แห้วหมูเล็กประโยชน์ทางยาสมุนไพร


หญ้าขนหมู

ชื่อ
จีนเรียก    เก่าเฮียงเช้า  แซเฮียงหู่  เขาเท่าเฮียง  Cyperus rotunbus Linn.

ลักษณะ
พืชจำพวกหญ้า ชอบขึ้นในทุ่ง ในสวนถนนหนทาง เป็นพืชล้มลุกหลายปี รากเรียวเล็กเป็นฝอย ตามรากมีกระเปาะเป็นแห่งๆ โตประมาณ 2-3 หุน ยาว 5-6 หุน ต้นบนดินเป็นลำสามเหลี่ยม สูง 5 นิ้วถึง 1 ฟุต ใบอุ้มต้น ใบรูปเรียวยาว ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ออกดอกที่ยอดในฤดูร้อนถึงฤดูฝน ดอกออกเป็นรวงสีกาแฟ มีกลีบห่อนอกดอก 2-3 กลีบ รวงดอกยาวประมาณ 3-4 หุน ออกผลเป็นเมล็ดยาวรูปสามเหลี่ยม

รส
ขมนิดๆ กลิ่นหอม ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
ใช้รับประทานระบายลม ขับความเย็น ระงับปวด ใช้ภายนอกไล่ลม ฤทธิ์เข้าถึงกระเพาะและลำไส้

รักษา
หวัดลม หวัดหนาว หน้าอกแน่นคัดเพราะความหนาว ปวดท้องเพราะมากในกามกิจ ใช้ภายนอกแก้ลมใต้ผิวหนัง ผู้หญิงปวดเมื่อยขาหลังคลอด

ตำราชาวบ้าน
1. หวัดหนาว – แห้วหมูเล็ก 2-3 เฉียน หอมสด 2-7 หัว เปลือกส้ม 2-5 เฉียน ต้มน้ำ ใส่น้ำตาลแดง รับประทานตอนยังร้อนอยู่
2. หน้าอกแน่นคัดเพราะความหนาว – แห้วหมูแก้ว ครึ่งตำลึง ตุ๋นเหล้า ส่วนกากตำกับเหล้าพอกที่เจ็บแน่นหรือใช้แห้วหมูเล็กตำแหลกใส่เหล้า พอก
3. ปวดท้องเพราะมากในกามกิจ -แห้วหมูเล็ก ยาเย็น
หญ้าเปลือกหอย  ใบบัวบก อย่างละครึ่งตำลึงตำแหลกเอาน้ำชงเหล้ารับประทาน ส่วนกากใช้พอกที่สะดือ
4. แน่นหน้าอก – แห้วหมูเล็ก 1 ตำลึง ต้มน้ำกินบ่อยๆ
5. บวมลม – แห้วหมูเล็ก ใบละหุ่งขาว ใบโกฐจุฬาลำพา ต้มน้ำผสมเหล้า
6. หญิงปวดเมื่อยเท้าหลังคลอด – เอาแห้วหมูเล็ก ตำแหลกแล้วพอกที่ขา

ปริมาณใช้
รับประทานสดใบหรือรากไม่เกินครึ่งตำลึง แห้งไม่เกิน 3 เฉียน
ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
คนป่วยที่รู้ว่าร้อนในไม่ควรรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช