โรคโคนเน่าระดับดินของกล้าพืช

Oomycetes
ราใน subclass นี้มี 2 orders คือ saprolegniales และ peronosporales ราเหล่านี้ทำให้พืชเป็นโรคได้ 2 แบบ :
(1) ทำให้พืชเป็นโรคเฉพาะส่วนที่อยู่ในดิน หรืออยู่ติดดิน เช่น ราก โคนต้น หัว เมล็ด ผล ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Aphanomyces    และ Phytophthora บางชนิด และ
(2) ทำให้พืชเป็นโรคเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือระดับดิน เช่น ใบส่วนยอด ผล ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Phytophthora บางชนิด Albugo และเชื้อราสาเหตุโรครานํ้าค้างต่างๆ
โรคโคนเน่าระดับดินของกล้าพืช (Seedling damping-off)
โรคโคนเน่าระดับดินของกล้าพืช ทำความเสียหายแก่พืชทั่วไปในประเทศเขตร้อน และกึ่งร้อน ตลอดจนในเรือนกระจก โดยเฉพาะรากของต้นกล้า เมล็ด และพืชอวบน้ำ เช่น แตงต่างๆ การสูญเสียของโรคขึ้นอยู่กับความชื้นของดิน
อาการโรค อาการโรคแตกต่างกันไปแล้วแต่อายุของพืช
(1) เมล็ด ไม่งอก อ่อนเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล และหงิกงอ
(2) กล้าพืช ปกติถูกทำลายที่ราก เซลตายอย่างรวดเร็ว โดยหลังจากเชื้อเข้าไปในเนื้อเยื่อแล้ว จะช้ำและสีซีด ที่โคนเนื้อเยื่อจะยุบตัวลงและต้นกล้าล้มในที่สึด และ
(3) ต้นแก่ ปกติจะเป็นแผลขนาดเล็กบนลำต้น หากมีขนาดใหญ่หรือมีแผลจำนวนมากพอ จะทำให้โคนต้นคอด แล้วพืชแคระแกรน และตายได้
เชื้อสาเหตุโรค: Pythium sp. (เชื้อราอื่นๆ ที่ทำให้พืชเป็นโรคมีอาการเหมือนกัน คือ Rhizoctonia Fusarium , Phytophthora เป็นต้น)
เส้นใยของเชื้อ มีสีขาว เจริญแตกกิ่งก้านได้ดี เกิด sporangia ที่ปลายหรือกลางเส้นใย (terminal or intercalary) มีลักษณะกลมรี Sporangia งอกเป็น germ tube หนึ่ง หรือหลายอัน หรือ sporangia งอกเป็นเส้นใยสั้น แล้วเกิด vesicle ที่ปลาย ซึ่งให้กำเนิด zoospores ภายใน  เมื่อ zoospores ถูกปล่อยออกมาแล้ว จะว่ายนํ้าระยะหนึ่ง ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วแต่สภาพแวดล้อม ก็เปลี่ยนเป็น encysted zoospores ที่ไม่มี flagella สปอร์นี้จะเข้าทำลายพืชอาศัย โดยการงอกเป็น germ tube แทงผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อ ทำให้เกิดโรคเชื้อเจริญเป็นเส้นใยใหม่ สปอร์ที่งอกและยังเข้าทำลายพืชไม่ได้อาจสร้าง vesicle ขึ้นใหม่ แล้วเกิด secondary zoospores ใหม่อีกได้ และ sporangia ที่งอกเป็น germ tube ก็สามารถเข้าทำลายพืชได้เช่นกัน
เส้นใยสร้าง oogonia และ antheridia มาผสมกันในการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ (อาจเป็นเส้นใยในชุดเดียวกัน, homothallic หรือต่างชุดกัน, heterothallic) ได้ oospores (2 n ) และพักตัวอยู่ระยะหนึ่ง หรืออยู่ข้ามฤดู แล้ว oospores จะงอกเป็นเส้นใยเจริญต่อไป หรือเจริญเป็น vesicle เพื่อให้กำเนิด zoospores ว่ายน้ำ เข้าทำลายพืชต่อไป การงอกของ oospores เป็นเส้นใยนั้น ก็สามารถเข้าทำลายพืชโดยตรงได้
อุณหภูมิเป็นป็จจัยสำคัญทีjควบคุมการงอกของ sporangia และของ oospores ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 18°ซ. สปอร์จะงอกเป็น germ tube หากตํ่าประมาณ 10-18 °ซ. จะงอกและสร้าง zoospores
วงจรของโรค Zoospores และเส้นใยที่งอกจากสปอร์ จะมีโอกาสไปสัมผัสเชื้อได้โดยบังเอิญ หรือทาง chemotaxis และ chemotropism เท่านั้น เชื้อเข้าทำลายเมล็ดโดย เปลือกเมล็ดโป่ง หรือแตกเมื่อได้รับความชื้น แล้วเชื้อจะเข้าทำลายคัพภะหรือต้นกล้า ด้วยการแทงผ่านใช้ความดันกล หรือทางเคมี โดยเชื้อสร้างเอนไซม์ pectinolytic, proteolytic และ cellulolytic ไปย่อยผนังเซล และ protoplast ทำให้เมล็ดไม่งอก และเน่า เมล็ดจึงเต็มไปด้วยเชื้อรา และสารต่างๆ ที่เชื้อไม่สามารถย่อยได้ เช่น suberin และ lignin เป็นต้น
การเข้าทำลายราก และลำต้น ขึ้นอยู่กับความชื้นที่ระดับใต้ผิวดินเล็กน้อย และระดับของการเพาะปลูกพืช เชื้อแทงผ่าน epidermis และ cortex ของลำต้นโดยตรง เจริญอยู่ภายในจนแผลลุกลามถึงระดับดิน ต้นกล้าล้มพับลงแล้วตาย เชื้อเข้าทำลายทางปลายราก เจริญในเซล และรากตายในที่สุด
การติดเชื้อของผักที่ให้ผลในไร่ การเก็บรักษา ขนส่ง และวางตลาด เชื้อเข้าทำลายผลที่ติดดินได้ภายใน 3 วัน โดยเส้นใยเจริญเต็มในเนื้อเยือ แล้วผิวจะแตกมีเส้นใยเจริญขาวฟูลุกลามออกไปข้างเคียง ต่อมาจะเกิด sporangia และ oospore ซึ่งอาจเกิดภายในหรือภายนอกพืชอาศัยได้ ขึ้นอยู่กับ species ของเชื้อ
การควบคุมโรค
1. ฆ่าเชื้อดินที่ใช้ปลูกในเรือนกระจก ด้วยไอร้อนแห้ง หรือไอร้อนชื้น
2. คลุกเมล็ดและหัวด้วยสารเคมี ก่อนไปปลูกในไร่ โดยใช้ chloranil, thiram, captan, dichlone, ferbam และ diazoben เพราะการฆ่าเชื้อดินในไร่โดยตรงเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
3. ใช้ยาประเภทดูดซึม เช่น ethazol ซึ่งอาจใช้คลุกเมล็ดหรือใส่ดิน และยังใช้ควบคุมโรครากเน่าที่เกิดจาก Phytophthora ได้อีกด้วย
4. ปฏิบัติทางการเกษตรให้เหมาะสมเพื่อลดการเกิดและระบาดของโรค เช่น ดินมีระบายน้ำดีต้องเว้นระยะปลูกพืชให้มีอาการถ่ายเทสะดวก พืชจะเจริญเติบโตเร็วขึ้นอีกด้วย
5. หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ย N ในรูปของเกลือไนเตรท
6. ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกันซํ้าเกินกว่า 2 ปี ในแปลงปลูก
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช