โรครากบวมของพืชตะกูลกระหล่ำ

(Clubroot of crucifers)
โรครากบวมของพืชตระกูลกระหลํ่า เช่น กระหลํ่าปลี และกระหลํ่าดอก พบระบาดแพร่หลายทั่วไป ในประเทศต่างๆ ของทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะพันธุ์ที่อ่อนแอ หากปลูกในดินที่มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว
อาการโรค พืชที่เป็นโรคใบอาจมีสีเขียวอ่อนจนถึงเหลืองพืชจะเหี่ยวในเวลากลางวัน ขณะที่แสงแดดร้อนจัด แล้วพืชจะฟื้นสู่สภาพปกติในเวลากลางคืน หรือเมื่อแสงแดดอ่อนในตอนเช้าและเย็นพืชเริ่มแคระแกรนการเหี่ยวจะรุนแรงจนพืชไม่สามารถฟื้น โดยพืชที่อายุน้อยจะตายในเวลาสั้นหลังจากพืชเป็นโรค อาหารของพืชที่ราก และลำต้นใต้ดิน รากจะบวมเป็น ก้อน ปม ปลายแหลมมน มีขนาดตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ กลมหรือคล้ายกระบอง ต่อมารากอาจเปื่อยผุไปก่อนสิ้นฤดูเพาะปลูก เนื่องจากจุลินทรีย์ในดินเข้าทำลายซํ้าเติม


ภาพแสดงวงจรของโรครากบวมของพืชตระกูลกระหลํ่า เกิดจาก Plasmodiophora brassicae (ที่มา: Agrios1978)
เชื้อสาเหตุโรค : Plasmodiophora brassicae
Plasmodium ให้กำเนิด zoosporangia หรือ resting spores แล้ว resting งอกให้ zoospores ซึ่ง zoospore นี้สามารถแทงผ่านเข้าสู่พืชทางรากขนอ่อน เจริญอยู่ภายในรากเป็น plasmodium ภายใน 2-3 วัน Plasmodium ที่มี nucei มากมาย แต่ละ nucleus จะถูกห้อมล้อมด้วย protoplasm และมีเยื่อหุ้มแยกส่วนออกเป็น zoospcrangium แล้ว zoosporangia แตกปล่อย specondary zoospores ออกมาจากพืชอาศัยโดยผ่านทางผนังเซลพืชที่ถูกทำลาย แต่ละ zoosporangium นั้นสร้าง zoospores ได้ 4-8 อัน Zoospores บางเซลอาจจับคู่รวมกันเป็น zygote ที่สามารถเข้าทำลายพืชได้อีก แล้วไปเจริญเป็น plasmodium ในเซลพืชอาศัยใหม่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นresting apores ตกลงดินเมื่อผนังเซลพืชอาศัยถูกทำลายด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เข้าซ้ำเติมภายหลัง
วงจรของโรค Plasmodium ที่เกิดจากการเจริญของ secondary zoospores จะแทนผ่านเข้าทำลายเนื้อเยื่อรากที่ยังอ่อนอยู่โดยตรงทำให้ plasmodium เข้าไปใน cortical cell ถึง cambium ของพืชอาศัย และยังสามารถเข้าทำลายรากที่ใหญ่หนาและลำต้นใต้ดินโดยผ่านทางแผลได้อีกด้วย ทำให้ plasmodium กระจายไปใน cortex, xylem และ medullary rays รากจะมีรูปร่างคล้ายกระบอง แต่ป่องตรงกลาง (spindleclub shaped)
Plasmodium ไปกระตุ้นให้เซลพืชที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และแบ่งตัวมากกว่าปกติ (hypertrophy and hyperplasia) ทำให้เซลที่เป็นโรคนี้ใหญ่กว่าเซลปกติถึง 5 เท่า สารกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากเชื้อนี้สามารถซึมเข้าไปในเซลข้างเคียงทำให้พืชเป็นโรค เซลใหญ่กว่าปกติ ก่อนที่เชื้อสาเหตุจะเข้าไปถึง และเซลที่เชื้ออยู่นี้มีสัดส่วนขนาดคงที่ประมาณ 30% ของเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรคทั้งหมด เชื้อไปใช้อาหารที่พืชต้องการตามปกติ และยังไปรบกวนการดูดซึมและการเคลื่อนย้ายอาหารของระบบราก ทำให้พืชแคระแกรน และส่วนของพืช เหนือระดับดินมีอาการเหี่ยวเฉา
การควบคุมโรค
1. ไม่เพาะปลูกพืชตระกูลกระหลํ่า ในไร่ที่มีเชื้อนี้อยู่ก่อนแล้ว
2. หากจำเป็นต้องเพาะปลูกในไร่ที่มีโรคนี้ระบาดมาก่อนไร่ต้องมีระบบการระบายน้ำที่ดี : ปรับปรุงดินให้เป็นด่างเล็กน้อย มี pH ประมาณ 7.2 โดยการใส่ปูนขาว
3. อบดินฆ่าเชื้อในแปลงเพาะกล้าด้วย chloropicrin, methyl bromide, DMTT, SMDC และ MITC ก่อนปลูกพืชประมาณ 2 สัปดาห์ และต้นกล้าควรจุ่มในน้ำยา benomyl หรือ PCNB ก่อนปลูก และหลังปลูกแล้ว 1 เดือนราดด้วยนํ้ายานี้อีกครั้งหนึ่ง
4. การใช้พันธุ์ต้านทานโรคปลูก แต่ต้องเปลี่ยนไม่ใช้นานเกิน 3 ปี เพราะเชื้อปรับตัวเองได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถทำให้พืชกลายเป็นโรครุนแรงขึ้นมาอีก
Phycomycetes
Phycomycetes เป็นราที่มีโครงสร้างระยะการเติบโตเป็นเส้นใยที่กลมหรือเป็นเส้นยาว ไม่มีผนังกั้นความขวาง มีอผู่ 3 subclasses คือ

ภาพอาการโรคเกิดจากรา Phycomycetes เป็นสาเหตุ(ที่มา Agrios,1978)

1. Chytridiomycetes ราทีสร้าง zoospores ไม่มีเส้นใยเหมือนปกติ มีลักษณะกลมและรูปร่างไม่แน่นอน เรียกว่า rhizomycelium โดยอาศัยอยู่ในเซลของพืชอาศัย เมื่อเจริญโตเต็มวัยแล้ว จะเปลี่ยนไปเป็น resting spores ทีมีผนังหนา หรือเรียกสปอร์นี้ว่า sporangia ซึ่งให้กำเนิด zoospores ติดไป เช่น โรคกาบใบจุดสีน้ำตาลของข้าวโพด
2. Oomycetes ราที่สร้าง zoospores มีเส้นใยยาว มี oospores ที่ได้จากการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ เป็นราที่อาศัยอยู่ในดิน เข้าทำลายพืชเหนือผิวดินเป็นส่วนมาก โดยต้องการน้ำที่ผิวพืชและความชื้นของ บรรยากาศสูง เช่นโรคโคนเน่า และรากเน่าต่างๆ โรคราน้ำค้าง เป็นต้น
3. Zygomycetes ราที่เส้นใยเจริญได้ดีไม่มีผนังกั้นตามขวาง สร้างสปอร์แบบเคลื่อนที่เองไม่ได้มี resting spores เป็น zygospores ที่ได้จากการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ ด้วยการรวมกันของ gamete ที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นราที่เป็น saprophyte ทั่วไป และทำให้เกิดโรคแก่พืชในลักษณะของเน่าเละแก่ผักและผลไม้ต่างๆ
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช