ไก่ฟ้าหลังเงิน

ชื่อสามัญ  Silver Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura nycthemera

เป็นไก่ฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก แบ่งออกเป็น 14 ชนิดย่อย ตามลักษณะและถิ่นกำเนิด ซึ่งพบในประเทศเวียดนาม ลาว พม่า จีน ไทย และเขมร ตามป่าที่ระดับความสูง 2,500-7,000 ฟุต ที่มีการเพาะเลี้ยงกันมากในประเทศไทย มีอยู่ 3 ชนิด คือ

1. ไก่ฟ้าหลังเงินทั่วไป (True Silver Pheasant) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า L.n. nycthemera พบมากทางภาคใต้ของประเทศจีน กวางตุ้ง ด้านตะวันออกของอ่าวตังเกี๋ย และด้านตะวันตกของแม่น้ำแดง

2. ไก่ฟ้าหลังเงินโจนส์ (Jone’s Silver Pheasant) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า L.n. jonesi พบตามเทือกเขาทางภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ทางใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน และทางตอนใต้ของรัฐฉาน ประเทศพม่า ทางตะวันตกของแม่นํ้าโขง

3. ไก่ฟ้าหลังดำ (Lewis’s Silver Pheasant) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า L.n. lewisi พบตามภูเขาทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเขมร และตามชายแดนตะวันออกเฉียงใต้ของไทย

ไข่ใช้เวลาฟัก 25 วัน จะเริ่มแยกเพศออกเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยตัวผู้เริ่มมีเดือยใหญ่ขึ้น ขนคอเปลี่ยนจากสีน้ำตาลคลํ้าเป็นสีดำ และตามลำตัวเริ่มมีสีขาวลายดำแซมขึ้นมา ตัวเมียจะมีลายรูปตัววีสีขาว ตั้งแต่ใต้คางไปจนถึงท้อง ทั้งคู่จะเปลี่ยนขนจนมีสีและลายเต็มที่เมื่ออายุประมาณปีครึ่งไก่ฟ้าหลังเงินนี้บางแห่งเรียกว่าไก่ฟ้าหลังขาว