สรรพคุณสมุนไพร:โกฐจุฬาลำพา


ชื่อ
จีนเรียก  แซโหง ไง่เฮียะ ซัวไหง Artemisia vulgaris Linn.

ลักษณะ
เป็นพืชจำพวกหญ้า เกิดตามข้างทางและที่ว่างทั่วไป เป็นพืชยืนต้นหลายปี ขนขาวขึ้นทั่วตามลำต้น ต้นกลมสีม่วง สูงประมาณ 2-3 ฟุต ใบคู่ ยาวประมาณ 4-5 นิ้ว หลังใบสีเขียวหน้าใบสีซีด ต้นและใบมีกลิ่นหอม รูปใบเป็นแฉกๆ ฐานใบแตกเป็นแฉกคล้ายเป็นใบเลี้ยง ไม่มีก้านใบ ออกดอกที่ปลายก้านใบ ในฤดูร้อนเข้าฤดูฝน สีเหลืองขึ้นเป็นช่อ ออกลูกผลเล็กๆ

รส
รสฝาด กลิ่นหอม ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถขับลม ระงับโลหิตตก ใช้ภายนอกแก้ลม แก้ช้ำใน ฤทธิ์เข้าถึงปอด

รักษา
ปวดเมื่อยเนื่องจากรูมาติสม์ ไอหวัดลม เป็นบิดเลือด ผู้หญิงตกฤดูมากเกินควร ปวดท้องหลังคลอด ปวดหัวเนื่องจากลมขึ้นเบื้องสูง ใช้ภายนอกแก้บวมนํ้า

ตำราซาวบ้าน
1. ปวดเมื่อยเนื่องจากรูมาติสม์-ใบโกฐจุฬาลำพา ต้มนํ้าอาบ หรือใช้ราก 1 ตำลึงต้มกระดูกขาหมู หรือใบโกฐจุฬาลำพา 1 ตำลึง กับรากเถาขี้ไก่ 1 ตำลึง ต้มขาหมูชงเหล้า
2. ไอเนื่องจากหวัดลม-ใบโกฐจุฬาลำพา ครึ่งตำลึง ซอยละเอียดคลุกกับไข่เป็ด ตุ๋นนํ้ารับประทาน
3. บิดนานวันจนลงเลือด-ใบโกฐจุฬาลำพา 1 ตำลึง ต้มน้ำใส่นํ้าตาลทรายขาว
4. ตกระดูมากเกินควร-ใบโกฐจุฬาลำพา 1 ตำลึง คั่วจนเกรียม ต้มกับน้ำส้มกับน้ำปริมาณเท่ากัน หรือเอาใบโกฐจุฬาลำพาเผาจนเป็นเถ้าบดแหลกใส่ข้าวต้ม
5. ปวดท้องหลังคลอด-ใบโกฐจุฬาลำพา ครึ่งตำลึง ต้มใส่น้ำตาลทราย
6. ปวดหัวลมขึ้นเบื้องสูงหลังคลอด-ยอดใบโกฐจุฬาลำพา 7 ใบ ต้มใส่ลูกชิ้นหมู หรือยอดใบต้มกับมันสมองหมู แล้วตุ๋นเหล้ากับน้ำ หรือราก 1 ตำลึงต้มสมองหมู ชงเหล้า ถ้าปวดมานานใช้ยอดใบ 7 ใบ ต้มหัวแพะ ชงเหล้า
7. บวมน้ำเนื่องด้วยรูมาติสม์-ใบโกฐจุฬาลำพา ต้มน้ำอาบ

ปริมาณ
ใบหรือรากสดใช้ไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง กิ่งใบใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช