ไพล

ไพล

สมุนไพรแก้เคล็ด ขัด ยอก

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ว่านไฟ ปูลอย ปูเลย มิ้นสะล่าง

ชื่ออังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb.

วงศ์ Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไพลเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีขนาดใหญ่ เนื้อในเหง้ามีสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเรียวยาว ปลายใบแหลม ออกสลับกัน ดอกออกเป็นช่อรูปกรวย ก้านช่อแทงขึ้นมาจากเหง้าใต้ดิน ในฤดูหนาวและฤดูร้อนต้นบนดินจะตาย จะงอกขึ้นมาใหม่ในฤดูฝน

การปลูก

ปลูกโดยใช้เหง้า ชอบดินเหนียวปนทราย มีการระบาย

นํ้าที่ดี แสงแดดพอสมควร จะปลูกเป็นแปลงหรือปลูกเป็นกอก็ได้ วิธีปลูกทำได้โดยการขุดเหง้าจากกอเดิม ตัดลำต้นทิ้ง และนำไปปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้ ดูแล ความชุ่มชื้นและวัชพืชสม่ำเสมอ

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา

เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

สารสำคัญ เหง้ามีนํ้ามันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.8 มีสารสี

เหลืองชื่อ เคอร์คูมิน (curcumin)

ประโยชน์ในการรักษา

1.ลดอาการอักเสบ แก้เคล็ด ขัด ยอก และแก้ปวดเมื่อย

นํ้ามันที่สกัดจากเหง้าไพลมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบปวดบวมของกล้ามเนื้อและข้อได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้ปลายประสาทชา

วิธีใช้ ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ตำคั้นเอานํ้า ทาถูนวดบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ หรืออาจตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อย คลุกให้เข้ากัน นำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอนํ้าให้ร้อนเพื่อให้มีนํ้ามันหอมระเหยออกมา ใช้ประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ประคบเช้า-เย็น จนกว่าจะหาย

ปัจจุบันได้มีการผลิตครีมจากนํ้ามันไพลชื่อ “ครีมไพลจีซาล” จำหน่ายโดยองค์การเภสัชกรรม เพื่อใช้แก้อาการเคล็ดขัดยอกได้ผลดี

2. ใช้ทาแผลฝีหนอง หรือโรคผิวหนังบางชนิด

เนื่องจากไพลมีฤทธิ์ต้านจุลชีพที่เป็นสาเหตุของหนองฝี และ เชื้อราบางชนิดได้ จึงใช้แก้โรคผิวหนัง และฝีหนองได้

3. ใช้เป็นยาทากันยุง

นํ้ามันหอมระเหยที่สกัดจากเหง้าไพล เมื่อใช้ทาผิวหนังจะ ป้องกันยุงกัดได้ อาจใช้ผงเหง้าไพลแช่ในแอลกอฮอล์ 95% แล้วนำไประเหยให้เข้มข้น 30% ใช้ทาผิวหนังป้องกันยุงกัดได้นานชั่วโมงครึ่ง หรือถ้าใช้ขี้ผึ้งไพลความเข้มข้น 30% จะป้องกันยุงได้นาน 3 ชั่วโมง

นอกจากนื้ยังมีรายงานผลการวิจัยในคนไข้และในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดจากไพลมีฤทธิ์ขยายหลอดลม โดยทดลองใช้กับคนไข้ที่เป็นโรคหอบหืดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ พบว่าใช้ได้ผลดีทั้งขณะหอบและป้องกันการหอบ แต่ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับอาการพิษในระยะยาวซึ่งต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม