โรคเหี่ยวและโรคใบไหม้จากบักเตรี

โรคเหี่ยวเกิดจากบักเตรี (Bacterial vascular wilts)
โรคเหี่ยวเกิดจากบักเตรี เป็นโรคที่เกิดที่ระบบท่อลำเลียงของพืชเป็นเหตุเช่นเดียวกับโรคเกิดจากเชื้อรา พบได้ทั่วไปกับพืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเขตร้อนทั่วไป โดยเชื้อจะทวีจำนวนเข้าไปในท่อ xylem ของพืช ทำให้การเคลื่อนย้ายนํ้า และอาหารขัดข้อง ทำให้พืชเหี่ยว และตาย บักเตรีที่อยู่ใน xylem นั้นจะย่อยผนังเซลของ xylem และเชื้อทวีจำนวนไปยังเนื้อเยื่อ parenchyma ที่อยู่ถัดไปทำลายเซล ทำให้เกิดช่องว่างที่เต็มไปด้วยบักเตรี ยางเหนียว ฯลฯ บักเตรีเคลื่อนย้ายจากกลุ่มท่อลำเลีย แพร่เข้าไปในช่องว่างระหว่างเซลของใบ และอาจทำให้มีเมือกของบักเตรี (bacterial ooze) ออกมาทางปากใบหรือรอยแตกของผิวใบได้
เชื้อสาเหตุโรค :
Corynebacterium เช่นโรค canker และเหี่ยวของมะเขือเทศ (C. michiganense)
Erwinia เช่น โรคเหี่ยวของแตง (E. tracheiphila)
Pseudomonas เช่น โรคเหี่ยวของพืชตระกูลมะเขือ (P. solanacearum)
Xanthomonas เช่น โรคเน่าดำหรือเส้นใบดำของกระหลํ่าต่างๆ (X. campestris)
กลไกที่เกี่ยวข้องต่อการเหี่ยวของพืช ประกอบด้วย
1) เซลของบักเตรี และ polysaccharides ไปอุดตันท่อลำเลียงบางท่อ
2) เชื้อสร้างเอนไซม์ เช่น pectinases, cellulases ไปย่อยสารต่างๆ ในเซล ไปรวมกันที่ปลายท่อ เกิดเป็นเยล ยางเหนียว อุดรูท่อ ทำให้เคลื่อนย้ายนํ้าไม่ได้
3) เอนไซม์ดังกล่าวทำให้ผนังเซลอ่อนตัว เนื้อเยื่อย้อยและเหี่ยว 4) Phenol oxidases ที่เกิดจากเชื้อหรือเซลพืชจะไปอ๊อกซิไดซ์
สารฟีนอลต่างๆ ไปเป็นสารควิโนน และเปลี่ยนเป็น melanoid ซึ่งทำให้ผนังที่ดูดซับสารนี้ไว้เป็นสีน้ำตาล และ
5) เชื้อสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตทำให้เซล parenchyma ของ xylem เกิด hyperplasia แล้วพองเข้าภายในท่อ xylem เกิด tylose
วงจรของโรค บักเตรีอยู่ข้ามฤดูในเศษซากพืช ในดิน ในเมล็ด ในแมลงพาหะ และส่วนขยายพันธุ์ต่างๆ เชื้อเข้าทำลายพืชทางแผลที่ลึกถึงกลุ่มท่อลำเลียงนํ้าอาหารพืช แล้วเชื้อจะทวีจำนวนแพร่กระจายต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของพืช เชื้อสาเหตุระบาดไปยังต้นอื่นๆ ได้โดยทางดิน การเก็บเกี่ยว การใช้เครื่องทุ่นแรง การรสัมผัสของพืชกันเองทางแมลงพาหะ และการติดเชื้อจากไส้เดือนฝอยที่ทำให้พืชเป็นแผล
การควบคุมโรค
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรคปลูก
2. ปลูกพืชหมุนเวียน ทำความสะอาด และกำจัดเศษซากพืช
3. ใช้เมล็ดและกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรค
4. กำจัดแมลงพาหะนำโรค
โรคใบแห้งหรือไหม้เกิดจากบักเตรี (Bacterial blights)
โรคใบแห้งหรือไหม้เป็นโรคที่ส่วนต่างๆ ของพืชเกิด necrosis รวดเร็วจากจุดที่ติดเชื้อ ลุกลามไปส่วนอื่นๆ หรือทำให้พืชตายทั้งต้น โรคอาจเป็นจุดกระจายทั่วและทำลายผิวพืช จนทำให้พืชแห้งหรือไหม้ หากอากาศมีความชื้นสูง เนื้อเยื่อที่เป็นโรคจะมีเมือกของบักเตรี เยิ้มออกมา ทำให้แพร่ไปยังเนื้อเยื่ออื่นหรือพืชต้นอื่นเกิดติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก เนื้อเยื่อส่วนที่เป็นโรค อาจหลุดเป็นรูได้

ภาพวงจรโรคไหม้ลามทุ่งของยาสูบเกิดจากเชื้อ Pseudomonas tabici
เชื้อสาเหตุโรค :
Pseudomonas เช่นโรคไหม้ลามทุ่งของยาสูบ (P. tabaci)
Xanthomonas เช่นโรคขอบใบแห้งของข้าว (X. oryzae)
Erwinia เช่น โรคใบไหม้ของเบญจมาส (E. carotovora var. chrysanthemi)
เชื้อบักเตรีอยู่ข้ามฤดูในส่วนของพืชเป็นโรคที่เป็นไม้ยืนต้นในเมล็ด เศษซากพืช ดิน และภาชนะ หีบห่อ หรือเครื่องมือทุ่นแรงต่างๆ เชื้อแพร่ไปโดยฝน ลมฝน แมลง เช่นเกิดไปกับผึ้ง มด แมลงวัน ตลอด จนพืชอาศัยถูกสัมผัสโดยตรง เชื้อเข้าสู่พืชทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่นปากใบ ทางแผล และปกติมักเป็นช่องว่างระหว่างเซลของเนื้อเยื่อ parenchyma โดยเฉพาะการวัปยกของเนื้อเยื่อที่เกิดจากฝนตกหนัก ผนังเซลอาจทำลายด้วยเอนไซม์ pectinases และ cellulases วงจรของโรคดังตัวอย่างโรคไหม้ลามทุ่งของยาสูบ
การควบคุมโรค
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรคปลูก
2. ปลูกพืชหมุนเวียน และทำความสะอาดแปลงปลูก
3. ฉีดพ่นเป็นครั้งคราวในระยะที่พืชอ่อนแอต่อโรค โดยใช้ยาบอร์โดซ์ สารประกอบทองแดงต่างๆ zineb หรือปฏิชีวนะสาร เช่น streptomycin และ tetracyclines ซึ่งถ้าเป็นไม้ใหญ่พออาจฉีดปฏิชีวนะสารเข้าสู่ลำต้นโดยตรงได้
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช