การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดิน

บ่อดินที่จะใช้เพาะเลี้ยงไรแดง ควรมีขนาดประมาณ 200-800 ม.2 โดยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้

1. กำจัดสิ่งรกบริเวณขอบบ่อ ศัตรูต่างๆ ของไรแดง ประมาณ 2 วัน

2. เติมน้ำกรองลงบ่อให้มีระดับน้ำสูงจากพื้นบ่อ ประมาณ 25-40 ซม. พร้อมกับเติมปุ๋ย และอาหารลงไป

3. สูตรอาหารที่ใช้ดังนี้

  บ่อ 200 ม.2 บ่อ 800 ม.2
ปูนขาว 15 กก 60 กก.
อามิ-อามิ 25 ลิตร 100 ลิตร
NPK (16-20-0) 2.5 กก. 10 กก.
ยูเรีย 1.2 กก. 5 กก.

ถ้าไม่มี อามิ-อามิ ให้ใช้มูลไก่แทนประมาณ 80 กก./800 ม.2 แล้วใส่น้ำเขียวประมาณ 2 ตัน ถ้าไม่มีน้ำเขียวก็หมักนํ้าทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน

4. เมื่อนาในบ่อมีสีเขียวแล้วให้เติมเชื้อไรแดงอย่างดี ประมาณ 2 กก.

5. ไรแดงจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในวันที่ 4-7 จึงควรเก็บเกี่ยวไรแดงให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้นไรแดงจะเริ่มจะลดน้อยลง จึงควรเติมอาหารลงไป อาหารที่ควรเติมระยะนี้ ควรจะเป็นพวกย่อยสลายเร็ว เช่น น้ำถั่วเหลือง น้ำเขียว รำ เลือดสัตว์ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ต่างๆ และมูลลัตว์ เป็นต้น โดยเติมอาหารลดลงไปจากเดิมครึ่งหนึ่ง ไรแดงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกภายใน 2-3 วัน และจะกลับลดจำนวนลงไปอีกก็เติมอาหารลงไปเท่ากับครั้งที่ 2 ในกรณีนี้การเกิดไรแดงจะลดจำนวนลงมาก ถึงจะเติมอาหารลงอีก ไรแดงก็จะไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใส่อาหาร ผลผลิตที่ได้ และเวลา

ที่เสียไปหลังจาก 15 วันแล้ว จึงควรเริ่มการเพาะเลี้ยงไรแดงใหม่

การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อดินแบบพื้นบ้านอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสมควรจะได้กล่าวถึงก็คือ การเพาะแบบพื้นบ้านโดยวิธีการง่ายๆ โดยอาสัยหลักการเพาะเลี้ยงไรแดงโดยใช้น้ำเขียว กล่าวคือ ใช้น้ำที่ระบายจากบ่อปลาดุกหรือบ่อเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับสัตว์อยู่แล้วมาขังไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้กลายเป็นน้ำเขียวเข้มข้น แล้วเติมน้ำ

เชื้อไรแดงลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ไรแดงจะขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อจากนั้นก็เก็บเกี่ยวเรื่อยๆ จนกระทั่งไรแดงเหลือน้อยหรือเกิดน้อย ก็จัดการสูบเอาน้ำในบ่อไรแดงออกประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วปล่อยน้ำที่มาจากบ่อเลี้ยงปลาหรือบ่อเลี้ยงแบบผสมผสานมาเพิ่ม ทำซ้ำแบบเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเรื่อยๆ ก็จะได้ไรแดงที่ลงทุนน้อยที่สุด

การลำเลียงขนส่งไรแดง

การขนส่งไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดปทุมธานี (ทวีและคณะ 2530) ได้ทำการทดลองและพบว่า การขนส่งไรแดงนั้นควรลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของไรแดง โดยบรรจุไรแดงในอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานต่างๆ ในตัวให้น้อยที่สุด ในระหว่างการลำเลียงนั้นควรให้อุณหภูมิภายในถุงลดลงอย่างช้าๆ ไม่รวดเร็วและช่วงกว้างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไม่มากนัก จนเป็นอันตรายต่อไรแดงการขนส่งไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันควรทำดังนี้ คือ

1. การขนส่งไรแดงโดยวิธีนำไรแดงแช่น้ำแข็งช่วง 1-2 วินาที เพื่อลดกิจกรรมและระบบการเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) ในตัวเอง แล้วรีบบรรจุในน้ำสะอาดและมีน้ำแข็งคลุมรอบกล่องเป็นวิธีที่ดีที่สุด

2. การขนส่งไรแดงในระยะใกล้ๆ 2-3 ชม. นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ไรแดงแช่ในน้ำแข็ง แต่นำไรแดงมาบรรจุในน้ำสะอาดแล้วอัดออกซิเจน คลุมน้ำแข็งรอบๆ แล้วขนส่งไรแดงในรถที่มีเครื่องปรับอากาศก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากยิ่งขึ้น

3. การลำเลียงไรแดงในลักษณะแช่แข็งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเช่นเดียวกัน โดยเก็บไรแดงในตู้เย็นจนมีลักษณะแข็ง วิธีนี้สามารถเก็บไว้นานและยังสดอยู่เสมอ แต่สัตว์น้ำวัยอ่อนจะชอบกินไรแดงสดมากกว่าไรแดงที่แช่แข็ง การให้อาหารลูกปลาลูกกุ้งวัยอ่อนจึงควรให้ครั้งละน้อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียได้ง่าย