แหนแดง

(Nae daeng)
เป็นเฟินน้ำขนาดเล็กที่ขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำ ในแหล่งที่เป็นน้ำนิ่ง ต้น (Frond) ลักษณะเป็นโครงสร้างรวมที่ไม่แยกเป็นใบ และลำต้นเรียกว่า ทัลลัส (thallus) ลักษณะเป็นใบเล็กๆ แบนๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. สีเขียว แตกออกเป็นคู่ ซ้อนกันเป็นสองแถว จากโคนไปหาปลาย หรือจากใบบนไปใบล่าง ทัลลัสแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบน (upper lobe) จะลอยอยู่เหนือน้ำ และส่วนฐานที่จมอยู่ใต้น้ำ (submerged lower lobe) ส่วนบนที่มีลักษณะเป็นใบซ้อนกันอยู่คล้ายเกล็ดปลา จะมีช่องว่าง (dorsal cavity) เป็นที่ตั้งของสาหร่าย สีน้ำเงินแกมเขียว (Blue green algae) ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการตรึง ไนโตรเจนจากอากาศได้ และสร้างสารประกอบพวกไนเตรทให้แหนแดงนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ ทัลลัสส่วนบนที่มีลักษณะเป็นใบเล็กๆ มีขนาดเล็กกว่า 1 มม. จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลอมม่วงเมื่อแก่ ราก จะห้อยลงไปในน้ำตามแนวดิ่ง หรืออาจฝังลงไปในโคลนได้ ยาว 1-5 ซม. มีรากขนอ่อนจำนวนมาก เมื่อแหนแดงเจริญเต็มที่จะปกคลุมตลอดผิวน้ำ เป็นอุปสรรคต่อการกินน้ำของสัตว์และการจับปลา แหนแดงขยายพันธุ์โดยการแยกส่วนของต้น พบในนาข้าว และแหล่ง น้ำที่ค่อนข้างนิ่งทั่วไป