โรคเน่าเละของผลไม้และผัก

(Rhizopus soft rot)
โรคนี้พบได้ทั่วไปกับผัก ผลไม้ ไม้ดอก หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ซึ่งอาจอยู่ในระหว่างการขนส่ง เก็บรักษา และวางจำหน่าย เช่น มันเทศ สตรอเบอรี่ ท้อ แตง ถั่ว ฯลฯ
อาการโรค เนื้อของส่วนที่เป็นโรคชํ้าชุ่มนํ้า ต่อมาความชื้นจะระเหยออกไปทีละน้อย จนผิวหดย่น หากส่วนเป็นโรคที่ชุ่มนํ้านั้นอยู่ในระหว่างการขนส่ง ผิวอาจแตกเละ มีน้ำไหลออก สีขาวถึงเหลือง เชื้อราจะเจริญออกมาทางแผล มี sporangiophores สีเทาคลุมและเกิด sporangiospores สีดำที่ปลายการเจริญของรานี้อาจลุกลามไปยังผิวของหีบห่อที่ใช้บรรจุและสัมผัสกับส่วนของพืชที่เป็นโรคได้ เนื้อเยื่อของพืชที่เป็นโรคนี้อาจส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีเชื้อยีสต์ และบักเตรีต่างๆ เข้าทำลายซํ้าเติม
เชื้อสาเหตุโรค.- Rhizopus sp.
เส้นใยของเชื้อไม่มีผนังกั้น เกิด sporangium ลักษณะกลมสีดำที่ปลาย sporangiophores ซึ่งมี sporangiospores ขนาดเล็กและกลมอยู่ภายในจำนวนพันสปอร์ เป็นการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ เมื่อแตกออกสปอร์จะฟุ้งปลิวไปในอากาศ ตกลงที่ผิวหรือแผลพืชที่มีความชื้นพอ ก็จะงอกเป็นเส้นใย เส้นใยที่เกิด sporangiophore และสัมผัสผิวนั้นจะเกิดเส้นใยคล้ายรากยึดเกาะ เรียกว่า rhizoids เส้นใยที่เชื่อมระหว่างเกิด sporangiophore และสัมผัสผิวนั้นจะเกิดเส้นใยคล้ายรากยึดเกาะ เรียกว่า rhizoids เส้นใยที่เชื่อมระหว่างจุดที่เกิด rhizoids ซึ่งเกิด sporangiophore ด้านบน เรียกว่า stolon ซึ่ง stolon นี้เจริญออกได้ทุกทิศ ส่วนการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ เส้นใยที่แตกกิ่งขนาดสั้น เป็น progametangium โดยปลายจะสัมผัสกับ progametangium อันอื่น แล้วปลายของเส้นใยนี้จะมีผนังกั้นตามขวางเกิดขึ้นแบ่งเป็นเซลที่ปลายแยกออกจาก progametangia เซลที่ปลายนี้เรียกว่า gametangia ซึ่งต่อมา gametangia ทั้งสองจะรวม protoplasm และ nuclei จับคู่กัน เซลที่รวมกันนี้จะขยายใหญ่ขึ้น มีผนังหนา สีดำเป็นสปอร์แบบใช้เพศ เรียกว่า zygospore เป็นสปอร์ที่อยู่ข้ามฤดู เมื่องอกจะได้ sporangium บน sporangiophore ซึ่งให้กำเนิด sporangiospores อยู่ภายใน
วงจรของโรค Sporangiospores ในอากาศตกลงบนแผลของพืช แล้วงอกเข้าทำลายพืชโดย เชื้อสร้างเอนไซม์ย่อย pectin ของ middle lamella ที่เชื่อมระหว่างเซลพืช ทำให้เกิดอาการเน่าเละ
Pectinolytic enzymes นี้จะย่อยเซลก่อนที่เชื้อราจะเจริญไปถึง ทำให้เซลหลุด แล้ว cellulolytic enzymes ที่เชื้อราสร้างขึ้นอีกชนิดหนึ่งจะทำลาย cellulose ของผนังเซล ทำให้เส้นใยเข้าไปเจริญภายในเซล โดยเส้นใยของเชื้อไม่ได้สัมผัสกับเซลที่ยังมีชีวิตของพืชอาศัยเลย
เส้นใยเจริญลุกลามภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ผิวเน่าซึ่งจะแตกได้ง่ายเพราะการหยิบ และกระแทกเพียงเบาๆ เส้นใยจะเจริญโผล่ออกทางผิวที่แตกและสร้าง sporangiophores, sporangia, stolon และ rhizoids ยึดเกาะเนื้อเยื่อที่อ่อนเพราะถูกย่อย เชื้อสามารถสร้างสปอร์ในเนื้อเยื่อที่เป็นโรคภายใน 2-3 วัน แล้วสปอร์นี้จะเข้าทำลายพืชได้หลังจากหลุดออกไปแล้ว Zygospores จะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อได้รับอาหารจากพืชอาศัยน้อยลง และจากเชื้อ heterothallic species ที่เจริญอยู่ด้วย การติดเชื้อกับผลไม้ที่เก็บรักษาไว้ส่วนมากเกิดจาก sporangiospores เป็นสาเหตุ
การควบคุมโรค
1. ระมัดระวังในการเก็บเกี่ยวพืช การหยิบจับ การขนส่ง อย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของผลิตผลพืชนั้นเป็นแผลได้ หากมีก็ควรแยกออกไปต่างหาก
2. หีบห่อที่ใช้บรรจุ ตลอดจนห้องเก็บ ควรผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาจุนสีฟอร์มาลิน หรืออบด้วยก๊าซกำมะถัน หรือ chloropicrin
3. การเก็บรักษา ควรเก็บในอุณหภูมิตํ่า เช่น ผลไม้อวบน้ำ ให้เก็บที่อุณหภูมิตํ่ากว่า 10°ซ. ชนิดที่ไม่อวบนํ้า เช่น มันเทศ เก็บที่อุณหภูมิ25-30 °ซ. ภายใต้ความชื้น 90% เป็นเวลา 10-14 วัน เพื่อให้เกิดชั้น cork ปิดแผลต่างๆ ก่อนแล้วจึงเก็บในอุณหภูมิตํ่า 12°ซ.
4. ห่อผลไม้ด้วยกระดาษที่อาบนํ้ายาป้องกันเชื้อราต่างๆ เช่น dichloran วิธีนี้นับว่าได้ผลดีมาก
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช