โรคของถั่วที่เกิดขึ้นหลังเก็บเกี่ยว

โรคฝักเน่า

เนื่องจากเมล็ดและฝักถั่วเป็นผลิตผลที่มีธาตุอาหารสูง เหมาะที่จะเป็นอาหารและการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจึงมีโอกาสที่จะเกิดโรคขึ้นได้อีก โรคพวกนี้มีทั้งที่ติดมาจากต้นขณะอยู่ในแปลงปลูกและเกิดการติดเชื้อขึ้นภายหลัง โดยจะมาแสดงอาการให้เห็นขณะขนส่งหรือขณะจำหน่ายตามตลาด

อาการและสาเหตุโรค

ก. โรคแผลบนฝักหรือแอนแทรคโนสเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lindemuthianum เป็นโรคที่เกิดกับถั่วตั้งแต่ยังติดอยู่กับต้นในแปลงปลูก เนื่องจากเชื้อแอนแทรคดนสนี้เมื่อเข้าเกาะกินฝักถั่วแล้วจะใช้เวลา 5 ถึง 6 วัน จึงจะแสดงอาการให้เห็นบางครั้งขณะเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วง 1-5 วันของการ infection จึงยังไม่แสดงอาการใดๆ หลังจากนั้นอีกหนึ่ง หรือสองวันจึงเกิดแผลขึ้นในลักษณะเป็นจุดกลมสีน้ำตาลหรือนํ้าตาลแดงเป็นแอ่งยุบตัวลงไปจากผิวปกติเล็กน้อย ขนาดของแผลอาจเป็นเพียงจุดเล็กๆ หรือโตจนเต็มความกว้างของฝึก โดยเฉพาะหากเกิดมากๆ แผลแต่ละแผลจะมาต่อเชื่อมกันทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แผลเหล่านี้จะทำให้ฝักถั่วไม่น่าดู ผู้บริโภคเกิดความรังเกียจขายไม่ได้ราคา ในกรณีที่เป็นรุนแรงเมล็ดถั่วภายในฝักจะถูกทำลายเกิดอาการแผลขึ้นด้วย มีผลทำให้เมล็ดเสียรูปทรงเหี่ยวย่นเป็นการเสียหายกับถั่ว แกะเมล็ดขายหรือถั่วบรรจุกระป๋อง

ข. โรคฝักเน่าช้ำหรือเน่าเปียก (Watery soft เกิดจากเชื้อราเช่นกัน โดยที่พบบ่อยมีอยู่ 2-3 ชนิดคือ Sclerotinia sclerotiorum Rhizoctonia sp. และ Pythium sp. การติดหรือเกิดโรคก็เช่นเดียวกันกับโรคแอนแทรคโนส คือมีทั้งจากติดมาจากแปลงปลูกหรือเกิดขึ้นภายหลัง เมื่อเข้าทำลายฝักถั่วจะก่อให้เกิดอาการเน่าช้ำทั้งฝักมีลักษณะเปียกเยิ้มส่วนใหญ่มักจะพบในถั่วที่บรรจุรวมกันอยู่มากๆ ในภาชนะ เช่น เข่ง ตะกร้า ถุงพลาสติก หรือถุงผ้าที่อับทึบ ขณะเกิดโรค หากความชื้นสูงจะพบว่ามีกลุ่มเส้นใยของเชื้อราเกิดขึ้นปกคลุมอยู่บนหรือระหว่างฝักถั่วที่รวมกันอยู่เป็นสีขาว คล้ายสำลีหรือปุยฝ้ายเป็นจำนวนมากเห็นได้ชัดเจน

การป้องกันกำจัด

1. ไม่ควรเก็บฝักถั่วในขณะที่ยังเปียก เช่น หลังฝนตกใหม่ๆ หรือในตอนเช้าของวันที่มีหมอกน้ำค้างจัด ควรจะรอให้สายมีแสงแดด และนํ้าระเหยแห้งเสียก่อนหรือหลังจากเก็บควรผึ่งให้แห้งแล้วจึงค่อยบรรจุลงในภาชนะ

2. ฝักถั่วที่ปรากฏอาการของโรคให้เห็นเพียงเล็กน้อย ควรรีบแยกออกไปทิ้งไม่ควรปล่อยไว้รวมกับฝักอื่นๆ เพราะจะทำให้เกิดการเสียหายทั้งหมด

3. ถั่วที่เก็บจากต้นที่เคยเป็นโรคหรือแสดงอาการ โดยเฉพาะแอนแทรคโนสและโรคเน่าที่เกิดจาก Sclerotii เพื่อความปลอดภัย ความจุ่มแช่ในน้ำยาไดคลอแรน (dichll ran) 30 กรัมละลายนํ้า 1 ปี๊บ (20 ลิตร) 15 – 20 นาที ล้างด้วยน้ำสะอาด ผึ่งให้แห้งแล้วจึงบรรจุลงภาชนะ

4. ควรใช้ภาชนะบรรจุที่ใหม่สะอาดหรือไม่ก็ฆ่าเชื้อแล้ว ลักษณะภาชนะที่ใช้บรรจุฝักถั่ว เช่น เข่ง ตะกร้า ที่ทำด้วยไม้ไผ่สาน หรือถุงพลาสติกที่มีตาใหญ่และโปร่งจะดีและหมาะกว่าพวกที่มีตาถี่และทึบ เพราะการระบายถ่ายเทอากาศที่ดีกว่าจะทำให้ถั่วที่บรรจุไม่เน่าเสียง่าย