แมลงศัตรูสำคัญพืชผัก

หนอนคืบกะหล่ำ

บางแห่งเรียกว่าหนอนคืบเขียวหรือหนอนเขียว เป็นศัตรูสำคัญของผัก ตระกูลกะหล่ำ โดยเฉพาะผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ตัวหนอนมีสีเขียวอ่อน จะกัดกินใบ เมื่อโตขึ้นจะกินจุ ตัวโตเต็มที่มีขนาด 3 ซม. เวลาเคลื่อนไหวจะงอและคืบตัว ส่วนใหญ่จะแทะกินอยู่ตามผิวใบแต่ไม่ทะลุ ระบาดกระจายได้รวดเร็วและระบาดมากในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ในฤดูฝนพบน้อย หนอนคืบกะหล่ำมีระบาดอยู่ทั่วไปในประเทศทั่วโลก เมื่อหนอนโตเต็มที่สีจะซีดลง มีเส้นสีขาวพาดตามยาว เข้าดักแด้ใต้ใบหรือตามใบผักที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นมีใยบาง ๆ สีขาวคลุมอยู่ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน

การป้องกันกำจัด

–                  หมั่นตรวจดูไข่หรือตัวหนอนในระยะเล็ก ๆ แล้วจัดการทำลายเสีย อย่าปล่อยให้โตขึ้นเพราะจะระบาดรุนแรงอย่างรวดเร็ว

–                  ใช้เชื้อไวรัสที่ได้จากหนอนคืบกะหล่ำที่ตายเพราะเชื้อไวรัส เก็บเอามาบดให้ละเอียดเติมนํ้าลงไป 500 เท่าแล้วนำไปฉีดในแปลงผัก หนอนคืบกะหล่ำที่ตายเพราะเชื้อไวรัสสีจะซีด ตัวนิ่มเมื่อบีบจะมีนํ้าสีเหลีองอมเขียวไหลออกมาทางปากตัวหนอนที่ตายจะห้อยหัวลงเป็นรูปตัววีคว่ำขาเทียมคู่หน้าสุดเกาะติดต้นพืชไว้

–                  ใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น บาซูดิน (เป็นยาที่มีพิษปานกลาง เหมาะกับสวนครัวหรือแหล่งที่ไม่เคยมีการใช้ยามากนัก ค่อนข้างปลอดภัยต่อคนและสัตว์) ออกฤทธิ์เร็ว ดูดซึมเข้าในผักได้ อย่าพ่นยานี้เวลาอากาศร้อนจัดเพราะจะซึมเข้าจมูก และผิวหนังด้วย เป็นยาสลายตัวเร็ว ระยะปลอดภัยก่อนเก็บผัก 1-3 วัน) อมิรอน, ทามารอน (ใช้ได้ผลดีกับหนอนคืบกะหล่ำที่ดื้อยา งดพ่นยาก่อนเก็บผัก 7 วัน) แลนเนท (เป็นยาออกฤทธิ์เร็ว เหมาะสำหรับผักที่ปลูกเป็นการค้า งดใช้ก่อนเก็บผักอย่างน้อย 3 วัน) ฯลฯ

หนอนใยผัก

หรือที่เรียกว่าตัวบิน, ตัวจรวด เป็นศัตรูกับผักตระกูลกะหลํ่าและผักกาด ยกเว้นผักกาดหอม เป็นหนอนที่ระบาดอยู่ทั่วประเทศและทั่วโลก ปกติมักระบาดตั้งแต่ฤดูหนาวและเพิ่มความรุนแรงในช่วงต่อฤดูแล้ง เป็นหนอนขนาดเล็ก หัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นรุนแรงและทิ้งตัวลงในดินโดยการสร้างใยห้อยตัวลงไป ลำตัวอาจจะมีสีเขียวอ่อนเทาอ่อน หรือเขียวปนเหลือง เข้าดักแด้ใต้ใบมีใยบาง ๆ คลุมอยู่

