โรคของมะเขือเทศ

(diseases of tomato)

มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) เป็นพืชผักในตระกูล Solanaceae มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแถบลาตินอเมริกา ทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันได้มีการนำเอาไปปลูกกระจายออกไปทั่วโลกทั้งในทวีป ยุโรป อเมริกา อาฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทย ไม่มีรายงานยืนยันแน่นอนว่าใครเป็นผู้นำเอาเข้ามาปลูกเป็นบุคคลแรก และเมื่อใด แต่ในปัจจุบันก็มีผู้นิยมปลูกกันแพร่หลาย โดยเฉพาะในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง เช่น ลำปาง เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ผลมะเขือเทศนอกจากจะใช้บริโภคโดยประกอบเป็นอาหารชนิดต่างๆ แล้วยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญเช่น ทำน้ำซ๊อสใช้จิ้มหรือปรุงแต่งรสอาหาร ทำเป็นนํ้ามะเขือเทศใช้ดื่มแทนน้ำผลไม้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำปลากระป๋อง ส่วนเนื้อมะเขือเทศตากแห้งก็นำมาเชื่อมกับนํ้าตาลทำเป็นผลไม้กวนหรือแช่อิ่มในรูปของหวานได้

การปลูกมะเขือเทศจัดเป็นอาชีพทางการเกษตรที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพืชผักชนิดอื่นทั่วๆ ไป แต่ก็มีอุปสรรคค่อนข้างมากเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านโรคต่างๆ เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่อ่อนแอและง่ายต่อการเข้าทำลายจากโรคต่างๆ ได้เกือบทุกชนิด ส่วนมากของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคขึ้นกับมะเขือเทศได้มักจะเป็นเชื้อที่ทำลายพืชอื่นด้วยมีอยู่เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้นที่พบว่ามีมะเขือเทศเป็นพืชอาศัยเพียงอย่างเดียว

โรคเหี่ยวที่เกิดจาก Fusarium (Fusarium wilt)

โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจาก Fusarium จัดอยู่ในกลุ่มของโรคสำคัญโรคหนึ่งของมะเขือเทศ เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลายและทำความเสียหายให้กับการปลูกมะเขือทั่วๆ ไป ในเกือบทุกท้องถิ่นที่มีการปลูกโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และบางจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศ

อาการโรค

โรคจะเกิดเป็นกับมะเขือเทศได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ในต้นกล้าอาการเริ่มแรกคือ หยุดการเจริญเติบโต ใบแก่จะตกขอบใบม้วนลงด้านใต้ เหี่ยวเฉา และตายในที่สุด ในต้นแก่ที่พ้นระยะกล้าแล้ว อาการส่วนใหญ่จะรุนแรงในระยะให้ดอก หรือขณะมีลูกจะสังเกตเห็นใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ ของต้น เปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง โดยอาการดังกล่าวบางครั้งจะแสดงออกเพียงด้านใดด้านหนึ่งของต้น ส่วนด้านที่เหลือยังคงเจริญเติบโตเป็นปกติ ทั้งนี้เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อในระยะแรกเกิดขึ้นกับรากพืชเฉพาะซีกเดียวของต้นก่อน ต่อมาหลังจากรากที่เหลือถูกทำลายหมด อาการเหลืองจะค่อยๆ กระจายไปยังใบอื่นๆ ครั้งแรกจะเหี่ยวเฉพาะกลางวันที่อากาศ และแดดจัด และจะกลับตั้งตัวดังเดิมในเวลากลางคืน แต่เมื่อนานเข้าอาการเหี่ยวก็จะทวีเพิ่มมากขึ้นจนในที่สุดจะเหี่ยวอย่างถาวรต่อมาจะแห้งแล้วตายทั้งต้นในที่สุด หากถอนต้นมะเขือเทศที่แสดงอาการดังกล่าวขึ้นจากดินจะเห็นบริเวณโคนต้นระดับดินหรือต่ำลงไปเล็กน้อยและรากส่วนใหญ่ถูก ทำลายเป็นแผลสีนํ้าตาล เปลือกหลุดล่อน เมื่อผ่าต้นออกดูจะ เห็นส่วนของท่อนํ้าท่ออาหารถูกทำลายเกิดเป็นแผลเน่าสีนํ้าตาล จากระดับดินสูงขึ้นมา 4-5 นิ้วฟุต หรือมากกว่าจนตลอดทั้งต้นในกรณีที่เป็นรุนแรง บางครั้งถ้ามะเขือเทศให้ผลแล้วลูกที่มีอยู่จะถูกเชื้อเข้าทำลายด้วยโดยจะสังเกตรอยช้ำเน่าขึ้นในส่วนที่เป็นท่อนํ้าท่ออาหารของผล

