ไม้ดอก:การให้น้ำ

การให้น้ำไม่ดอก

มีคำกล่าวว่า เมื่อต้นไม้ไม่สบาย มีอาการผิดปกตินั้น สาเหตุ 9 ใน 10 เป็นเพราะเรื่องการ ให้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นเพราะให้น้ำมากเกินไป ให้น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธี

การให้คำแนะนำทั่ว ๆ ไปว่าควรให้นํ้าเท่าใด และให้น้ำอย่างไรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง เช่น ชนิดของดิน ความลาดเทของดิน ความชื้นในดิน ชนิดพืช ฤดูกาล ความเข้มของแสง ลม อุณหภูมิ ดินนั้นมีการคลุมดินอยู่หรือไม่ และอื่นๆ

พืชคายน้ำมากที่สุดเมื่ออากาศร้อนจัด โดยเฉพาะเวลาใกล้เที่ยงถึงบ่าย 3 โมงเย็น เมื่อพืชคายน้ำมาก รากต้องดูดน้ำชดเชยให้กับที่ใบเสียน้ำไป ถ้าชดเชยไม่ทันใบจะเหี่ยว ถ้ารดน้ำให้ต้นพืชจะฟื้นกลับสดชื่นได้ใหม่ ทั้งนี้ต้องกลับไปพิจารณาเรื่องช่องว่างระหว่างอนุภาคของดินชนิดต่าง ๆ เพราะเป็นที่อยู่ของนํ้าและอากาศในดิน ถ้าอนุภาคของดินมีขนาดใหญ่ เช่น ดินทราย น้ำจะระบายออกจากดินเร็วมากเหลือไว้เล็กน้อยสำหรับให้พืชเติบโต ถ้าเป็นดินเหนียวซึ่งมีช่องว่างเล็กกว่าจะสามารถยึดนํ้าได้เป็นจำนวนมาก

เมื่อฝนตกลงมาบนดินที่แห้ง น้ำจะซึมซาบเข้าไปเต็มช่องว่างทั้งหมดและไล่อากาศออกทำให้ดินอิ่มตัวด้วยน้ำจนน้ำขังในดินไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช เพราะไม่มีออกซิเจนซึ่งเป็นสิ่ง จำเป็นในการหายใจของราก เราเรียกความชื้นในดินระดับนี้ว่าระดับ superfluous ถ้าดินมีน้ำขังเพียง 2-3 วัน พืชบางชนิดอาจจะตายมีอาการเหี่ยวทั้งๆ ที่ไม่ขาดน้ำ หลังจากฝนหยุดน้ำส่วนเกินจะระบายออกจากช่องว่างนั้นและอากาศจะเข้าแทนที่ใหม่ การแทนที่นี้จะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับขนาดของช่องว่างในดินบนและธรรมชาติของดินล่างด้วย เมื่อดินสามารถอุ้มน้ำได้มากที่สุดโดยไม่เกิดอาการน้ำขัง และมีออกซิเจนพอเพียง เราเรียกว่าน้ำในดินอยู่ในระดับความจุความชื้นสนาม (field capacity) (ดูรูปประกอบ)

เนื่องจากอนุภาคของดินผสมกันอยู่อัราส่วนต่าง ๆ กัน น้ำจะระบายออกจากช่องว่างใหญ่ง่ายกว่า และดินที่มีช่องว่างเล็กจะดูดยึดนํ้าไว้ได้ดีกว่า ดังนั้นที่ความจุความชื้นสนาม ช่องว่างใหญ่จะมี อากาศมากในขณะที่ช่องว่างเล็กมีน้ำมาก เมื่อแรงดึงดูดของโลกไม่สามารถดึงน้ำออกจากช่องว่างขนาดเล็ก รากของพืชก็สามารถดูดน้ำจากช่องว่างเหล่านั้นไปใช้ทำให้เติบโตได้ดี จนถึงจุดหนึ่งที่พืชไม่สามารถดูดน้ำออกจากดินได้อีกแล้ว เพราะมีน้ำน้อยมากยึดอยู่ที่อนุภาคของดิน จุดนี้เราเรียกว่า จุดเหี่ยวถาวร (permanent wilting point) ดินต่างชนิดมีความสามารถดูดยึดปริมาณน้ำไว้มากน้อยต่างกันที่จุดนี้เช่นทรายดูดนํ้าได้ 3%  โดยนํ้าหนัก ดินร่วนดูดยึดได้ 10-15% และดินเหนียวยึดได้มากกว่า 20% เพราะอนุภาคของดินยิ่งเล็ก พื้นที่ผิวนอกยิ่งมากเมื่อมีนํ้าหนักเท่ากัน

kaset

ดินทรายสามารถเก็บนํ้าได้เพียง 1/4 นิ้ว ต่อความลึก 1 ฟุต ดินร่วนทรายเก็บได้ 3/4 นิ้ว ดินตะกอน ดินเหนียวร่วน และดินเหนียวเก็บนํ้าได้2.5-3 นิ้ว แม้ตัวเลขที่อ้างมานี้เป็นตัวเลขคร่าวๆ แตก แสดงให้เห็นว่าดินต่างชนิดกันต้องการการให้น้ำถี่ห่างต่างกันไป คือดินทรายควรให้น้ำบ่อยกว่าดินเหนียว และการเติมอินทรียวัตถุลงในดินทรายก็จะเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินทราย ส่วนการเติมอินทรียวัตถุลงในดินเหนียวก็จะช่วยเปิดช่องว่างในดินเหนียวเพื่อให้ร่วนซุยขึ้นทำให้อุ้มนํ้าและอากาศได้มากขึ้น

แสงแดดจัด อากาศร้อน และลมพัดแรงทำให้พืชคายนํ้าได้เร็วและมาก จึงต้องรดน้ำให้พืชมากกว่าปกติในสภาพแวดล้อมที่กล่าวมา การรดนํ้าต้นไม้ด้วยตนเองเป็นความสุขใจอย่างหนึ่งที่จะมีโอกาสใกล้ชิดกับต้นไม้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจะสามารถแก้ไขได้ทัน การรดนํ้าควรใช้น้ำที่สะอาด และการให้นํ้าเป็นปริมาณเท่าใดนั้นมีหลักง่ายๆ คือ รดให้ชุ่มระบบราก แล้วปล่อยให้ดินแห้งบ้างก่อนรดนํ้าครั้งต่อไป เพราะถ้าหน้าดินยังชื้นดินล่างลงไปก็ยิ่งชื้นมาก ถ้าให้นํ้าชุ่มและบ่อยเกินไปนํ้าจะแทนที่อากาศในดินทำให้รากไม่เจริญและติดเชื้อได้ง่าย โอกาสที่รากเน่ามีมาก และการให้นํ้าแต่น้อยและให้บ่อยนํ้าจะไม่มีโอกาสซึมลึกลงในดินถึงระบบราก เพราะปกติรากจะเจริญเติบโตในบริเวณที่มีความชื้น มีธาตุอาหารและมีอากาศในดินพอเพียง ถ้าดินรอบๆ รากมีธาตุอาหารสมบูรณ์มีอากาศพอเพียง แต่ไม่มีความชื้น รากก็ไม่เจริญเติบโต การให้นํ้าแต่น้อยจะได้ต้นไม้ที่มีระบบรากตื้น ถ้าลืมรดนํ้าเพียง 2-3 ครั้ง หรืออากาศร้อนและแล้งต้นไม้นั้นอาจตายได้เพราะไม่สามารถหานํ้าจากบริเวณที่ลึกกว่ามาใช้

การปลูกพืชชนิดใดก็ตาม ผู้ปลูกควรรู้ถึงความต้องการน้ำของพืชนั้น ต้นไม้บางอย่างชอบให้ดินปลูกชื้นอยู่เสมอจึงต้องรดนํ้าบ่อยๆ แต่บางชนิดชอบให้ดินแห้งก่อนที่จะรดน้ำอีกครั้งจึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย การปลูกไม้กระถางเป็นจำนวนมาก ควรสังเกตอาการของต้นไม้ก่อนให้น้ำว่าแม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน ถ้าเจริญเติบโตไม่พร้อมกัน ย่อมต้องการน้ำไม่เท่ากันด้วย

ถ้าพืชได้รบน้ำมากเกินไปจะเหี่ยว เพราะนํ้าแทนที่อากาศในดิน รากพืชไม่มีอากาศหายใจทำ ให้ไม่เติบโตพอที่จะดูดน้ำไปเลี้ยงลำต้นได้ แต่ถ้าพืชได้รับน้ำน้อยเกินไปต้นก็เหี่ยวเหมือนกัน เนื่องจากน้ำในดินมีไม่พอให้รากดูดไปเลี้ยงลำต้น เมื่อเห็นต้นไม้เหี่ยวจึงควรตรวจดูเครื่องปลูกว่าแห้งเกินไป หรือแฉะเกินไปหรือไม่ ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องโรคที่ทำลายระบบรากซึ่งทำให้เกิดอาการเหี่ยวได้ด้วย

วิธีการให้น้ำ

1. ให้นํ้าเหนือดิน เช่น รดด้วยสายยาง บัวรดนํ้า

2. ให้นํ้าจากข้างล่าง (sub irrigation) เช่น เอากระถางวางในภาชนะที่ใส่นํ้า ให้นํ้าถูกดูดขึ้นไปในกระถางจนซึมถึงผิวเครื่องปลูก วิธีนี้ใช้กับไม้กระถาง เมื่อน้ำซึมถึงผิวหน้าเครื่องปลูกให้ยกออกจากภาชนะทันที อีกวิธีหนึ่งคือ ปล่อยนั้าเข้าตามร่อง(furrow irrigation)

3. ให้น้ำด้วยระบบฝนโปรย (sprinkler) โดยน้ำผ่านมาทางท่อน้ำใช้ความดันอัดน้ำออกมาทางหัวฉีด

4. การให้น้ำแบบหยด (trickle) โดยให้น้ำมาตามท่อใหญ่ แยกผ่านท่อเล็ก แล้วหยดลงบนเครื่องปลูกในกระถางที่วางไว้ วิธีนี้สามารถควบคุมการหยดของน้ำให้มากหรือน้อยได้ตามต้องการ แต่อาจเกิดปัญหาเมื่อน้ำไม่สะอาดทำให้ท่ออุดตัน วิธีนี้ลงทุนสูง ควรให้กับพืชที่ปลูกเป็นจำนวนมากที่ต้อง การความสะอาดและประหยัดแรงงาน เช่น ในการผลิตไม้ดอกเป็นการค้า

อนึ่งการให้น้ำไม่ว่าวิธีใด ควรให้นํ้าชุ่มลึกลงไปในดิน 3-4 นิ้วเป็นอย่างน้อย

การให้น้ำไม้กระถาง

1. ควรรดน้ำให้เฉพาะตรงโคนต้น แทนที่จะรดฉีดใบให้ชุ่ม เพราะถ้าฉีดถูกพุ่มใบ พุ่มใบจะกระจายน้ำออกจากกระถางทำให้น้ำไม่ถึงระดับราก

2. ผู้ปลูกบางคนบ่นว่ารดน้ำทุกวันแต่ต้นไม้ยังเหี่ยว เป็นเพราะขณะรดน้ำไม่สังเกตว่าดินที่ปลูกแห้งและหดตัวหนีขอบกระถาง เผอิญตอนรดน้ำรดลงไปตรงช่องว่างใกล้ขอบกระถาง ทำให้พาไหลลงรูที่ก้นหมดไม่ชุ่มระดับราก วิธีแก้ก็คือ พรวนดินให้ฟูเต็มกระถางใหม่แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

3. ไม่ควรใช้หัวฉีดที่ให้นํ้าแรงมาก ซึ่งจะชะหน้าดินออกจากกระถาง ทำให้รากลอยและแห้ง ควรใช้น้ำที่ไม่แรงนัก รดช้าๆ จนชุ่ม

การรดนํ้าควรรดน้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย บางคนแนะนำให้รดนํ้าตอนเช้าเพื่อพืชจะได้นำไปสังเคราะห์อาหารเมื่อได้แสงแดด บางคนก็แนะนำให้รดน้ำตอนเย็น เพื่อชดเชยกับที่ใช้ไปตลอดทั้งวัน ทางที่ดีควรรดนํ้าแล้วปล่อยให้ใบแห้งก่อนค่ำเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้ง่ายในขณะที่ใบพืชชื้น การรดน้ำเวลาใดจึงขึ้นกับความสะดวกและการพิจารณาของผู้ปลูก แต่ในฤดูร้อน การให้น้ำวันละครั้งไม่พอ ควรรดให้ทั้งเช้าและเย็น

เมื่อได้ความรู้เกี่ยวกับดิน ปุ๋ย และการให้น้ำอย่างย่อๆ แล้ว จะพอสรุปได้ว่าปัญหาที่พบเสมอ กับไม้ดอกคือ ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง อาการของต้นและใบไม่เป็นปกติ หรือเพาะเมล็ดลงในดินแล้วไม่งอกนั้น เกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 3 สาเหตุคือ

1. ปัญหาทางเคมีของดิน เกิดขึ้นเพราะมีอะไร “มากไป” หรือ “น้อยไป” เช่น ดินเป็นด่างมากไป เป็นกรดมากเกินไป มีธาตุนั้น-ธาตุนี้น้อยไปหรือมากไป รดน้ำมากหรือน้อยเกินไป ใส่ปุ๋ย มากเกินไปหรือน้อยเกินไป

2. ปัญหาทางกายภาพของดิน เกี่ยวกับโครงสร้างของดิน เช่น ดินแน่นเหนียว ทำให้ ไถพรวนยาก หรือดินเป็นทรายทำให้แห้งเร็ว เก็บนํ้าไม่อยู่ สาเหตุและวิธีแก้ไขได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องดิน และการปรับปรุงดิน

3. ปัญหาทางชีววิทยาของดิน เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่มีชีวิตในดิน เช่น เชื้อรา เชื้อบักเตรีทำให้เกิดใบจุด รากเน่า ต้นเหี่ยว นอกจากนี้ ยังมีไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปม การแก้ไขในข้อนี้ ทำได้โดย

ก. ใช้ยาป้องกันและกำจัด

ข. ใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค

ค. ให้ปุ๋ยเพื่อให้ต้นพืชแข็งแรง สามารถด้านทานโรคได้ดี

ง. ไม่ปลูกพืชซ้ำที่เดิม

จ. ปลูกพืชจำนวนมากกว่าที่ต้องการใช้ เผื่อการถูกทำลาย