โรคราน้ำค้างขององุ่น

(Downy mildew of grape)
โรครานํ้าค้าง พบทั่วไปในแหล่งปลูกต่างๆ ที่มีความชื้นสูง เป็นโรคที่ระบาด ทำความเสียหายได้มาก โรคเกิดได้ทั้งที่ใบ ผล กิ่งก้านต่างๆ ทำให้เซลตาย ใบร่วง ผลผลิตคุณภาพตํ่า ต้นอ่อนแอและแคระแกรน ต้นอ่อนอาจตายได้ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม พืชอาจได้รับความเสียหาย 50-75 %
อาการโรค อาการเริ่มเป็นจุดสีเหลืองซีด ขนาดเล็ก โดยทั่วไปบนผิวใบด้านบน ส่วนด้านใต้ใบที่ตรงกันนั้น จะเกิด sporophores ของเชื้อ ต่อมาส่วนที่เป็นโรคจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเนื่องจากเซลตายขณะที่ sporophores ด้านใต้ขอบบริเวณที่เป็นโรคนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม แผลขยายใหญ่ขึ้น มีขนาดไม่แน่นอน อาจทำให้ใบร่วงได้
พืชที่ติดเชื้อขณะติดผล โรคจะเจริญได้รวดเร็ว ทำให้ตายได้ทั้งช่อของผล หากผลโตแล้วจึงติดเชื้อ เชื้อจะเจริญอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผลเป็นรอยย่นคล้ายหนังสัตว์และมีสีแดงหรือน้ำตาลเกิดขึ้น
การเกิดเชื้อของต้นอ่อน มือเกาะ ก้านใบ และก้านผล จะทำให้ต้นแคระแกรน เปลี่ยนรูป อาการแบบ hypertrophy เนื้อเยื่อที่เป็นโรคเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล และตายในที่สุด
เชื้อสาเหตุโรค: Plasmopara viticola
เชื้อราเป็นปรสิตแบบถาวร เส้นใยเจริญอยู่ระหว่างเซล มีขนาดไม่แน่นอน ตามขนาดของช่องว่างนั้น ประมาณ 1-60 µm เส้นใบส่ง haustoria รูปร่างแบบ globose เข้าไปในเซล
วงจรของโรค เชื้ออยู่ข้ามฤดูในรูปของ oospores ในเศษทรากพืชในบางท้องถิ่นอาจเป็นเส้นใบ ในส่วนของพืชที่เป็นโรคอยู่ เมื่อเข้าฤดูฝน oospores งอกเป็น sporangia ซึ่งให้กำเนิด zoospores ซึ่งทั้ง sporangia หรือ zoospores อาจปลิวไปตามลม น้ำที่ใบเปียกบริเวณใกล้ดิน การเข้าสู่พืชจะผ่านทางปากใบต้านใต้ใบ (primary infection) แล้วเจริญเป็นเส้นใยอยู่ระหว่างเซลพืช โดยได้รับอาหารผ่านทาง haustoria ที่ส่งเข้าไปในเซล เส้นใยเจริญกระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อของช่องว่างใต้ปากใบ รวมกันเป็นหมอนสร้าง sporangiophores โผล่ออกทางปากใบที่ด้านใต้ของใบ หรืออาจมีผ่านผิวใบออกมาโดยตรงบ้าง สวนที่ผล sporangiophores จะงอกผ่านทาง lenticel ที่ปลาย sporangiophore เกิด sporangia ที่ปลาย มีรูปร่างแบบผลมะนาว (lemon-shaped) สปอร์นี้เมื่อแก่หลุดปลิวไปตามลม หรือน้ำ sporangia งอกเป็น zoospores ว่ายน้ำได้ชั่วระยะหนึ่ง แล้วเข้า cyst งอกเป็น germ tube เข้าทำลายพืช เมื่อมีความชื้นเหมาะสมต่อไป Sporangia สามารถงอกโดยตรงเป็น germ tube ได้และสามารถเข้าทำลายพืชได้เช่นกัน (secondary infection) การเข้าทำลายพืชจะเข้าทางปากใบ หรือ lenticel ระยะเวลาตั้งแต่การติดเชื้อจนถึงสร้าง sporangia ใหม่ ประมาณ 5-18 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น และพันธุ์พืชอาศัย จนถึงปลายฤดูเชื้อสร้าง antheridium และ oogonium ผสมกัน (homothallic) ได้ oospore ซึ่งจะเกิดในส่วนของพืชที่เป็นโรค เช่น ใบแก่ อาจเป็นยอดและผลได้
การควบคุมโรค
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรคปลูก


ภาพวงจรของโรครานํ้าค้างขององุ่น (Plasmopara vilicola) ที่มา : Agrios, 1978)
2. ใช้สารเคมีควบคุมโรค ที่ให้ประสิทธิภาพสูง ได้แก่ยาบอร์โด ferbam, folpet และ captan โดยฉีดพ่นก่อนดอกบาน และใช้ติดต่อกันไป 7-10 วันครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของท้องถิ่น เช่น ระยะเวลาและจำนวนที่ฝนตก เป็นต้น
Zygomycetes
เชื้อราเป็นปรสิตพืชอย่างอ่อน ส่วนใหญ่เจริญเป็น saprophyte บนผลิตผลพืช พวกที่เป็นปรสิตจะเข้าทำลายพืชทางแผล หรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ต่อมาราเจริญเป็นเส้นใยเพิ่มขึ้นและสร้างเอนไซม์กระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้เซลถูกย่อยและตาย เชื้อจึงเข้าไปเจริญในเนื้อเยื่อ
รากลุ่มนี้เส้นใยยาว ไม่มีผนังกั้น ขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ โดยการเกิดสปอร์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ใน sporangium ซึ่งเรียกว่า sporangiospores และมีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศโดยการรวมกันของเซลเพศที่มีลักษณะคล้ายกันแต่ขนาดไม่เท่ากัน 2 เซล ได้ zygospore ชึ่งมีผนังหนา ทนทานต่อสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเป็น sporangium ที่ให้กำเนิด sporagiospores อยู่ภายใน
ราในกลุ่มนี้มี
1) Choanephora เข้าทำลายพืชที่ส่วนดอกของพืชหลายชนิดหลังจากผสมเกสรแล้ว หรือทำลายผล ทำให้เกิดอาการเน่าเละ
2) Rhizopus เป็นราขึ้นทำลายขนมปัง และสาเหตุโรคเน่าของผัก ผลไม้ เมล็ด ดอก หัว ฯลฯ เช่น R. artocarpi สาเหตุโรคเน่าดำของส่าขนุน เป็นต้น
3) Mucor เป็นราขึ้นทำลายขนมปัง ผลิตผลพืช เช่น มันเทศเน่า และ
4) Endogone เป็นเชื้อที่เจริญร่วมกับรากพืชเกิด mycorrhizae เป็นประโยชน์แก่พืช
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช