ใบท้องแดงมีประโยชน์อย่างไร


ชื่อวิทยาศาสตร์ Excoecaria cochinchinensis Lour.
ชื่ออื่นๆ กะเบือ (โคราช) กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ (กลาง) บัวลา (เหนือ) กระทู้เจ็ดแบก (บางชนบท) กระบือเจ็ดตัว (ทั่วไป)
ลักษณะ ไม้พุ่มสูง 0.7-1.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับรอบกิ่งหรือออกตรงข้าม ท้องใบสีแดง หลังใบเขียวอมแดง ใบรูปหอกแกมรูปไข่ ใบกว้าง 2.5-4 ซ.ม. ยาว 5-11 ซ.ม. ดอกออกเป็นกระจุกสีเหลืองตามซอกใบกับกิ่ง ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมียมี 2-3 ดอกย่อย ผลขนาดเล็กมากเป็น 3 พู แตกได้
ส่วนที่ใช้ ใบสด ใบแห้ง
สารสำคัญ 9,13,14 -orthoesters of 5 ß-hydroxyresiniferonol
ประโยชน์ทางยา ยาไทยใช้ใบสด 7-10 ใบ ตำ ผสมเหล้าโรง รับประทานขับนํ้าคาวปลาหลังคลอด ใบตากแห้งชงนํ้าดื่ม เช่น ใบชา แก้โรคกษัย การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