โรคราทำลายไม้เกิดจาก Basidiomycetes

ไม้ที่ยังเป็นต้นมีชีวิต ซุง ไม้แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป มักได้รับความเสียหายจากเชื้อรา ในปีหนึ่งอย่างมากมาย ตั้งแต่ต้นเล็กถึงต้นแก่ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ต่างๆ เชื้อราทำให้ไส้กลางของราก ลำต้น กิ่งก้านเน่า ผิวนอกของไม้ผุเพราะเชื้อราทำลาย หากความชื้นเหมาะสมแผลใหญ่หรือรอยตัว จะเปลี่ยนสี ผุ และลามเข้าเนื้อไม้โดยรอบ และอาจเป็นทั้งต้น ทำให้ไม้มีราคาตํ่า

เชื้อราที่ทำให้ไม้เน่า ผุ จะเป็นเชื้อราที่สามารถย่อยส่วนประกอบของผนังเซลไปใช้เป็นอาหารและให้พลังงาน โดยย่อย polysaccharides ต่างๆ เช่น cellulose และ hemicellulose เหลือแต่ lignin ที่ราไม่สามารถย่อยไว้ ทำให้ไม้เน่าเป็นสีน้ำตาล แตกร้าว และอาจเห็นคราบของเชื้อราสีขาวในลักษณะของ white-rot โรคของไม้นี้นอกจากเกิดจาก Basidiomycetes แล้ว อาจเกิดจากรา Ascomycetes และ Deuteromycetes บางชนิดได้ เช่น Daldinia, Hypoxylon, Xylaria และ Alternaria, Bisporomyces, Diplodia, Paecilomyces ตามลำดับ

เชื้อสาเหตุโรค
Armillaria mellea สาเหตุโรคที่ทราบดีในชื่อ shoestring root rot, mushroom root, rot crown rot หรือ oak root fungus disease โดยอาการโรคคล้ายโรครากเน่าทั่วไป เช่น การเจริญเติบโตลดลง กิ่งตายลักษณะแบบ die-back ต้นอาจตายทีละน้อยหรือทันที โรคจะแพร่ไปยังต้นข้างเคียงเป็นรัศมีโดยรอบ โรควินิจฉัยได้ง่ายโดยจะเห็นเชื้อราเจริญที่เปลือกซึ่งผุตามรากและโคนต้น มีสีขาว เป็นเส้นใยของราที่เจริญเป็นแผ่นคล้ายพัด (fan-shaped mycelial mats) เชื้อจะเจริญแพร่ไปที่ phloem และ cambium ของลำต้นไม้บางชนิดได้ ทำให้เกิดสีน้ำตาลแดง-ดำ เชื้อนี้อยู่ในดินของป่า

Fomes spp. เช่น F. annosus สาเหตุโรคไส้เน่ากับไม้ซุงมีชีวิตอยู่ได้นานในแบบ saprophyte บนต้นที่เน่าตายแล้ว มี sporophores รูปร่างไม่แน่นอน (irregular-shaped conks) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2 ซม.ขึ้นไป มีผิวด้านบนสีเทา-น้ำตาล ส่วนด้านล่างสีขาว-น้ำตาลอ่อน เชื้ออาจทำลายราก ผุ ตาย อย่างรวดเร็ว มีสีแดงที่โคนต้น ส่วนภายในไม้มักมีสีชมพู-ม่วง ในระยะแรกแล้วเปลี่ยนเป็นขาวเหลืองในระยะต่อมา

Polvporus spp. สาเหตุโรคเน่าของไม้ซุง บาง species ทำลายต้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้รากเน่า ไส้ของลำต้นเน่า ผุ มีอาการ canker

Poria spp. สาเหตุโรครากเน่า บวมพอง และทำลายไม้ซุงที่เก็บไว้

Ganoderma spp. สาเหตุทำให้ไม้เน่าเป็นจุดสีขาว

Stereum spp. ทำให้ไม้มีใบสีขาวคล้ายเงิน ลำต้น และกิ่งก้านภายในผุ

Peniophora spp. ทำให้ไม้ซุงและไม้ทำกระดาษต่างๆ ผุ

Lenzites spp. ทำให้ไม้เน่าสีน้ำตาล ผุ

Pholiota spp. ทำให้ไม้เน่าสีน้ำตาล

Pleurotus spp. ทำให้ไม้เน่าสีขาว


ภาพแสดงโรคราทำลายไม้แสดงลักษณะ sporophores และของเชื้อที่เกิดดอกเห็ด

b=basidium, bc = basidiocarp, bs = basidiospore, g = gill, hg = hymenial gills, hp = hymei pore, m = เส้นใย, cs = ตัดตามขวาง (ที่มา : Agrios, 1978)

Schizophyllum spp. ทำให้ไม้เน่าสีขาว
เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายไม้ทางแผล กิ่งที่ตายแล้ว หรือรากที่ได้รับความเสียหาย ในรูปของเส้นใย และการงอกของ basidiospores  แล้วเจริญลุกลามเข้าไปในไส้ของต้น เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนสี เชื้ออาจลุกลามขึ้นส่วนบนหรือลงล่างของต้น เกิด sporophores ของเชื้อใกล้แผลที่เชื้อเข้าทำลายลักษณะเป็นดอกเห็ด มี gills ซึ่งเป็น basidium ให้กำเนิด basidiospores แพร่ไป

การควบคุมโรค
การควบคุมไม่ให้ไม้เป็นโรคและผุเน่าเปื่อยในป่านั้น ย่อมทำไม่ได้ แต่สามารถลดความเสียหายได้ ด้วยวิธีปฏิบัติต่างๆ ดังนี้
1. วางแผนปฏิบัติต่างๆ ของการจัดการป่าให้ดีเพื่อลดโอกาส เชื้อให้เข้าไปทำลายต้นปกติได้น้อยลง
2. ระมัดระวังการตัดและชักลากไม้ ไม่ให้เกิดแผลแก่ต้นที่เหลือ เช่น ทำการชักลากไม้ในฤดูร้อนระบบรากของต้นที่เหลือจะไม่เสียหายเกิดแผลน้อยที่สุด
3. พยายามตัด แต่งกิ่ง ให้เกิดแผลน้อยที่สุด เช่นตัดตามแนวดิ่ง ตัดกิ่งที่ตายทิ้ง
4. ใช้สีทาแผล รอยตัดต่างๆ หรือกระตุ้นให้พืชสมานแผลได้เร็วขึ้นโดยการให้น้ำและใส่ปุ๋ยให้เหมาะสม


ภาพวงจรโรคราทำลายไม้ต่างๆ (ที่มา : Agrios, 1978)
5. การป้องกันไม้เปลี่ยนสี ทำได้โดยตาก อบไม้ให้แห้งก่อนเก็บ และอาบน้ำยาอินทรีย์ของปรอท หรือ chlorophenate ช่วย ซึ่งอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือร่วมกันก็ได้
6. ไม้ที่วางติดดินหรือพื้นมีความชื้นสูง ควรทาด้วยน้ำยารักษาไม้ creosote, pentachlorophenol, copper naphthanate หรือ zinc chromate
7. ต้นไม้ที่เป็นโรครากเน่า ควรขุดดินรอบต้นออกป้องกันการเจริญของ rhizomorphs ไปยังต้นข้างเคียง และอบฆ่าเชื้อดินที่ต้นไม้นั้นเป็นโรคตายไปแล้วก่อนปลูกแทน
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช