โรคราสนิม,โรคแอนแทรคโนส,โรคหนามดำ,โรคราสีเทาในกุหลาบ

3.  โรคราสนิม (rust)  โรคนี้มักจะเกิดกับกุหลาบในช่วงฤดูฝนเท่านั้น  ไม่ทำลายร้ายแรงมากนัก  มักจะเกิดกับใบแก่ โดยมีจุดสีส้มปรากฎอยู่ทางด้านบนของใบ  ถ้ามองผ่านไปทางใต้ใบจะเห็นเป็นจุดสีเหลือง  ถ้าเป็นมาก ๆ จะทำให้ใบเหี่ยวและร่วงหล่นไป ป้องกันโดยการฉีดพ่นยาที่มีส่วนผสมของกำมะถัน

4. โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) พบในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับโรคราสนิม  จะเกิดจุดสีน้ำตาลเป็นวงกลมขนาดประมาณ ¼ นิ้ว  วงนี้จะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวขอบสีม่วง เกิดกับใบอ่อนหรือกิ่งอ่อนป้องกันโดยมีโปรแกรม พ่นยากันราที่ใช้กับโรคอื่นๆ อยู่แล้ว

5.  โรคหนามดำ (brown canker) เกิดกับหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ  ตามกิ่งก้านทำให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด  ยาที่ฉีดพ่นป้องกันโรคราอื่น ๆ จะมีผลคุ้มครองโรคนี้ด้วย

6.  โรคราสีเทา (gray woldrot)  มักจะเกิดกับดอกกุหลาบในขณะที่ยังตูมอยู่  จะระบาดเฉพาะในที่ที่ มีอากาศเย็นและชื้นเท่านั้น เช่น ทางภาคเหนือ  ถ้ามีฝนตกในฤดูหนาว  หรือปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว จะเกิดโรคนี้กับกุหลาบ  ทำให้ไม่บานและเน่าไปในที่สุด

ในภาคกลางไม่พบโรคนี้  อาการที่เห็นเด่นชัดได้แก่ ราสีเขียวหม่นอมสีน้ำตาล  ขึ้นเป็นกระจุกหรือปกคลุมอยู่บนดอกตูม  โดยเฉพาะในตอนเช้าที่มีอากาศชื้น  จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เกิดจากเชื้อรา “ไบไทร์ทิส ซินเนอเรีย” (Botrytis cinerea) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกันกับที่ทำลายเบญจมาศสแนปดรากอน แกล็ดดิโอลัส  และเจอเรนเนี่ยน  ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วย เบนเลท