อาการโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย

ความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยกับจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชอื่น (Interrelationships between nematodes and other plant pathogens)
ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชมีชีวิตอยู่ในดิน โดยในดินนั้นย่อมมีเชื้อรา บักเตรี วิสาที่แต่ละชนิดก็เป็นสาเหตุของโรคพืชอยู่ด้วยการที่ไส้เดือนฝอยที่เป็นสาเหตุของโรคพืชอยู่ร่วมกับจุลินทรีย์อื่นดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุที่ซับซ้อนต่อการทำให้พืชเป็นโรคได้มากขึ้นกว่าจุลินทรีย์แต่ละชนิดเป็นสาเหตุโดยลำพัง
ความสัมพันธ์ของไส้เดือนฝอยกับโรคเกิดจากเชื้อรา
มีกลไกที่เกียวข้องต่อการเกิดโรค และความรุนแรงของโรค ดังนี้
1. ไส้เดือนฝอยเข้าทำลายพืชด้วยการแทงผ่านทำให้เกิดแผล เชื้อราเข้าทำลายง่ายขึ้นพืชมีปฏิกริยา ต้านทานโรคต่อเชื้อราน้อยลง เพราะพบกลุ่มเส้นใยอยู่ในส่วนของพืชที่เป็นโรคเกิดจากไส้เดือนฝอยมากกว่า พืชที่เป็นโรคโดยไม่มีไส้เดือนฝอยเป็นสาเหตุร่วมอยู่ด้วย
2. ไส้เดือนฝอยทำให้สารที่ไหลซึมออกจากเนื้อเยื่อของพืชอาศัยเปลี่ยนแปลง เนื่องจากระบบ metabolism ถูกรบกวน(ปกติสารที่ไหลซึมออกทางรากเป็นกรดอินทรีย์น้ำตาลต่างๆ polysaccharides,-amino acid nucleotides และ flavonones) ไส้เดือนฝอยรากปมทำให้สารแตกตัวออกมาจากปมรากพืชที่เป็นโรคมากขึน จึงมีผลโดยตรงต่อการชักนำเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคอื่นๆ มายังรากมากขึ้น ตลอดจนเชื้อราที่ยังอยู่ในรยะฟักตัว ก็จะได้รับการกระตุ้นจากสารดังกล่าว ให้เข้าทำลายรากซ้ำเติมอีก นอกจากนี้ยังพบด้วยว่ารากบางส่วนของต้นสะระแหน่ที่มีไส้เดือนฝอย Pratylenchus sp. เป็นปรสิตอยู่สามารกทำให้ปกติที่เหลือสามารถชักนำให้เชื้อรา Verticillium เข้าทำลายรากนั้นได้ด้วย จากการศึกษาพบว่าน้ำคั้นของพืชอาศัยที่มีไส้เดือนฝอย ปรสิตเป็นนี้ กระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เลี้ยงไว้ได้ดีกว่านํ้าคั้นจากต้นไม่เป็นโรคอีกด้วย
3. ไส้เดือนฝอยหลายชนิดกินเชื้อรา เช่น Aphelenchus avenae สามารถป้องกันการอยู่ร่วมกัน mycorrhizae ที่รากพืช โดยไส้เดือนฝอยทำลายรากทำให้ไม่มีรากพืชเป็นที่อาศัยเพื่ออยู่ร่วมกับเชื้อรา หรือ ไส้เดือนฝอยกินเชื้อรา ขัดขวางการอยู่ร่วมกับรากพืช และรา mycorrhizae นี้ยังสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อราสาเหตุโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายรากพืช ยกเว้นไส้เดือนฝอยศัตรูพืช
ความสัมพันธ์ของไส้เดือนฝอยกับโรคเกิดจากบักเตรี มีกลไกที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 แบบ คือ
1. ไส้เดือนฝอย ช่วยให้พืชติดเชื้อบักเตรี โดยการทำแผลให้ หรือช่วยยับยั้งการเจริญของโรค
2. ไส้เดือนฝอยและบักเตรีที่เป็นสาเหตุร่วมในพืชอาศัยเดียวกันสามารถทำให้พืชมีอาการโรคแตกต่างไปจากโรคที่เกิดจากเชื้อใดเชื้อหนึ่งโดยลำพัง เช่น โรคของสตรอเบอรี่ เมื่อมีไส้เดือนฝอย Aphelenc- hoides ritzemabosi และบักเตรี Corynebacterium fasciens เป็นสาเหตุร่วมกันแล้ว ใบจะมีอาการคล้ายดอกกะหล่ำ แต่ถ้าพืชเป็นโรคเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งแยกกันแล้ว ใบจะแคบเรียว หรือเป็นพุ่ม ไม่เจริญเต็มที่ สำหรับความแตกต่างของโรคระหว่างเชื้อทั้งสองชนิดนั้น โรคที่เกิดจากบักเตรีจะแสดงอาการผิดปกติ ให้เห็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
3. การเกิดสารพิษในธัญญพืชที่เป็นโรคและมีอันตรายต่อสัตว์นั้นต้องมีไส้เดือนฝอยและบักเตรี เป็นสาเหตุร่วมกัน บักเตรีจึงจะสร้างสารพิษได้ ได้แก่ไส้เดือนฝอย Anquina sp. ซึ่งทำให้เกิดปุ่มปมโดยมีบักเตรีเป็นสาเหตุร่วมสร้างสารพิษ เป็นอันตรายต่อแกะ วัว ควาย ที่บริโภคในประเทศออสเตรเลีย
ความสัมพันธ์ของไส้เดือนฝอยกับวิสาสาเหตุโรค ไส้เดือนฝอยเป็นพาหะในการถ่ายทอดวิสาสู่พืช ไส้เดือนฝอยที่เป็นพาหะมี Xiphinema, Longidorus และ Trichodorus ซึ่งสามารถถ่ายทอดวิสาบางชนิดได้ หลังการดูดกินพืชที่เป็นโรคเกิดจากวิสาแล้วเป็นเวลาหนึ่งวันหรือมากกว่า และอยู่ในไส้เดือนฝอย เป็นเชื้อก่อโรคได้นานถึง 2 – 4 เดือน โดยไส้เดือนฝอยซึ่งต้องถ่ายทอดวิสาในระยะตัวอ่อนหรือตัวแก่ แต่ยังไม่ทราบว่าวิสาจะถ่ายทอดจากตัวอ่อนระยะใดไปสู่ตัวแก่ซึ่งต้องผ่านการลอกคราบหรือการถ่ายทอดจากตัวแก่ไปหาไข่แล้วไปสู่ตัวอ่อน ส่วนการถ่ายทอดของวิสาที่ต้องอาศัยไส้เดือนฝอยเป็นพาหะเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่มีรายงาน เท่าที่ทราบวิสาที่ถ่ายทอดด้วยไส้เดือนฝอยนั้น สามารถทำให้พืชเป็นโรคได้ด้วยนํ้าคั้นจากตัวอย่างพืชที่เป็นโรคเกิดจากไส้เดือนฝอยทาเพียงเบาๆ เท่านั้น
การที่ไส้เดือนฝอยเป็นพาหะของวิสาได้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะต่างๆ ทางสรีระวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ของไส้เดือนฝอยแต่ละสกุล
อาการโรคเกิดจากไส้เดือนฝอย
พืชที่เป็นโรคเกิดจากไส้เดือนฝอย มีอาการของโรคให้เห็นที่ราก และส่วนต่างๆ ของต้นที่อยู่เหนือดินได้ดีเช่นเดียวกันอาการที่พบที่รากเป็นอาการในลักษณะ hypertrophy, necrosis การเจริญเติบโตผิดปกติ และอาการที่มีรายละเอียดดังนี้
1. รากเป็นปุ่ม ปม (root knots or root galls) รากบวม ขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากไส้เดือนฝอยดูดกิน โดยอาจจะอยู่ภายใน การบวม โป่ง นี้อาจจะมีขนาดแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 0.1 – 2.0 ซม.
2. รากแผล (root lesions) เป็นส่วนรากที่เซลถูกทำลายเนื่องจากไส้เดือนฝอยดูดกิน แผลอาจมีขนาดตั้งแต่จากเกือบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และแผลอาจเกิดโดยรอบทั้งรากได้
3. รากแตกแขนงมากกว่าปกติ (excessive root branching) รากแตกแขนงมากกว่าปกติ อันจะมีผลทำให้เกิดรากด้านข้างมากและสั้น
4. ปลายรากถูกทำลาย (injured root tips) โดยไส้เดือนฝอยดูดกินที่ปลายรากหรือใกล้ปลายราก ทำให้รากกุด ชงักการเจริญ แต่ขนาดใหญ่ขึ้นหรือส่วนประกอบของรากหลุดแยกกัน
5. รากเน่า (root rot) หลังจากไส้เดือนฝอยเข้าทำลายรากแล้ว เชื้อราหรือบักเตรีทั้งที่เป็นสาเหตุโรคหรือเป็น saprophyte จะเข้าซ้ำเติมทำให้รากเน่า
อาการที่เกิดกับรากดังกล่าวจะมีผลให้เกิดอาการที่ส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินตามมาโดยเริ่มจากการเจริญเติบโตลดลงใบเริ่มเหลือง พืชจะเหี่ยวในขณะที่อากาศร้อนหรือแห้ง ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ
ไส้เดือนฝอยบางชนิดจะทำลายพืชส่วนที่อยู่เหนือดินมากกว่าที่ราก ทำให้เกิดปมแผลมีลักษณะ necrosis เน่า ใบและลำต้น บิดเบี้ยว ช่อดอกเจริญผิดปกติ ไส้เดือนฝอยที่เข้าทำลายเมล็ด เมล็ดจะบวมเป็น ก้อนเต็มไปด้วยไส้เดือนฝอย
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช