ไผ่หยองสรรพคุณทางยา


ชื่อ
จีนเรียก     เงียวม่อเช่า ตะเปิยะเต็ก เอ่าค่ำเช่า โห่ลี้บ๊วย  Pogonatherum crinitum (Thunb.) Kunth.

ลักษณะ
เป็นพืชจำพวกไผ่เกิดตามเนินดินริมนํ้าริมกำแพง เป็นพืชยืนต้นหลายปี สูงประมาณ 7-8 นิ้ว คล้ายไผ่เล็กๆ ต้นเป็นปล้องๆ แตกกิ่งตอนปลาย ลำต้น เรียบไม่มีขน ใบคู่แบน ปลายแหลม โคนต้นมีกาบเป็นฝัก มีขนขึ้น ออกดอกหน้าร้อน ปลายต้นเป็นรูปคล้ายหางแมว

รส
รสจืด ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถแก้กระหาย แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ฤทธิ์เข้าถึงกระเพาะปัสสาวะ

รักษา
แก้กระหายร้อนใน เป็นหวัดหน้าร้อน แก้ปัสสาวะสีแดง ตับอักเสบ ดีซ่าน บวมนํ้า โรคเบาหวาน

ตำราชาวบ้าน
1. ปัสสาวะขัด-ไผ่หยอง 1 ตำลึง ต้มนํ้าพร้อมกวยแชะรับประทาน แก้เป็นลมเนื่องจากอากาศร้อนด้วย
2. เป็นหวัดเนื่องจากอากาศร้อน – ไผ่หยอง 1 ตำลึง ต้มกับขิง 3 แว่น
3. ปัสสาวะสีแดงเนื่องจากร้อนใน – ไผ่หยอง ต้มกับผักกาดนํ้า
1 ตำลึง พร้อมกวยแชะ
4. ปัสสาวะเป็นเลือดเนื่องจากร้อนใน-ไผ่หยองต้มกับผัดกาดน้ำ อย่างละ 1 ตำลึง ใส่นํ้าตาลแดง
5. ตับอักเสบ ดีซ่าน – ไผ่หยอง 3 ตำลึง พร้อมหญ้าดีมังกร และรากพุดซ้อน  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
6. บวมนํ้า – ไผ่หยอง 1 ตำลึง องุ่นป่า ถั่วแดงอย่างละครึ่งตำลึง ต้ม ด้วยกัน หรือไผ่หยอง 1 ตำลึง ต้มกับผีเสื้อนํ้า ครึ่งตำลึง
7. เบาหวาน-ไผ่หยอง 2 ตำลึง แปะก๊วย 12 ลูก ต้มรวมกัน

ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 1-2 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึงถึง 1 ตำลึง

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช