โรคพืชที่เกิดจากริคเคทเซีย

Rickettsialike Bacteria Diseases
ริคเคทเซีย สาเหตุโรคพืชพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1972 ใน phloem ของโรค clover club leaf disease ต่อมาพบทำให้เกิดโรค Pierce’s disease of grape and alfalfa dwarf, phony disease of peach โรคแคระแกรนของอ้อยตอ และโรคของธัญญพืชต่างๆ นอกจากนี้ ยังพบจุลินทรีย์ที่มีลักษณะคล้ายกับเชื้อสาเหตุดังกล่าว กับโรค plum leaf scald, almond leaf scorch และโรคอื่นๆ บางโรคอีกด้วย
จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชนี้ นักวิจัยส่วนมากเชื่อว่าเป็นปรสิตถาวร มีลักษณะใกล้ชิดกับริคเคทเซียมากจึงเรียกว่า rickettsiae or rickettsiaelike organisms (RLO) และจากการศึกษาลักษณะต่างๆ แล้ว เข้าใจว่าเป็นบักเตรีที่เป็นปรสิต ซึ่งอาจพบเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อยาก หากไม่ใช่เป็นเซลของพืชอาศัย ริคเคทเซียเป็นจุลินทรีย์ class หนึ่งของ Prokaryote ซึ่ง nucleus ไม่มีเยื่อหุ้ม โดยแตกต่างไปจาก class ที่เป็นบักเตรี เนื่องจากริคเคทเซียเป็นปรสิตถาวรในเซลของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มี nuclei ตามปกติ และแตกต่างจากมายโคพลาสมา ที่มีผนังเซล
การจำแนกและจัดหมวดหมู่
Class II : Rickettsias แบ่งเป็น 2 orders
1. Order Rickettsiales มีรูปร่างเป็นท่อนเป็นส่วนมาก กลม (coccoid or spheroidal) หรือ รูปร่างไม่แน่นอน (pleomorphic) มีผนังเซล ไม่มี flagella แกรมลบ ทวีจำนวนโดยแบ่งจากหนึ่งเป็นสองเซล ภายในเซลที่อาศัยอยู่
2. Order Chlamydiales มีรูปร่างกลม แกรมลบ ไม่เคลื่อนที่ ทวีจำนวนใน cytoplasm ของเซลที่อาศัยอยู่ วงจรของการเจริญเติบโต เริ่มจาก elementary body (0.2 – 4 µ ) ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคได้ initial body (0.2 – 0.4 µ ) ซึ่งมีผนังบางคล้ายร่างแห แล้วแบ่งตัวได้ intermediate body เจริญเติบโตใหม่ต่อไป ริคเคทเซียที่อยู่ใน order นี้มีปฏิกิริยาไวต่อเตตราไซคลิน เพนนิซิลิน และ 5 – fluorouracil
ริคเคทเซีย order Rickettsiales มีลักษณะคล้ายบักเตรีมาก ที่มีรูปร่างเป็นท่อน หรือ กลม หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน ขนาดประมาณ 0.2 – 0.8 X 0.8 – 2.0 µ และก่อนการแบ่งตัวอาจยาวถึง 4.0 µ ผนังเซล มีลักษณะคล้ายของเซลบักเตรี โดยมีเยื่อหุ้ม cytoplasm และผนังเซลเห็นได้ชัดเป็นบางส่วน (rippled cell wall) ไม่มี flagella แบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสองเซล แกรมลบโดยทั่วไปทวีจำนวนในเซลอื่นที่มีชีวิต อย่างไรก็ตาม บางเซลแม้มีลักษณะแตกต่างออกไป เช่น รูปร่างเป็นวง (ring – shaped) หรือมี flagella หรือแกรมบวก หรือสามารถเจริญทวีจำนวนในอาหารที่ใช้เลี้ยงบักเตรีได้ ก็ยังจัดว่าเป็นริคเคทเซีย บางชนิดพบเป็นปรสิตของคน arthropods และสัตว์อื่นที่มีกระดูกสันหลัง และไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ร่วมกับแมลงในลักษณะอาศัยซึ่งกันและกัน ริคเคทเซีย ส่วนมากถ่ายทอดได้ด้วยพวก arthropods เช่น เหา หมัด เห็บ และไร บางชนิดเจริญเฉพาะใน cytoplasm, nuclei และใน vacuole ของเซลที่อาศัยอยู่
จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทัศน์อีเลคตรอน พบว่าในเซลบริเวณส่วนปลาย และภายในโดยรอบมีลักษณะทึบแสงอาจเป็นเพราะมี ribosome อยู่ใน cytoplasm ของเซลเต็ม ส่วนตรงกลางเซลมีส่วนที่โปร่งแสงอยู่นั้น อาจเป็น DNA strand ริคเคทเซียเจริญได้ดีที่สุดอุณหภูมิ 32 – 35 °ซ. การเจริญสามารถยับยั้งได้ด้วย p – aminobenzoic acid และปฏิชีวนะสารหลายชนิด ยกเว้น sulfonamides ปฏิชีวนะสารที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด คือ oxytetracycline, chlorotetracycline , erythromycin and chloramphenical ส่วนเพนนิซิลิน และสเตรพโตไมซิน ให้ผลน้อยกว่าปฏิชีวนะสารอื่นๆ
ริคเคทเซียสาเหตุโรคพืช มีลักษณะคล้ายริคเคทเซียทั่วไปทางด้าน รูปร่าง ขนาด ผนังเซลที่ขาดวิ่น เห็นชัดเพียงบางส่วน ไม่มี flagella ต้องเจริญเติบโตภายในเซล และไม่สามารถเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ ที่เตรียมขึ้นตามปกติ ส่วนพาหนะนำโรคพบว่าเป็นเพลี้ยจั๊กจั่น แมลงได้รับเชื้อจากพืชที่เป็นโรค ต้องใช้เวลาดูดกินไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง และเชื้อต้อฟักตัวอยู่ในแมลง ตั้งแต่ 2 – 3 วัน ถึง 2 – 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถถ่ายทอดโรคไปยังต้นอื่นๆ ได้ โดยเชื้อทวีจำนวนอยู่ภายในส่วนต่างๆ ได้ตลอดชีวิตของแมลง และปรากฏว่าโรค club leaf of clover เชื้อสามารถถ่ายทอดไปยังลูกผ่านทางไข่ได้ (transovarial transmission)
ริคเคทเซียสาเหตุของโรค Pierce’s disease of grape, almond leaf scorch, phony peac, plum leaf scald และแคระแกรนของอ้อยตอ พบเชื้ออยู่ในท่อ xylemvessels ส่วนเชื้อของโรค


ภาพริคเคทเซีย สาเหตุโรค Pierce’s disease ขององุ่น A) การแบ่งเซลของริคเคทเซีย สาเหตุโรค (x 47,000) และ B) ใน xylem ขององุ่นที่เป็นโรค (x 6,900) ที่มา : Milholland el al., 1980
club leaf of clover และโรคอื่นๆ ส่วนมากพบใน phloem sieve elements
ปัจจุบันธรรมชาติของเชื้อยังไม่ทราบแน่ชัด เชื้อที่พบเป็นสาเหตุโรคของพืชต่างๆ นั้น อาจเป็น species เดียวกัน หรือต่าง species กันก็ได้ โรค Pierce’s dissase of grape, almond leaf scorch และ phony peach อาจมีเชื้อสาเหตุเป็น species เดียวกัน หรืออาจเกี่ยวข้องกันใกล้ชิดมากเพราะมีแมลงพาหะ เป็นเพลี้ยจั๊กจั่นเหมือนกัน
การควบคุมโรค
1. การฉีดพ่นด้วย เพนนิซิลิน หรือ tetracycline hydrochloride ว่าในระหว่างการใช้ยากับโรค club leaf of clover นั้น อาการของโรคลดน้อยลง แต่อาการจะคืนกลับอย่างเดิม เมื่อหยุดใช้หรือยาหมดฤทธิ์
2. การทำให้รากขององุ่นเปียกชุ่มด้วยสารละลายของ oxytetracycline หรือ tetracycline hydrochloride สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้งเป็นประจำ ปรากฏว่าไม่สามารถควบคุมโรค Pierce’s disease ทำให้พืชไม่มีอาการเกิดโรคขึ้นได้นานประมาณ 2 ปี
3. พืชที่เป็นโรคจะปราศจากเชื้อหากแช่พืชในนํ้าอุ่นอุณหภูมิ 45 – 49 °ซ. หรืออบด้วยไอร้อนแห้ง 50 – 55° ซ เป็นเวลา 2 – 3 ชั่วโมง
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช