก็บลักษณะที่ดีไว้เท่านั้น ไม่นิยมนำมาใช้ในการขยายพันธุ์เพื่อทำเป็นการค้า

การให้น้ำ

ในการให้น้ำควรให้อาทิตย์ละครั้งสองครั้ง ให้ลึกประมาณ ½ ” – 1” จะให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การให้น้ำไม่ควรให้มากเกินไป เพราะถ้าให้มากจะทำให้สีใบจางและมีผลกระทบกระเทือนต่อช่อดอก ถ้าอากาศแห้ง ควรรดน้ำเมื่อช่อดอกเริ่มแสดงอาการเหี่ยว

การให้ปุ๋ย

ก่อนนำหัวลงปลูกควรรองพื้นด้วยปุ๋ย N : P : K สูตร 5:7:4 ซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุด ในปุ๋ยควรจะมีเปอร์เซ็นต์ของเลือดแห้ง และกระดูกป่นเพื่อทดแทนปุ๋ยอนินทรีย์เคมีที่ถูกชะล้างไป วิธีการใส่ควรให้แบบ side dressing ระยะห่างประมาณ 6 นิ้ว จากต้นแล้วรดน้ำตาม ถ้าปลูกเป็นแถวใส่ให้ระหว่างแถวปลูกสำหรับ K ในปุ๋ยควรให้รูป sulphate มากกว่า muriate form ทั้งนี้เพราะ K ในรูปของ muriate form อาจเป็นอันตรายต่อต้นอ่อนได้ เมื่อเริ่มจะแทงช่อดอกควรให้ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง โดยให้สูตร 4 : 8 : 10 ในอัตรา 2-4 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ ¼  ไร่ การให้ปุ๋ยมากเกินไปจะทำให้ปลายใบไหม้ อาจทำให้เกิด neck rot และ fusarium wilt ได้ การให้ปุ๋ยแบบ side dressing เนื่องจากอาหารธาตุที่ให้เคลื่อนที่ช้าโดยเฉพาะในดิน red soil การให้ปุ๋ยแบบนี้จะให้ผลดีเมื่อใส่ในขณะที่เริ่มแทงช่อดอกและไม่ควรให้ปุ๋ย N มากเกินไป เนื่องจากทำให้ต้นอ่อนแอได้ง่าย และการเข้าทำลายของโรครามีมาก

การกำจัดวัชพืช

ยากำจัดวัชพืชที่ใช้กันอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งแบบสัมผัสตายและซึมซาบเข้าไปในทางเดินของอาหาร ชนิดที่ใช้ในการปลูกแกลดิโอลัสเป็นการค้าโดยทั่วไปมี :

Afalon อัตรา 2.5 ก.ก./6.25 ไร่

Hoe 2849 อัตรา 5 ก.ก./6.25 ไร่

Disoneb acetate 5 ก.ก./6.25 ไร่

Gasatop อัตรา 1.5 ก.ก./6.25 ไร่

สำหรับแห้วหมูที่เจริญในแปลงปลูกซ่อนกลิ่นฝรั่งนั้นมีผู้แนะนำให้ใช้ Dichobenil ซึ่งนับว่าได้ผลดี

การตัดดอกและเก็บหัว (corm)

การตัดดอกจะตัดได้เมื่อ 2 ดอกแรกถึง 4 ดอก เริ่มเห็นสีแต่ยังไม่แย้ม ในสภาพเช่นนี้ช่อดอกที่ได้จะไม่กระทบกระเทือนมากนักในการขนส่ง แต่ถ้ามีตลาดใกล้ ๆ อาจตัดในขณะที่เริ่มแย้มก็ได้ วิธีตัดก็โดยตัดในส่วนของลำต้นเฉียงเป็นเส้นทะแยงมุม โดยใช้มีดคมตัดเหลือใบที่สมบูรณ์ไว้บนต้นอย่างน้อย 4 ใบ เพื่อใช่ในการสร้างหัวใหม่ เมื่อตัดช่อดอกมาแล้วนำมาวางในภาชนะและควรรวบตั้ง ไม่ควรรวบนอน เพราะจะทำให้ยอดงอเนื่องจากการเบนโค้งเข้า หาแสง สำหรับเวลาในการตัดนั้นไม่ควรตัดในขณะที่มีอากาศร้อน จะทำให้ดอกเหี่ยวเร็ว แต่ถ้าจำเป็นต้องตัดในขณะที่มีอากาศร้อน ควรตัดแล้วแช่น้ำไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนส่งไปจำหน่ายจึงจะไม่เกิดการเสียก่อน

หลังจากตัดดอกแล้วควรให้ปุ๋ยแก่ต้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของหัวใหม่ หลังจากที่ตัดดอกแล้วประมาณ 30-50 วัน หรือบางพันธุ์อาจนานกว่านี้ หัวใหม่จะเจริญเต็มที่และพร้อมที่จะให้เก็บได้โดยหัวใหม่นี้จะเกิดส่วนล่างของลำต้นเหนือหัวเก่า หัวใหม่จะเจริญเต็มที่ และพร้อมที่จะให้เก็บได้โดยหัวใหม่นี้จะเกิดส่วนล่างของลำต้นเหนือหัวเก่าซึ่งฝ่อลงไป หัวใหม่ที่ได้จะได้หัวเล็ก (cormel) ติดมาด้วยมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับพันธุ์การขุดอาจใช้ซ่อมขุด หรือในกิจการใหญ่อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการขุด การขุดหัวถ้าทำล่าเกินไปจะเป็นโอกาสให้ เชื้อโรคเข้าทำลายได้มากขึ้น และ cormel จะหลุดจาก corm ได้ง่าย เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่อไป เนื่องจาก cormel ที่หล่นอยู่ในดินเหล่านี้ ในไม่ช้าจะเติบโตขึ้นทั่วไปไม่เป็นระเบียบ ยากแก่การ ดูแลรักษา ทำให้มีปัญหาในการกำจัดตามมาอีก การขุดควรขุดทั้งต้นและอย่าบิดต้นออกจากหัว อาจเกิดอันตรายกับหัวใหม่ได้ และควรระวังอย่างยิ่ง คืออย่าให้มีแผลเกิดขึ้นขณะทำการขุด มิฉะนั้นโรคจะเข้าทำลายทำให้หัวเน่าในภายหลังได้ หลังจากขุดมาแล้ว ใช้มีดตัดต้นเหนือหัว 1.25-2.5 ซม. เก็บหัวในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จากนั้นแยกเอาหัวเก่าออกจากหัวใหม่ ทำความสะอาด corm และ cormel แล้วจึงคลุกยากันราและแมลง เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายในระหว่างเก็บ ส่วนหัวเล็กแห้งเร็วกว่าหัวใหญ่ ควรหมักไว้ในทราย

ชื้นเล็กน้อย หรือใน peatmoss ในระหว่างที่หมัก ไว้ต้องคอยตรวจดูความชื้นให้เหมาะ

โรคและแมลง

ซ่อนกลิ่นฝรั่งมีโรคและแมลงทำลายหลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดก็ได้มีผู้พยายามค้นคว้า ทดลองเพื่อกำจัดโรคและแมลงเหล่านี้ ดังเช่น มีการทดลองใช้ยากันรา (fungicide) กับ corm หลังจากขุดขึ้นมา และก่อนนำไปปลูก โดยใช้ Dowicide B. Morsodren และ Phaltan เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum f. gladioli ใช้เปรียบเทียบ Postharvest และ Preplanting พบว่า Dowicide B. ใช้ในอัตรา 2.5 pints ต่อ 100 แกลลอน และ Phaltan ใน อัตรา 8 ปอนด์ต่อแกลลอน ซึ่งให้ผลน้อยที่สุด แต่การใช้ Phaltan ที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 อาทิตย์ จะช่วยให้มีจำนวนดอกมากขึ้น และขนาดดอกมากขึ้นด้วย

ต่อมาพบว่า การใช้ Ethephon และ Fungicide ร่วมกันจะควบคุมโรค fusarium อย่างได้ผล โรคที่สำคัญที่เป็นกับแกลดิโอลัส ได้แก่:-

1. Fusarium dry rot เกิดจากเชื้อ Solerotinia gladioli การติดโรคเริ่มในดิน เป็นที่โคนใบและทำให้ใบเป็นสีเหลืองอ่อน ที่หัวจะเป็นแผลสีน้ำตาลแดงเป็นจุดเล็ก ๆ เกิดขึ้น ในส่วนใต้ของหัว แผลจะใหญ่ขึ้นระหว่างเก็บ จะเป็นจุดน้ำตาลกลม ๆ อาจจะเป็นจุดสม่ำเสมอ หรือไม่สมํ่าเสมอก็ได้ เวลาขุดหัวต้องตรวจโรคนี้ ถ้าหัวใดเป็นควรทำลายเสียก่อนปลูกควรแช่หัวลงในน้ำยา new improved ceresan 30 ซี.ซี. ต่อน้ำ 10 ลิตร แช่นาน 4 นาที หรือเอาหัวจุ่มลงในน้ำยา lysol 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 11 ลิตร แช่ นาน 4 ชั่วโมง

2. Fusarium yellow เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum โรคนี้มักเกิดในแถบที่มีอากาศอบอุ่น ลักษณะอาการของโรค คือใบ จะเป็นจุดสีเหลืองที่ปลายใบ ซึ่งจะค่อย ๆ ลามไปจนกระทั่งต้นตาย

3. Fusarium rot เกิดจากเชื้อFusarium oxysporum var. dladioli ทำลายหัว โรคนี้ เกิดในดิน ฉะนั้นก่อนปลูกควรแช่หัวลงในยาฆ่าราเสียก่อน

4. Botrytis rot เกิดจากเชื้อ Botrytis gladioli ทำให้ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล มักเป็นในฤดูร้อนและฤดูฝน ป้องกันโดยพ่น pentachlo- ritrobenzene ผงที่หัวก่อนปลูก

5. Gladiolus mosaic virus เกิดจาก เชื้อ Myzus circum flexus และ Myzus persicae โรคนี้มีผลทำให้ซ่อนกลิ่นฝรั่งแคระ แกร็น ใบสั้นกว่าปกติ และมีรอยจุดด่างทั้งใน ดอกไม่สมบูรณ์ corm ที่เป็นโรคนี้ เมื่อนำไปปลูกจะแห้งตาย ไม่สามารถงอกเป็นต้นได้

6. Scab และ Nect rot มีผลเสียต่อ corm และต้นใหม่ อาการคือส่วนล่างของใบจะปรากฏเป็นจุดสีน้ำตาล โรคนี้แพร่ระบาดโดย การนำ corm ที่เป็นโรคไปปลูก เชื้ออาศัยอยู่ในดินได้ ป้องกันโดยการ treat corm ในสารละลาย Colomel ก่อนนำไปปลูก

7. Storage rot อาการที่เกิดคือ จะเป็นจุดสีน้ำตาล และมีรอยแผลบน corm ที่อยู่ในระหว่างการเก็บ สาเหตุเนื่องจากมีเชื้อราเข้าทำลาย โดยมันจะเจริญได้ดีบน corm ที่เก็บไว้ในที่ชื้น ป้องกันโดยการคลุกยากันราก่อนนำไป เก็บและก่อนการปลูก

8. โรคหน่อแห้ง ตาไม่เปิดทำให้ไม่สามารถเจริญเป็นต้นได้ แก้ได้ด้วยการเก็บหัวในอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ หรือใช้ D.D.T. ฉีดก่อนเก็บ และวิธีที่ดีที่สุดที่แนะนำให้ใช้คือใช้ Ceresan 5% D.D.T. Cyclohexonone, Methy- leted naphthalene 35% ของ autonc และ 50% Methyl chloride

นอกจากโรคต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีแมลงสำคัญที่ทำลายแกลดิโอลัสให้ได้รับความเสียหาย เช่น

1. Japanese beetle, หนอนกระทู้ (cut­worm), หนอนผีเสื้อกลางวัน (caterpillar) ซึ่งทำลายต้นอ่อน กำจัดโรคโดยใช้อาหารคลุกยาพิษอัตราส่วนดังนี้ คือ รำ 1 ส่วน สารหนูเขียว 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำหวาน 1 ช้อนโต๊ะ โปรยทั่ว แปลง

2. หนอนของด้วงดีด (wire worm) ทำลายหัว ควรกำจัดก่อนปลูก โดยใช้วิธีรมควัน หรือ ใช้ caminexane คลุกดิน หรือก่อนปลูกเอาหัวแช่ลงในน้ำยา ceresan เสียก่อน ประมาณ 5 นาที แล้วจึงนำไปปลูก หรือใช้ Lysol ในอัตราส่วน 450 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่หัวไว้ 6-7 ชั่วโมง ก่อนปลูกส่วนหัวเล็กควรเอาไปปลูกในขณะที่ยังเปียกอยู่

3. เพลี้ยไฟ (thrip) ทำลายใบ ตาดอกหรือ ช่อดอก โดยเฉพาะดอกที่กำลังบาน และบางครั้งก็ทำลายหัว โดยซ่อนอยู่ตามเปลือกของหัว ฉะนั้นก่อนจะเก็บหัวไว้ควรพ่นด้วย D.D.T. ผง 5% หรือแช่ในน้ำยา Mercury bichloride 1 : 100 เป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนที่จะนำไปปลูก