ไก่ป่าแดง

ชื่อสามัญ Red Junglefowl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus

แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 5 ชนิด และมีอยู่ 2 ชนิด ที่มีในประเทศไทย คือ

1. ไก่ป่าตุ้มหูขาวหรือไก่ป่าอิสาน (Cochin-chinese red junglefdwl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า G.g. gallus มีตุ้มหูสีขาว โคนหางมีปุยขนสีขาว พบทั่ว ๆ ไปทางจังหวัดภาคอีสานและภาคตะวันออก ตั้งแต่ระยองเลียบชายแดนเขมรไปจนถึงอุบลราชธานี

2. ไก่ป่าตุ้มหูแดงหรือไก่ป่าแดงพันธุ์พม่า (Burmese red junglefowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า G.g. spadiceus ลักษณะเหมือนชนิดแรก แต่มีตุ้มหูสีแดง ในประเทศไทยมีทางภาคใต้ ภาคดะวันตกเรื่อยไปจนถึงภาคเหนือ นอกนั้นมีในประเทศพม่าและสุมาตราตอนเหนือ

3. Tonkinese red junglefowl ชื่อวิทยาศาสตร์ G.g. jabouillei มีสร้อยคอสีแดง หงอนและตุ้มหูแดง มีในเวียดนามเหนือ จีนใต้และเกาะไหหลำ

4. Indian red junglefowl ชื่อวิทยาศาสตร์ G.g. murghi มีขนคอสีเหลือง ตุ้มหูขาว มีทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและบริเวณเชิงเขาหิมาลัยตอนใต้

5. Javan red junglefowl ชื่อวิทยาศาสตร์ G.g. bankiva มีขนสร้อยคอที่ปลายทู่จนกลมมนผิดจากไก่ป่าชนิดอื่น ๆ มีในเกาะสุมาตราตอนใต้ ชวา และบาหลี

ไก่ป่าชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบหรือป่าผสมป่าไผ่ ตั้งแต่ระดับนํ้าทะเลจนถึงระดับ 6,000 ฟุต ชอบหากินเวลาเช้าตรู่และตอนเย็น ตัวผู้จะคุมฝูงตัวเมียหลาย ๆ ตัว ผสมพันธุ์ประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม วางไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 19-21 วัน ในช่วงฤดูฝนตัวผู้จะผลัดขนและหยุดขัน