การป้องกันกำจัด

–  ตรวจดูไข่และตัวอ่อน พบแล้วทำลายเสีย

–  ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลันส ธูรินจิเอนซัส ที่มีชื่อทางการค้าว่าอาร์โกนา, ธูริไซด์,แบคโตสบิน ซึ่งเป็นผงผสมน้ำในอัตรา 15-30 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่น ในตอนเย็นขณะหนอนกำลังกัดกินอยู่  ถ้าจะให้ติดดีผสมสารจับใบลงไปด้วย ฉีด 3 -5 วันครั้งในระยะที่หนอนระบาด ยานี้เป็นสารที่ปลอดภัยไม่เป็นพิษต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ เหมาะที่จะใช้กับพืชผักโดยเฉพาะในระยะเก็บเกี่ยว เชื้อชนิดนี้ใช้กำจัดหนอนใยผัก และหนอนคืบกะหล่ำเท่านั้น ไม่ควรใช้ในท้องถิ่นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผึ้ง

–  ใช้หลอดไฟล่อตัวแก่หรือผีเสื้อมาทำลายก่อนวางไข่

–  ใช้สารเคมี เช่น ทามารอน,อมิรอน,โมนิเตอร์,ฮอสตาไธออน (ตัวนี้ออกฤทธิ์เร็วใช้ในระยะหนอนเริ่มระบาด งดใช้ก่อนเก็บผัก 7 วัน) ทูกุตไธออนและ ชัวร์ไซด์ (เป็นยาใหม่ใช้ได้ผลดีกับหนอนที่ดื้อยา ควรพ่นตั้งแต่หนอนเริ่มระบาดและ พ่นติดต่อกันจนหนอนตายหมด มีพิษต่อคนและสัตว์ค่อนข้างต่ำ)

หนอนกระทู้หอม

หรือหนอนหอม,หนอนหลอดหอม,หนอนหนังเหนียว เป็นหนอนที่กัด กินยอด กาบใบของหอมและกระเทียม กัดกินใบของผักตระกูลกะหลํ่า ฝักถั่วและผลของพืชอื่น ๆ รวมทั้งพืชไร่พืชสวนบางชนิด ในภาคกลางมีระบาดตลอดปี ตัวหนอน มีลักษณะอ้วน หนังลำตัวเรียบมีหลายสี ตามสภาพแวดล้อมหรือตามสีใบพืชที่มันเกาะ ตัวที่โตเต็มที่ด้านข้างจะมีแถบสีขาวพาดตามยาว หนอนที่งอกจากไข่จะรวมอยู่เป็นกลุ่ม กัดกินผิวใบด้านล่าง ถ้าเกิดในหลอดหอมหนอนจะเข้าหลอดภายใน 3 ชั่วโมง เมื่อหนอนโตจะแยกกันซึ่งระยะนี้จะทำลายรุนแรงมาก เข้าดักแด้ใต้ผิวดินบริเวนโคนผัก

การป้องกันกำจัด

–                  ควรปลูกผักในฤดูฝนหรือฤดูที่ปลูกน้อย จะช่วยลดการระบาดลงได้

–                  ก่อนนำพันธุ์หอมไปปลูกในแหล่งใหม่ ควรตรวจไข่และตัวหนอนก่อน

–                  หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียวนี้เป็นหนอนที่ดื้อยา ปรับตัว ให้ทนยาได้เร็ว สารเคมีที่กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้คือ คิมิลิน,อัลซิสติน,แชคลิคเลอร์,อาทาบรอน สารดังกล่าวเป็นสารที่ออกฤทธิ์ช้า มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดหนอนที่ดื้อยา แต่ควรระวังอันตรายต่อสัตว์น้ำชนิดที่มีการลอกคราบ

–                  ใช้เชื้อไวรัสหนอนกระทู้หอม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลและปลอดภัยต่อคน และสัตว์ ปัจจุบันยังไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด ชาวสวนสามารถติดต่อขอรับได้จาก กองกีฎของสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร (อ่านรายละเอียดได้จากฐานเกษตรกรรม ฉบับพิเศษเรื่องโรคและแมลง)

หนอนกระทู้ผัก

หรือหนอนรัง, หนอนกระทู้ฝ้าย, หนอนกระทู้ยาสูบ เป็นศัตรูที่ทำลายใบ และก้านหรือหัวของผักตระกูลกะหลํ่าและผักกาด ระบาดทั่วประเทศ ทุกฤดูแต่จ มากในฤดูฝน มีลักษณะลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ สีสรรต่าง ๆ กัน ส่วนหัวมีจุดสีดำใหญ่ตรงปล้องที่ 3 หนอนเกิดใหม่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวโตจะใหญ่มาก เคลื่อนไหวช้า เข้าดักแด้ใต้ผิวดินมีสีน้ำตาลเข้ม

การป้องกันกำจัด

มีลักษณะอ่อนแอต่อยาฆ่าแมลง ใช้ยากำจัดเช่นเดียวกับหนอนคืบกะหล่ำ

ด้วงหมัดผัก

หรือหมัดผัก, หมัดกระโดด, ตัวกระเจ๊า เป็นศัตรูของผักกะหลํ่าและผักกาด ตัวอ่อนชอบกินรากหรือหัวในดิน ตัวเต็มวัยจะกัดกินใบจนพรุน ชอบทำลายพิเศษในผักจำนวนที่มีกลิ่นฉุน พบระบาดทั่วประเทศ ทุกฤดูโดยเฉพาะฤดูฝนและแหล่งที่มีความชุ่มชื้น

ด้วงหมัดผักมี 2 ชนิด คือ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่มีแถบสีนํ้าตาลอ่อนพาด

แถว หรือชนิดลาย และชนิดสีนํ้าเงินเข้ม เมื่อถูกตัวจะกระโดดได้เร็วและไกล ตัวเต็มวัยวางไข่ในดิน ตัวอ่อนมีขนาดเล็กสีขาวใส ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง การป้องกันกำจัด

–                  หลีกเลี่ยงการปลูกผักซ้ำในที่เดิม

–                  ไถถากหน้าดินในฤดูแล้งเพื่อทำลายตัวอ่อนหรือดักแด้ในดิน

–  ใช้ยาฆ่าแมลง แนะนำให้ใช้เซฟวิน 85 85 % แบบผงผสมนํ้า 20-30 กรัม หรือเซฟวิน 50 % แบบผสมน้ำ 35-45 กรัม หรือมาลาเฟซ 57 % แบบนํ้ามัน 30-40 ซีซี หรือมาลาเฟซ 83 % แบบนํ้ามัน 20-30 ซีซี โดยผสมกับน้ำ 20 ลิตร สารพวกนี้ เหมาะกับด้วงหมัดผักที่ไม่ดื้อยา ฉีดพ่น 5-7 วันครั้ง เว้นระยะปลอดภัยก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน

สำหรับด้วงหมัดผักที่เริ่มดื้อยาใช้ คาร์ไบครอน 50 % แบบนํ้ามัน 20-30 ซีซี หรือไบดริน 24 % แบบน้ำมัน 40-60 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2-5 วันครั้ง งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

หนอนเจาะผลมะเขือ

เป็นศัตรูกับมะเขือในระยะเจริญเติบโต โดยเจาะเข้าไปที่ยอดและกัดกิน

ภายใน ทำให้เกิดการขาดการส่งนํ้าและอาหาร ยอดจะเหี่ยว นอกจากนี้ยังเจาะเข้าทำลายผลด้วย พบระบาดไปทั่วประเทศในฤดูฝนจะทำลายออกมาก ในฤดูหนาวจะทำลายผลมากกว่า

การป้องกันกำจัด

ใช้แลนเนท 90 %, น๊อกเด็ด 90 %.เมทโธมิล 90 % แบบผงละลายนํ้า 10-12 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบว่ายอดเหี่ยวมากกว่า 10 % หรือถูกเจาะมาก ฉีดทุก 7-10 วัน งดฉีดก่อนเก็บผลผลิต 7 วัน

หนอนแมลงวันเจาะต้น

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหนอนข้าวสาร เป็นศัตรูต่อพืชผักพวกถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม ถั่วแขก ถั่วลันเตา ตั้งแต่ถั่วเริ่มงอก ตัวหนอนเจาะเข้าไปกัดกินตามข้อเถา ข้อต่อกาบใบ ก้านใบ และลำต้น ผักคะน้า ทำให้เกิดรอยแตกตามจุดที่ถูกทำลายใบร่วง และเถาเหี่ยวแห้งไปในที่สุด พบระบาดในทุกแห่งทั่วประเทศและทุกฤดู

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาฟูราดาน 35 % 15-30 ซีซี/เมล็ดถั่ว 1 กก. คลุกเมล็ดก่อนปลูก หรือใช้สารฟูราดาน 3 % แบบเม็ด 3 กรัม/หลุม หยอดก้นหลุมก่อนปลูกจะป้องกัน ได้ 30 วัน เ

พลี้ยไฟ-เพลี้ยอ่อน

เป็นศัตรูของพริกและถั่วต่าง ๆ ระบาดมากในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็น เวลานาน เพลี้ยใช้ปากดูดกินนํ้าเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืชทำให้ส่วนนั้น ๆ หงิกงอ ทำให้ตาดอก, ยอด, ดอกและผลร่วงหล่น พริกที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายใบจะหงิกงอขึ้นข้างบน

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาฆ่าแมลง เช่น เซฟวิน,โตกุโธออน,เมซโรล,ทามารอน,แลนเนท ฯลฯ อัตรา 20-30 ซีซี/นํ้า 20 ลิตร ฉีดเมื่อพบระบาดบนยอดอ่อนเพียงเล็กน้อย 7-10 วัน/ครั้งและหยุดฉีดอย่างน้อย 3 วันก่อนเก็บผล

การป้องกันกำจัดอีกอย่างหนึ่ง คือใช้ปุ๋ยทางใบควบคู่กับการฉีดพ่นยาทำให้ผักแข็งแรงมีความต้านทานโรคและแมลงได้มากขึ้น

ไรขาว-ไรแดง

เป็นศัตรูกับพืชตระกูลถั่ว ทำให้ใบเหลืองและต้นทรุดโทรมเร็วกว่าปกติ

และดอกร่วง

การป้องกันกำจัด

–  ใช้กำมะถันผงละลายน้ำฉีดพ่นในอัตรา 60-80 กรัม/นํ้า 20 ลิตร หรือ 1 ปีบ ฉีดพ่นตามยอดอ่อนและใต้ใบเมื่อพบมีอาการผิดปกติ ฉีดพ่นห่างกัน 3-5 วัน สัก 2-3 ครั้ง แล้วหยุดจนกว่าจะเริ่มเห็นอาการใหม่ การฉีดกำมะถันจะต้องทำในเวลาเย็นไม่มีแดดแล้ว

–  ใช้สารเคมี ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำคือ ไดโคโฟล ที่มีชื่อ ทางการค้าว่า เคลเทน 18.5 % EC (แบบนํ้ามัน) ในอัตราส่วน 50-60 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ฉีด 2-3 วันครั้ง ทุกๆ 7 วัน

เต่าแตง

การป้องกันกำจัด

ใช้เซฟวิน 85 % แบบผงผสมน้ำ อัตรา 20-30 กรัม/นํ้า 20 ลิตร พ่นในระยะที่แตงงอกใหม่ ๆ หรือระยะตั้งตัวได้หลังย้ายปลูก พ่น 5-7 วันครั้งจน แตงเริ่มทอดยอด อย่าใช้เกินอัตราเพราะจะทำให้ใบไหม้ได้

หรือใช้ไบดรินหรือคาร์โบครอน 40 % แบบนํ้ามัน 15-30 ซีซี เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็วและคุ้มกันได้นาน มีพิษต่อคนและสัตว์ค่อนข้างสูง