ไก่ฟ้าเขียว

ชื่อสามัญ Green Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phasianus versicolor

เป็น True Pheasant ที่มีถิ่นกำเนิดเฉพาะบนเกาะญี่ปุ่น แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ซึ่งแตกต่างกันพอสังเกตได้คือ พวกที่อยู่ทางด้านเหนือของเกาะจะมีสีอ่อนและออกเขียว พวกทางใต้สีจะเข้มและออกสีนํ้าเงิน

1. Southern Green Pheasant (P.V.versicolor) มีในเกาะกิวชิวและทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะฮอนโด ตัวค่อนข้างใหญ่ ขนมีสีเข้มออกเป็นสีนํ้าเงินมากกว่า

2. Pacific Green Pheasant (P.v.tanensis) มีทางด้านที่ชื้นและอบอุ่นกว่าของเกาะฮอนโด หมู่เกาะอิชู หมู่เกาะทาเนกาชิม่าและโอชิม่า ซึ่งอยู่ทางใต้ของเกาะกิวชิว

3. Northern Green Pheasant (P.v.robustipes) มีอยู่บนพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะฮอนโดและเกาะชิโกกุ มีสีอ่อนกว่า 2 ชนิดแรก และเป็นไก่ฟ้าที่ถูกส่งออกมากที่สุดในรอบ 90 ปีที่ผ่านมา

ไก่ฟ้าเขียวอาศัยอยู่ป่าต่ำและที่ราบไม่ค่อยขึ้นที่สูงเช่น บนภูเขา ชอบอยู่ทุ่งโล่งใกล้แหล่งทำมาหากินของมนุษย์ ออกหากินในเวลาเช้าและพลบค่ำ ตามทุ่งนาหรือฟาร์มเพาะปลูกพืชไร่ รวมทั้งตามไร่ชาและทุ่งหญ้า มักจะทำรังในแหล่งเพาะปลูกดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงสัตว์ป่าที่เป็นศัตรูของมัน ออกไข่ครั้งละ 8-12 ฟอง

ไก่ฟ้าชนิดนี้นำมาเลี้ยงได้ดี แต่มักจะตื่นและเลี้ยงยากกว่าไก่ฟ้าคอแหวน ถูกนำเข้าไปเลี้ยงในกรุงอัมสเตอดัมเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1840 และสั่งเข้าไปอีกหลายครั้ง จนมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในยุโรปในปี ค.ศ.1860 แต่เนื่องจากมักผสมกับชนิด P.colchicusได้ไก่ลูกผสมที่เหมาะสำหรับไวล่า ทำให้จำนวนของมันลดลงไปมาก ปัจจุบันไก่ฟ้าเขียวพันธุ์แท้ก็ยังคงมีการเพาะเลี้ยงกันทั้งในยุโรปและอเมริกา