แสมขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Avicennia alba Bl.
ชื่อวงศ์ AVICENNIACEAE
ชื่ออื่น พีพีเล (ตรัง), แหม แหมเล (ใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-20 ม. ไม่มีพูพอน ลำต้นแตกกิ่ง ระดับต่ำ ทรงพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้นเรียบ สีเทาถึงดำ มักจะมีสีสนิมเกิดจากพวกเชื้อราติดตามกิ่ง และผิวของลำต้น มีรากหายใจ รูปคล้ายดินสอยาว 15-30 ซม. เหนือผิวดินหนาแน่น บริเวณโคน


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปใบหอก แกมรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-16 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีขนยาวนุ่ม สีเทาอ่อน หรือสีเทาเงินหรือสีออกขาว แผ่นใบเมื่อแห้ง จะเป็นสีดำ ก้านใบยาว 1-2 ซม.


ดอก สีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ยาว 3-8 ซม. มีขนยาวนุ่มสีนํ้าตาลเหลืองหม่นปกคลุม ดอกย่อยไม่มีก้านดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.4-0.6 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 0.2-0.3 ซม. โคนกลีบติดกัน เกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกเดือน ม.ค.-เม.ย.
ผล รูปคล้ายพริก หรือรูปไข่เบี้ยว แบน กว้าง 1 .5-2 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายผลมีจะงอย เปลือกอ่อนนุ่ม สีเหลืองอมเขียว มีขนยาวนุ่ม สีเขียวอ่อน
นิเวศวิทยา เป็นไม้เบิกนำ พบตามพื้นที่ดินเลนอ่อน ที่ระบายนํ้าดี ส่วนมากจะอยู่ในป่าเลนด้านนอกสุด เป็นไม้ที่ช่วยให้มีการตกตะกอน ทำให้เกิดแผ่นดินงอก
การใช้ประโยชน์ ต้น ใช้เป็นเชื้อเพลิง ก่อสร้าง เช่น เสาเข็ม เสาบ้าน
การใช้ประโยชนด้านสมุนไพร แก่น ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้กษัย โดยมากต้มรวมกับแก่นแสมสาร (ขี้เหล็กป่า) ต้มอมนํ้าเพื่อสมานแผล ในปาก ก้านใบ เผาไฟรมควัน แก้พาหะจากสัตว์นํ้าทุกชนิด โดยเฉพาะ ปลามีพิษจากทะเลทุกชนิด
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย