โรคเน่าเกิดจาก Phytophthora

เชื้อ Phytophthora ทำให้พืชเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะกล้าของผัก ไม้ดอกไม้ประดับ จนถึงไม้ผล และไม้ป่าที่โตเต็มที่แล้ว Species ส่วนมากเป็นสาเหตุของโรครากเน่า ลำต้นเน่า โคนเน่า โคนเน่าระดับดินจากกล้าพืช หัว บาง species เกิดที่ตา หรือผล และทำให้เกิดใบไหม้ ทำลายกิ่งก้าน และผล เชื้ออาจมีพืชอาศัยกว้างขวาง หรือเพียง 2-3 ชนิด แล้วแต่ species ของเชื้อ
โรคราก โคน และลำต้นเน่า อาการระยะแรกใบจะเหลืองซีด ใบร่วง กิ่งแห้งตายจากปลายกิ่งเข้าสู่ต้น พืชบางชนิดอาจออกดอกมากกว่าปกติ แต่จะไม่ค่อยเจริญ เนื่องจากพืชส่วนบนได้รับอาการและน้ำไม่เพียงพอ หากตากโคนหรือลำต้นที่เป็นโรค จะเห็นเนื้อเยื่อภายในของเปลือกมีสีน้ำตาล และอาจเน่าเป็นเมือกเยิ้ม โรคจะลุกลามไปรอบต้น แต่ไม่เข้าไปในเนื้อไม้ ส่วนอาการที่รากเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ผิวรากหลุดออกง่าย และเน่าเป็นสีน้ำตาล ต้นจะโทรม และตายอย่างรวดเร็ว
เชื้อสาเหตุโรค :
Phytophthora palmivora สาเหตุโรคราก และโคนเน่าของทุเรียน P. botryosa สาเหตุโรคใบร่วงของยางพารา
P. nicotianae var. parasitica สาเหตุโรครากเน่า โคนเน่าของส้ม
โรคใบร่วงของยางพารา โรคยอดเน่าและรากเน่าของสับปะรด โรคเน่าดำของกล้วยไม้ โรคผลเน่าของมะเขือยาว โรคโคนเน่าระดับดิน ใบไหม้ และผลเน่าของมะเขือเทศ
P. infestans สาเหตุโรคใบไหม้ของมันฝรั่ง มะเขือเทศ
P. fragariae สาเหตุโรครากและโคนเน่าของสตรอเบอรี่ ฯลฯ
เชื้อมีเส้นใยสีขาว แตกกิ่งก้าน สร้าง sporangia บน sporangiophores ในการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ โดยให้กำเนิด zoospores ภายใน และสร้าง oospore จากการผสมของ antheridium อวัยวะเพศผู้ และ oogonium อวัยวะเพศเมียซึ่งมีรูปแบบ globose
เชื้อราอยู่ข้ามฤดูในรูปของ oospores กับในรูปของเส้นใยที่อยู่ในพืชที่เป็นโรค เมื่อสภาพความชื้นเหมาะสมก็จะเกิด sporangia ให้ zoospores ที่เคลื่อนที่ในนํ้า หรือกระเด็นไปกับฝน แล้วไปงอกเข้าทำลายพืชต่อไป
การควบคุมโรค
1. ดินในสวน หรือแปลงปลูก ควรเป็นดินร่วน หากเป็นดินเหนียวต้องยกร่อง ให้มีการระบายน้ำที่ดี และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ ช่วย
2. การปลูกพืชเว้นระยะห่างพอสมควร เพื่อให้มีการระบายอากาศสะดวก ลดความชื้น ป้องกันการเกิดและระบาดของเชื้อ
3. ทำความสะอาดสวนหรือแปลงปลูก ตลอดจนฆ่าเชื้อราที่อาจติดมากับเครื่องมือ เครื่องใช้ด้วย clorox จุ่มหรือแช่
4. การติดแต่งกิ่งให้เหมาะสม จะช่วยให้บริเวณโคนต้นในสวนโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เช่น ทุเรียน ควรตัดแต่งให้กิ่งแตกแขนงสูงไม่ตํ่ากว่า 1.20 เมตร เป็นต้น การตัดแต่งกิ่งนี้สำคัญมาก จะช่วยทำให้ต้นสมบูรณ์ เกิดโรคยาก และให้ผลผลิตสูง
5. หากพบต้นที่เพิ่งเป็นโรค ควรเปิดปากแผลให้หมดแล้วใช้สารเคมีควบคุมโรคทา หากเป็น


ภาพวงจรโรคใบไหม้ของมะเขือเทศและมันฝรั่งที่เกิดจาก Phytophthora infestans (ที่มา : Agrios, 1978)
รุนเเรงควรขุดเผาและฆ่าเชื้อบริเวณดังกล่าวด้วย
6. สารเคมีที่ใช้ควบคุมโรค มียาบอร์โด captafol (เช่น DIFOLATAN 80), metalaxyl – copper oxychloride (RIDOMIL – PLUS) แล้วแต่พืชและจุดประสงค์ของการใช้
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช