ไก่ฟ้าหลังเทาอกดำ

ชื่อสามัญ  Black-Breasted Kalij

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lophura leucoraelana lathami

ไก่ฟ้าชนิดนี้บางทีก็เรียกกันว่า Horsfield Kalij เป็นหนึ่งในเก้าชนิดย่อยของไก่ฟ้าหลังเทา แต่มีข้อแตกต่างจากชนิดอื่นตรงที่ขนส่วนไหญ่มีสีดำ โดยเฉพาะส่วนล่างของลำตัว มีหงอนที่ตั้งตรงกว่า และหางสั้นกว่าชนิดอื่นเล็กน้อย มีถิ่นกำเนิดทางด้านตะวันออกของภูฐาน ทางเหนือของอัสลัม ในพม่ามีทางตะวันออกถึงลุ่มนํ้าอิระวดี และทางใต้จนถึงจิตตะกอง ในแถบตะวัน ออกของอิระวดีตอนบน โดยเฉพาะตามเหมืองพลอย มันผสมข้ามพันธุ์ไก่ฟ้าหลังเงินชนิดย่อยที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณเดียวกันคือ Ruby Mines Silver และ Western Silver ซึ่งปกติจะอยู่ที่ระดับสูงกว่า แต่มักจะเที่ยวหากินลงต่ำมาตามเชิงเขาจนมาผสมกับไก่ฟ้า หลังเทาอกดำ ทำให้เกิดไก่ลูกผสมจำนวนมากในแถบนี้

ปกติไก่ฟ้าชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ป่าต่ำจนถึงระดับความสูง 3,000 ฟุต แต่พวกที่อยู่เหนือขึ้นไปมาก ๆ เช่น ภูฐานและพม่าตอนเหนือจะอยู่สูงกว่า เคยมีผู้พบมันที่ระดับ 6,000-8,000 ฟุต แต่ในการกระจายถิ่นทั่วไป มันชอบอยู่ในบริเวณภูเขาและหุบเขาที่อยู่ในระดับต่ำ มักจะพบเป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยมีพ่อแม่อยู่ในฝูงรวมกับลูกไก่ โดยทั่วไปมันมีนิสัยไม่แตกต่างไปจากไก่ฟ้าหลังเทาชนิดอื่นๆ แต่จะมีลักษณะเฉพาะตัวคือ มันมักจะยืนตัวตั้งตรง หางห้อยลงพื้น ยืดคอขึ้น หงอนตั้ง และมักจะทำเป็นประจำ

ถูกนำเข้าไปในยุโรปครั้งแรกพร้อมๆ กับไก่ฟ้าอีกหลายชนิดในปี ค.ค.1857 มันเป็นไก่ฟ้าที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย แต่มีการเพาะเลี้ยงกันน้อยกว่าชนิดอื่นๆ ปกติจะวางไข่ 4-10 ฟอง และไข้เวลาฟักไข่ 23-24 วัน ลูกไก่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงจะค่อนข้างเชื่อง