สาเหตุโรค : Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici

เป็นเชื้อ Fusarium ในกลุ่ม oxysporum ที่ทำลายพืชพืชกว้างขวางอีกตัวหนึ่งโดยเป็น form species lycopersici ซึ่งทำลายมะเขือเทศโดยเฉพาะ การเข้าทำลายพืชส่วนใหญ่มักจะเริ่มตั้งแต่ระยะกล้าโดยผ่านทางแผลที่รากหรือโคนระดับดิน หลังจากนั้นจะเจริญอย่างรวดเร็วไปตามท่อส่งนํ้าใต้ดิน (lycomarasmin และ fusaric acid ออกมาทำลายเซลล์ดังกล่าวจนไม่สามารถทำการส่งลำเลียงน้ำไปเลี้ยงต้นได้ ทำให้การดูดซึมอาหารและปฏิกิริยาต่างๆ ภายในต้นหยุด ทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวและตายในที่สุด

ช่วงกลางวันที่อากาศร้อนหรือไม่ก็เพียงชะงักการเจริญ เติบโตไม่รุนแรงถึงกับทำให้พืชตายทั้งต้น สำหรับสภาพความเป็นกรดหรือด่างของดินปรากฏว่า F.oxysporum f.sp.lycopersici เจริญ และเข้าทำลายพืชในดินที่เป็นกรดได้ดี กว่าดินที่เป็นด่าง ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะที่สุดสำหรับเชื้อนี้อยู่ ระหว่าง 27-32° ซ และจะไม่เกิดโรคกับพืชหากต่ำกว่า 18°ซ

การอยู่ข้ามฤดูและการระบาด

F.oxysporum f.sp. lycopersici อยู่ข้ามฤดูได้โดยอาศัยเกาะกินอยู่กับเศษซากพืชที่ปล่อยทิ้งไว้ตามดินปลูก และจะอยู่ได้นานตราบเท่าที่ยังมีอาหารให้กินเรื่อยๆ การระบาดอาจเกิดขึ้นได้โดยการย้ายกล้า โดยเฉพาะกล้าที่เพาะในดินที่เคยมีเชื้ออยู่ก่อน โดยเชื้อจะปะปนอยู่กับดินที่ติดอยู่กับรากของต้นกล้า เมื่อนำไปปลูกในแปลงใหม่ก็เท่ากับนำเอาเชื้อใส่ลงในดินใหม่นั้น นอกจากนั้นเชื้ออาจจะติดไปกับเครื่องมือเครื่องใช้เช่นจอบ เสียม ล้อยานพาหนะแม้กระทั่ง ไม้หลักที่ใช้ทำค้างหากใช้ของเก่าก็อาจจะมีเชื้อติดไปด้วย สำหรับการเชื้อจะติดไปกับเมล็ดนั้นโรคนี้มีโอกาสเป็นไปได้น้อย นอกจากในกรณีที่โรคเกิดขึ้นกับลูกมะเขือเทศในขณะที่แก่หรือสุกแล้วเชื้ออาจเข้าไปอาศัยเกาะติดอยู่กับเมล็ดได้ หรือไม่ก็ในขณะหมักเมล็ดเพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์อาจมีสปอร์หรือโคนีเดียปะปนติดอยู่บ้าง

อย่างไรก็ดี สำหรับเชื้อราที่อาจก่อให้เกิดโรคเหี่ยวกับมะเขือเทศนั้นนอกจาก Fusarium sp. แล้วพบว่ายังมีอีกตัวหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างอาการที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ Verticillium albo-atrum แต่เป็นราที่มักจะพบในดินที่ชื้นแฉะและอุณหภูมิต่ำระหว่าง 20-22 ∘ซ

การป้องกันกำจัด

1. เพาะกล้าในดินที่ใหม่สะอาดหรือฆ่าเชื้อแล้ว

2. หลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศลงในดินที่เคยมีโรคเกิดขึ้นการปลูกพืชหมุนเวียนแม้จะไม่สามารถกำจัดทำลายเชื้อได้หมดแต่ก็อาจช่วยลดความรุนแรงหรือความเสียหายจากโรคลงได้ แต่ต้องใช้เวลาที่ค่อนข้างนาน คือ 5 – 7 ปี เป็นอย่างต่ำ

3. ระวังเรื่องการเคลื่อนย้ายเชื้อในดินหรือสิ่งที่จะนำเอาเชื้อติดไปด้วย เช่น จอบ เสียม เครื่องมือขุดพรวนดิน ไม้หลักทำค้างที่เคยใช้มาก่อน

4. ปลูกมะเขือเทศในดินที่เป็นด่างเล็กน้อยจะปลอดภัยกว่าในดินกรด

โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium (Southrn blight)

เป็นโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราอีกตัวหนึ่งของมะเขือเทศที่พบบ่อยเช่นเดียวกับ Fusarium sp.จะต่างกันก็ตรงที่ Fusaruim sp. ชอบดินแห้งแต่ Sclerotium rolfsii จะทำลายและสร้างความเสียหายให้กับพืชได้ดีในดินที่ชื้นแฉะ

อาการโรค

ในต้นมะเขือเทศที่โตพ้นระยะกล้าแล้วเชื้อจะเข้าทำลาย ส่วนของลำต้นที่อยู่ระดับหรือใต้ผิวดินลงไปเล็กน้อยก่อให้เกิดอาการแผลแห้งตายขึ้นกับส่วนของต้นและเปลือก จนรอบลำต้น สำหรับอาการที่จะสังเกตเห็นได้บนต้นที่อยู่เหนือพื้นดินคือ ยอดเหี่ยวใบเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต ระยะแรกอาจจะเหี่ยวเฉพาะในตอนกลางวันที่อากาศร้อน พอตกเย็นหรือกลางคืนจะกลับสดดังเดิม และจะค่อยๆ เหี่ยวรุนแรงขึ้นจนในที่สุดเหี่ยวอย่างถาวรแล้วแห้งตายทั้งต้น อาการโดยทั่วๆ ไปจะคล้ายกับ Fusarium sp. แต่ถ้าสังเกตให้ใกล้ชิดบริเวณส่วนที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะพบว่ามีเส้นใยสีขาวของเชื้อราขึ้นเจริญเติบโตอยู่ทั่วไปทั้งที่ต้นและบริเวณพื้นดินโดยรอบพร้อมทั้งมีเม็ดสเครอโรเทีย เป็นเม็ดกลมเล็กๆ คล้ายเมล็ดผักกาด ซึ่งเมื่อเริ่มเกิดจะเป็นสีขาวแล้วเปลี่ยนสีเข้มขึ้นเป็นนํ้าตาลหรือดำเมื่อแก่ เม็ดพวกนี้จะมีเป็นจำนวนมากและมองเห็นได้ชัดเจน หลังจากเข้าทำลายบริเวณโคนต้นแล้ว เส้นใยก็จะเจริญแผ่กระจายขึ้นมายังลำต้นข้างบนและลึกลงไปใต้ดินทำลายส่วนรากทั้งหมดซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการเหี่ยวและแห้งตายขึ้น

สำหรับลูกหรือผลมะเขือเทศที่อยู่เรี่ยหรือติดดินก็จะถูกเชื้อเข้าทำลายก่อให้เกิดผลสีเหลืองยุบตัวลงแล้วเน่าอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมีเส้นใยสีขาวและเม็ดสเครอโรเทียขึ้นปกคลุมอยู่เช่นกัน

สำหรับต้นอ่อนหรือต้นกล้าหากเกิดโรคขึ้นมักจะรุนแรงทำให้เกิดการตายอย่างรวดเร็วทำให้ต้นหักพับและแห้งตายคล้าย damping-off

สาเหตุโรค: Sclerotium rolfsii

เป็นราที่ไม่มีการสร้างสปอร์ขยายพันธุ์ได้โดยการสร้างเส้นใยและการเกิดเม็ดสเครอโรเทีย เป็นราที่ต้องการอุณหภูมิและความชื้นสูงทั้งในการเจริญและการทำลายพืช นอกจากมะเขือเทศแล้ว S. rolfsii ยังสามารถขึ้นเกาะกินพืชอื่นๆ ได้อีกมากมายกว่า 100 ชนิด ทั้งพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ วัชพืช พืชไร่ และแม้แต่ไม้ยืนต้นที่มีเนื้อแข็งบางชนิดนอกจาก S. rolfsii แล้วยังพบว่ามีเชื้อราที่คล้ายๆ กันอีกตัวหนึ่งคือ Sclerotinia sclerotiorum ที่ขึ้นทำลายมะเขือเทศและก่อให้เกิดอาการโรคในลักษณะเดียวกันคือ เหี่ยวเฉาแล้วแห้งตายทั้งต้น แต่ S. sclerotiorum จะมีการสร้างสเครอโรเดียที่เกิดจากเส้นใยมาพันรวมตัวกันหลวมๆ สีเข้มหรือดำแต่ที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ประมาณ 0.5 – 1 ซม. ไม่เป็นเม็ดเล็กและแน่นเหมือนของ Sclerotium rolfsii

การป้องกันกำจัด

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อทั้ง Sclerotium sp. และ Sclerotinia sp. คือ หมั่นเอาใจใส่ดูแลรักษาความสะอาดแปลงปลูก เก็บทำลายลูกผลต้นหรือส่วนของพืชที่แสดงอาการโรคโดยการนำไปเผาไฟหรือฝังดินลึกๆ 3 – 4 ฟุต เป็นการป้องกันไม่ให้มีการสร้างสเครอโรเทียขึ้น แปลงปลูกควรยกเป็นร่องสูงเพื่อไม่ให้มีนํ้าแช่ขัง การปลูกมะเขือเทศโดยทำค้างหรือมีไม้คํ้ายันจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูก หรือผลถูกทำลายจากเชื้อราที่อาจมีอยู่ในดินได้ เนื่องจากเชื้อราพวกนี้ชอบดินที่มีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย ดังนั้นการรักษาสภาพของดินให้เป็นด่างโดยการเติมปูนขาวลงในดินพอประมาณอาจช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อลงได้บ้าง

โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial wilt)

โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจัดเป็นโรคสำคัญที่ทำความเสียหายอยู่ในอันดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่เกิดเป็นขึ้นกับพืชชนิดนี้เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลายและพบได้ในเกือบจะทุกแห่งที่มีการปลูกมะเขือเทศ การเกิดโรคจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง พืชจะเหี่ยวเฉาและตายทั้งต้นภายในเวลาไม่กี่วันหลังจากถูกเชื้อเข้าทำลาย นอกจากเหี่ยวแล้วโรคนี้ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นได้อีกตามอาการที่แสดงออกเช่น โรคเน่าสีน้ำตาล (brown rot) โรคต้นไหม้แห้ง (slime disease)

P. solanacearum จัดเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำลายพืชได้กว้างขวาง จากรายงานของผู้ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้ กล่าวว่ามีพืชอาศัยมากกว่า 250 ชนิดในตระกูล (family) ต่างๆ กว่า 30 ตระกูลไม่ว่าจะเป็นพืชผักเซ่น แครอท แรดิซ สปิแนช บีท มะเขือเทศ มะเขือยาว มะเขือมอญหรือกระเจี๊ยบ พริก มันฝรั่ง มันเทศ ถั่วต่างๆ เซ่น ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ป่าน ปอ พวกไม้ดอก เช่น ฮอลลีฮอค พิทูเนีย เบ็ญจมาส ทานตะวัน ดาเลีย พวกพืชไร่ได้แก่ มันสำปะหลัง ละหุ่ง ฝ้าย อ้อย ยาสูบ ข้าวโพด ขิง ไม้ผลบางชนิด เช่น สตรอเบอร์รี แตงโม กล้วย นอกจากนั้นก็มีวัชพืชต่างๆ อีกมากมายหลายชนิด แม้กระทั่งไม้ป่าที่เป็นไม้ยืนต้น เช่น สักก็มีรายงานว่าเชื้อแบคทีเรียตัวนี้เข้าเกาะกินและเจริญเติบโตได้ อย่างไรก็ดีในบรรดาพืชอาศัยต่างๆ เหล่านี้พวกที่อยู่ในตระกูล Solanaceae จะเกิดและติดโรคนี้ได้ง่ายและดีที่สุดรองลงมาก็ได้แก่พวกพืชตระกูลถั่ว (Leguminosae)

สำหรับพืชพวก Solanacious ที่พบว่าเป็นโรคนี้ได้ดีและรุนเเรงก็ได้แก่ มะเขือเทศ พริก มันฝรั่งและยาสูบ

อาการโรค

อาการโดยทั่วๆ ไปที่จะสังเกตเห็นได้หลังจากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายคือ พืชเหี่ยวเฉา หยุดการเจริญเติบโต สีซีดจางใบตกและตายอย่างรวดเร็ว โรคจะเกิดขึ้นได้ทุกระยะการเจริญเติบโตแต่ในต้นอ่อนจะรุนแรงและตายเร็วกว่าต้นที่โตเต็มที่ หรือแก่แล้ว ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต้นพืชอ่อนแอพืชอาจจะเหี่ยวทั้งต้นแล้วตายอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 2-3 วัน หลังจากที่เริ่มสังเกตเห็นอาการครั้งแรก ต้นทั้งต้นจะแห้ง ทำให้เกิดอาการคล้ายกับ blight ขึ้นต้นพวกนี้หากนำมาตัด หรือผ่าออกดูจะเห็นส่วนที่เป็นท่อนํ้าท่ออาหารถูกทำลายเน่าเป็นวงกลมสีนํ้าตาลซึ่งอาการดังกล่าวทำให้บางคนเรียกชื่อโรคนี้ว่าโรคเน่าสีน้ำตาลหรือ brown rot สำหรับระยะแรกที่สังเกตเห็นพืชแสดงอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้หากถอนขึ้นมาผ่าส่วนที่เป็นลำต้นออกดูแล้วปล่อยทิ้งไว้สักครู่จะเห็นส่วนของท่อน้ำท่ออาหารที่เริ่มถูกเชื้อเข้าทำลายมีเมือกเหนียวของแบคทีเรียสีขาวขุ่น (ooze) ซึมออกมาที่รอยตัดดังกล่าวอย่างชัดเจนและถ้าต้องการพิสูจน์ให้แน่ใจว่าเป็นโรคเหี่ยวที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เป็นสาเหตุหรือไม่ให้นำรอยตัดซึ่งตัดออก ตามขวางไปจุ่มแช่ลงในน้ำใสสะอาดที่บรรจุอยู่ในขวดหรือแก้วใส ให้ปลายรอยตัดอยู่ที่ระดับปากขวดหรือแก้วต่ำจากระดับน้ำลงมาเล็กน้อยทิ้งไว้สักครู่ประมาณ 5-10 นาที จะ เห็นเมือกของแบคทีเรียสีขาวขุ่นไหลซึมออกมาในนํ้าเป็นสาย ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะไม่พบในโรคเหี่ยวที่เกิดจากสาเหตุอื่น โดยทั่วไปมะเขือเทศที่ถูกเชื้อนี้เข้าทำลายมักจะตายหรือเสียหายหมดเก็บเกี่ยวผลไม่ได้

อย่างไรก็ดีในกรณีที่พืชบางต้นอาจมีความต้านทานต่อโรคหรือเชื้อที่เข้าทำลายไม่มีความรุนแรงสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย พืชอาจไม่ถึงตายทั้งต้นแต่จะแสดงอาการเพียงแคระแกรนใบเหลือง หรือเกิดการทำลายเพียงกิ่งใดกิ่งหนึ่ง ไม่ทั้งต้น ในต้นพวกนี้จะสังเกตุเห็นอาการอีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่บริเวณลำต้นที่อยู่เหนือดินขึ้นมา คือ ลำต้นจะเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ ขึ้นรอบๆ พร้อมกับมีการสร้างรากลอยขึ้นมาเหนือพื้นดินที่เรียกว่า adventitious root ขึ้นเป็นจำนวนมาก รากชนิดนี้เข้าใจว่าพืชสร้างขึ้นเพื่อใช้แทนรากเดิมในดินซึ่งถูกทำลายเสียหาย

เชื้อสาเหตุโรค Pseudomonas solanacearum

เป็นแบคทีเรีย พวกที่อาศัยอยู่ในดินเมื่อนำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อจะขึ้นเจริญได้ดีสร้างโคโลนีสีครีมอ่อนๆ หรือขาวขุ่น เป็นเชื้อที่จัดว่าไวต่อความเป็นด่าง ธาตุไนโตรเจน อุณหภูมิและความชื้นของดินมาก เจริญและเข้าทำลายพืชได้ดีในดินที่มี pH ระดับกลางๆ ราว 6.8 ในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 15-38°ซ. แต่จะดีที่สุดระหว่าง 30-35°ซ. แต่จะถูกทำลายให้ตายภายใน 10 นาที ที่อุณหภูมิ 49-51°ซ. ในดินที่ขาดธาตุโปแตสเซี่ยมและไนโตรเจนหรือมีความสมบูรณ์น้อยโรคจะรุนแรงหากรักษาระดับความสมบูรณ์ของดินให้คงที่อยู่เสมอ ความเสียหายจะลดลง สำหรับความชื้นแล้วปกติต้องการความชื้นในดินสูงในการเข้าทำลายพืช แต่หากเชื้อมีปริมาณมากแม้ในดินจะมีความชื้นเพียงเล็กน้อยก็อาจทำอันตรายรุนแรงได้โดยเฉพาะในระยะกล้า

การแพร่ระบาดและการเข้าทำลายพืช

การแพร่ระบาดที่สำคัญคือการที่เชื้อติดไปกับเมล็ดหรือในหัว ในกรณีของมันฝรั่งนอกจากนั้นก็โดยเชื้อที่อาศัยเกาะกินอยู่กับเศษซากพืชที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ตามดิน และโดยน้ำที่ไหลผ่านดินที่มีเชื้อปะปนอยู่

การเข้าสู่พืชส่วนใหญ่จะเข้าทางแผลที่ราก โดยเฉพาะต้นกล้าที่ถูกถอนจากแปลงเพาะเพื่อนำไปปลูกในแปลงใหญ่ แผลของรากที่ขาดจะเป็นช่องทางที่ทำให้เชื้อเข้าไปภายในต้นได้ง่ายและเร็วขึ้น นอกจากนั้นก็อาจเป็นแผลที่เกิดจากแมลง หรือสัตว์บางชนิดเช่นไส้เดือนฝอย หรือแผลที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยพรวนดิน กำจัดวัชพืชเหล่านี้ล้วนเป็นช่องทางให้เกิดโรคได้ง่ายทั้งสิ้นหลังจากเชื้อเข้าไปในพืชแล้วก็จะเข้าไปอาศัยอยู่ในท่อ vascular แล้วเจริญอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดการทำลาย และเน่าขึ้นกับ tissue ดังกล่าว ประมาณ 2-3 วัน พืชก็จะแสดงอาการให้เห็นระยะเวลาที่แตกต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับอายุพืชปริมาณเชื้อ ความง่ายหรือยากของพืชที่จะเกิดโรค สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรดเป็นด่าง และปริมาณแร่ธาตุอาหารในดินดังกล่าวแล้ว

การป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัดหรือลดความเสียหายโรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากแบคทีเรียอาจทำได้โดยวิธีต่างๆ กันดังนี้คือ

1. งดปลูกพืชลงในดินที่เคยเป็นโรคอย่างน้อย 6 ปี

2. กล้ามะเขือเทศควรเพาะในดินที่เตรียมอย่างดี ที่ปลอดโรคและฆ่าเชื้อแล้วและถ้าต้องการให้ปลอดจากโรค หรือเข้าทำลายของเชื้อ ควรเพาะกล้าในกะบะทรายหรือขี้เถ้าแกลบ เมื่อจะย้ายไปปลูกก็ใช้วิธีล้างออกด้วยน้ำ รากจะถูกทำลายหรือขาดน้อยกว่าเพาะในดินโดยตรง

3. เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ หากไม่แน่ใจก็ให้ฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดเสียก่อนโดยจุ่มแช่นํ้าอุ่น 49-50°ซ. นาน 25 นาที

4. ควรปลูกมะเขือเทศในแปลงที่ยกเป็นร่องเพื่อไม่ให้มีน้ำขังและการระบายน้ำดีและให้มีความอุดมสมบูรณ์ อย่าปล่อยให้ขาดปุ๋ยและธาตุอาหารจำเป็นโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน

5. ปรับสภาพดินให้เป็นด่าง หรือเป็นด่างเล็กน้อย โดยการเติมปูนขาวหรือปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดินมากๆ เพื่อไม่ให้มีสภาพเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ

6. ฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่อาจมากัดทำลายต้นและรากมะเขือเทศ หลีกเลี่ยงการปลูกมะเขือเทศในดินที่มีไส้เดือนฝอยระบาด

7. ปลูกมะเขือเทศโดยใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคแม้ในปัจจุบันจะยังไม่ปรากฏว่ามีผู้สามารถผลิตพันธุ์มะเขือเทศที่มีความต้านทานต่อโรคนี้ได้ผล 100% แต่ก็อาจมีพันธุ์ที่เสียหายน้อย วิธีที่ดีที่สุดคือการคัดและเก็บพันธุ์เอง โดยคัดเลือกเมล็ดจากต้นที่ไม่แสดงอาการของโรคหรือเสียหายน้อยที่สุด

นอกจากนั้นปรากฎว่าเชื้อ P. solanacearum เป็นเชื้อที่ค่อนข้างไว (sensitive) ต่อสารพวกกำมะถันมาก เหตุนี้การป้องกันกำจัดโรคอีกวิธีหนึ่งจึงอาจทำได้โดยการเติมสารกำมะถันลงในดินปลูกที่เคยมีโรคเกิดขึ้น โดยใช้ในอัตราส่วน 150 – 160 กก. ต่อไร่ทันทีที่เก็บเกี่ยวผลแล้วเชื้อที่มีอยู่ในดิน เมื่อถูกกับกำมะถันก็จะตายหมดแต่กำมะถันจะมีการโน้มนำให้เกิดกรดขึ้นในดิน ดังนั้นเมื่อจะปลูกพืชลงไปในดินนั้นใหม่ จึงต้องแก้ความเป็นกรดของดินให้กลับเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อยโดยเติมปูนขาวลงไปในปริมาณ 500 – 600 กก. โดยทำอย่างน้อย 1 เดือนหรือ 30 วันก่อนปลูก วิธีนี้อาจจะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ก็นับว่าได้ผลดี