ไก่ฟ้าหลังเทาเนปาล

ชื่อสามัญ  Nepal Kalij

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophura leucomelana leucomelana

ไก่ฟ้าในกลุ่มไก่ฟ้าหลังเทาจัดว่าเป็นพวกไก่ฟ้าที่อยู่ทางซีกตะวันตก ในขณะที่ไก่ฟ้าในกลุ่มไก่ฟ้าหลังเงินจัดเป็นพวกที่อยู่ทางซีกตะวันออก ไก่ฟ้าหลังเทาเนปาลมีถิ่นกำเนิดไนประเทศเนปาล จากแม่นํ้า Gogra ไปทางตะวันออกจนถึงแม่นํ้า Arun แต่ถึงอย่างไรก็ตามขอบเขตของการกระจายถิ่นของไก่ฟ้าชนิดนี้ก็ยังไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน มันอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับ ความสูง 4,000-10,000 ฟุต แต่ในฤดูหนาวจะลงมาหากินในพื้นที่ๆ ต่ำกว่า เป็นไก่ฟ้าที่สามารถพบเห็นได้ง่าย มักพบไนป่าทึบเป็นจำนวนมาก และพบเห็นกันเป็นประจำมานานแล้ว มีนิสัยเหมือนไก่ฟ้าหลังเทาทั่ว ๆไป มักจะพบหากินเป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็กๆ ปกติในธรรมชาติมันเป็นพวก Monogamous เป็นพวกที่หากินเป็นที่ไม่ชอบย้ายที่หากิน นอกจากฤดูร้อนจะขึ้นสูง ฤดูหนาวจะลงต่ำ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการคุ้ยเขี่ยหาอาหารกิน มักจะพบหากินอยูใกล้ ๆ แหล่งนํ้าหรือตามหุบเขาที่มีพวกพืชขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น อาหารได้แก่เมล็ดพืชและแมลงต่าง ๆ ในฤดูผสมพันธุ์จะทำรังตามที่รก ๆ ใต้พุ่มไม้ วางไข่ 8-14 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 24-25 วัน

ไก่ฟ้าชนิดนี้ถูกส่งไปยุโรปเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1857 พร้อม ๆ กับไก่ฟ้าอีกหลายชนิด โดยครั้งแรกนำไปเพาะเลี้ยงที่สวนสัตว์กรุงลอนดอน มันเป็นไก่ฟ้าที่เลี้ยงและขยายพันธุ์ได้ง่ายไม่ค่อยตื่นคนมากนัก ตัวผู้สีจะสมบูรณ์ในปีแรก ซึ่งต่างจากพวกหลังเงินซึ่งจะสมบูรณ์ในปีที่สอง ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีท่าทางสง่ามาก ถึงแม้สีขนจะไม่สวยเหมือนไก่ฟ้าชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสีที่ไม่ค่อยสวยนี้เอง ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควรและมีการเพาะเลื้ยงกันไม่มากนัก