สมุนไพรรักษาโรคแปะฮวยแต่อั๊ง (จีน)


ชื่อ
จีนเรียก      แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง  ทะเกี๋ยเช่า  จักจักฮวย  เล่าโฮ้วเช่า Leucas mollisima Wall.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามชายป่า เนินดิน ข้างทาง หรือคนนำมาปลูกเป็นยา เป็น
พืชหญ้าขึ้นอยู่หลายปี ลำต้นมีขนขึ้นประปราย มักเลื้อยไปตามบนดิน ลำต้นเหลี่ยมยาว 1-2 ฟุต ใบขึ้นคู่ แต่ก้านใบสั้น รูปใบกลมรูปไข่ ปลาย แหลมไม่มาก ยาวประมาณ 7-8 หุน ขอบใบเป็นหยักๆ ออกดอกตลอดปี ดอกออกตามโคนก้านใบ 2-3 ดอก รูปดอกแบ่งเป็น 2 กลีบ กลีบบนมีขนขึ้น กลีบล่างแตกเป็น 2 แฉก ออกลูกกลมเล็ก

รส
ขมเฝื่อนนิดๆ ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น  ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถแก้คัด แก้ปวด ระงับไอและห้ามเลือด ไข้ภายนอกแก้อักเสบ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงปอด

รักษา
ทรวงอกคัดเจ็บ ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ปอดร้อนมีอาการไอ
ไอจนทรวงอกเจ็บ ใช้ภายนอกแก้ผิวหนังเป็นตุ่มเป็นผื่น เป็นพิษบวม หญิงเจ็บนม เจ็บคอ

ตำราชาวบ้าน
1. ทรวงอกคัดแน่นเจ็บ – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง ครึ่งตำลึง ต้มรับประทาน หรือตำแหลกเอานํ้าชงเหล้ารับประทาน หรือต้มนํ้าแล้วผสมปัสสาวะเด็กเล็กรับประทาน
2. ไอหรือบ้วนเป็นเลือดเพราะช้ำใน – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง 1 ตำลึง ต้มกับ กวยแชะ
3. ไอเป็นเลือด – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง และฮ่วงคาไฉ่   อย่างละ 1 ตำลึง ต้มกับปอดหมู รับประทาน
4. ไอเพราะปอดร้อนใน – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน หรือใส่นํ้าตาลแดงกรวดก็ได้หรือใส่ผักกาดนอ สัก 1 ตำลึงก็ได้
5. ปอดร้อนไอจนเจ็บหน้าอก – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง 1 ตำลึง ต้มเนื้อหมู รับประทาน
6. ผิวหนังเป็นตุ่มฝีเป็นพิษบวมเจ็บ – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง 1 ตำลึง ตำแหลกแล้ว ทา พอก
7. ผู้หญิงเจ็บนม – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง 1 ตำลึง ตำแหลกเอานํ้ากินกับเหล้า ส่วนกากใช้พอก
8. เจ็บคอ – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง ตำกับเกลืออม
9. ปวดฟัน – แปะฮวยแต่ซี่อั๊ง ตำกับเกลืออม

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณตามสมควร

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช