Month: March 2011

การปลูกกล้วยและการขยายพันธุ์

 

กล้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn.

(Sym.M.paradisiaca var. sapientum

(L.)O.Ktze)

ชื่ออื่น ๆ

ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นสูงมาก สูงได้ถึง 5 เมตร  มีลำ

ต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้าและมีส่วนที่อยู่บนดินเป็นลำอวบดูคล้ายต้น  ซึ่งเกิดจากกาบใบหุ้มซ้อมกันแน่นแต่กาบใบนั้นจะมีส่วนต่อเป็นก้านใบซึ่งมีลักษณะค่อนข้างกลมหนา ด้านบนเป็นร่องลึก ก้านใบนี้อาจยาวได้ถึง 1 เมตร  ตัวใบมักเป็นรูปขอบขนาน  ปลายใบเร็เล็กน้อย แกนกลางใบใหญ่เห็นได้ชัดเจน เส้นใบขนานกันในแนวจากเส้นแก่นใบไปหาริมใบ ตัวใบยาว1-3 เมตร กว้าง 20-40 ซม.  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดในลักษณะห้อยหัวลงยาว 30-60 ซม.เรียกว่าปลีซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยออกเรียงกันเป็นแผง  แต่ละแผงมีกลีบประดับขนาดใหญ่สีม่วงแดง  เรียกว่ากาบหุ้มรองรับอยู่  แต่ละกลุ่มดังกล่าวมักอยู่เรียงสลับกันโดยรอบ  … Read More

บ่ออนุบาลลูกสัตว์น้ำแบบชาวบ้าน

สมศักดิ์  ล้วนปรีดา


ชาวบ้านหรือเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  จัดสร้างสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเขาขึ้นมาด้วยความคิดที่ว่า  ใช้ของและอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย แรงงานจากครอบครัว หรือแรงงานจากเพื่อนบ้าน ที่สำคัญมากคือถูกเงินในการลงทุน

บ่ออนุบาลลูกสัตว์น้ำ ฯ ที่ผมจะเขียนวันนี้  เป็นผลจากที่ผมต้องเดินทางอยู่เป็นประจำ  ได้ไปเห็นและได้ไปรู้มาจากพื้นที่  จังหวัดฉะเชิงเทรา  จังหวัดชลบุรี  จังหวัดสมุทรปราการ  จังหวัดสุพรรณบุรี  ฯลฯ  ส่วนรายละเอียดการก่อสร้างก็เก็บความมาจากเกษตรกรฯ ที่ดำเนินการในจังหวัดดังกล่าว

พื้นที่ที่เหมาะสมที่จะอนุบาลลูกสัตว์น้ำ ฯ  ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำเค็ม น้ำกร่อย และน้ำจืด  เพราะภาวะในการอนุบาลนั้นต้องการ น้ำทั้ง 3 สภาวะ  เกษตรกรฯ ในพื้นที่จังหวัดดังกล่าวจึงเหมาะสมในการเลือกสถานที่  ส่วนผู้ที่มีทุนรอนสูงหรือจะเรียกว่าเกษตรกร ฯ ระดับกลาง หรือ ระดับสูงจะเลือกสถานที่เป็นอย่างอื่นก็ได้ แต่การลงทุนนั้นในการดำเนินการจะสูงด้วย

ขอเริ่มด้วยพื้นที่ที่จะดำเนินการ  มีพื้นที่ประมาณ 100 … Read More

ช่องทางในการจำหน่ายผลสตรอเบอรี่

การจำหน่ายผลสตรอเบอรี่


ชาวสวนสตรอเบอรี่ที่แม่สาย(บ้านน้ำจำ) สามารถจำหน่ายผลสตรอเบอรี่สดได้หลายทางดังนี้

1.  จำหน่ายผลสดปลีกกับนักทัศนาจรที่เที่ยวแม่สาย  โดยจะมีการสร้างร้านชั่วคราวขึ้นบริเวณริมถนนพหลโยธิน  เป็นจำนวนหลายสิบร้าน  ชาวสวนจะนิยมวิธีขายวิธีนี้  เพราะขายได้ราคาดีได้เงินสดและเสียหายน้อย

2. จำหน่ายโดยส่งผลสดเข้าจำหน่ายใน กทม. โดยทางรถทัวร์ ซึ่งเราจะเห็นสตรอเบอรี่จากแม่สายนี้นั่นเองที่วางขายอยู่โดยทั่วไปใน กทม. ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต  จนถึงหาบเร่แผงลอย  โดยเฉพาะในช่วงที่มีผลสตรอเบอรี่ออกมาก ๆ ในแต่ละวันจะมีสตรอเบอรี่จากแม่สายเข้าสู่ กทม.ประมาณวันละ 2,000 กก.  การขายโดยวิธีนี้ชาวสวนจะได้ราคาพอสมควร แต่มักจะมีผลผลิตเสียหาย  เนื่องจากการขนส่ง และอาจมีปัญหาด้านการเงิน

3. จำหน่ายเข้าโรงงานแปรรูปผลสตรอเบอรี่ที่จำหน่ายโดยวิธีนี้มักเป็นผลสตรอเบอรี่ที่ด้อยคุณภาพ  มีตำหนิ หรือในช่วงที่ผลสตรอเบอรี่ออกมากจนล้นตลาด ชาวสวนจำเป็นต้องขายให้กับผู้ที่รับซื้อ  เพื่อส่งให้โรงงานแปรรูปอาหารอีกทีหนึ่ง การขายโดยวิธีนี้มักจะได้ราคาต่ำ  และต้องเสียเวลามาแต่งและปาดขั้วผลออก  แต่ชาวสวนก็ยังจำเป็นต้องขายโดยวิธีนี้

ในปีที่ผ่านมา  ราคาผลสตรอเบอรี่สดที่ชาวสวนได้รับ ประมาณได้ดังนี้… Read More

การปลูกสตรอเบอรี่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี

การปลูกสตรอเบอรี่


ชาวสวนสตรอเบอรี่จะเริ่มปลูกสตรอเบอรี่เพื่อเอาผล  ในช่วงกลางเดือน ต.ค. ถึง กลางเดือน พ.ย.  โดยใช้ระยะปลูก 30-50 ซม.x30-50 ซม.  ซึ่งจะปลูกได้ 6,000-10,000 ต้นต่อไร่  การใช้ปุ๋ยกับสตรอเบอรี่มักจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15,13-13-21,12-12-17 x 2,8-24-24 โดยมีการใส่ครั้งแรกขณะปลูก  และแบ่งใส่เป็นระยะ ๆ ตลอดฤดูปลูก  ทั่วๆ ไปจะใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ 100-200 กก./ไร่

Read More

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกสตรอเบอรี่

การเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ รวมทั้งการออกดอกผลของสตรอเบอรี่ในประเทศไทย  สามารถอธิบายอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้

ช่วงเดือน พ.ค. ถึงเดือน ต.ค. เป็นช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมที่ต้นสตรอเบอรี่จะผลิตต้นไหลออกมาจากตาที่อยู่บริเวณซอกใบ  ซึ่งช่วงนี้จะไม่ออกดอกออกผล  พอหลังจากเดือน ต.ค. ตาข้างของต้นสตรอเบอรี่แทนที่จะเกิดเป็นต้นใหม่  ก็จะกลายเป็นตาดอกและผล  เนื่องจากอุณหภูมิช่วงนี้ต่ำและกลางวันสั้น ดังนั้นชาวสวนสตรอเบอรี่จึงอาศัยธรรมชาติดังกล่าว  คือในช่วงเดือน มิ.ย.ถึงเดือน ต.ค. ชาวสวนก็จะนำถุงพลาสติค ขนาด 3×5 นิ้ว บรรจุดินเต็มนำไปรองรับต้นไหลใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น พอถึงปลายเดือน ต.ค. ก็ตัดต้นไหลที่มีรากเจริญอยู่ในถุงดีแล้วออกจากต้นแม่  นำไปปลูกเพื่อเอาผลต่อไป ซึ่งสตรอเบอรี่จะเริ่มออกดอกในเดือน พ.ย. และเก็บผลได้ตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.-เม.ย.

Read More

ประวัติการปลูกสตรอเบอรี่ในเมืองไทย

การปลูกสตรอเบอรี่ที่แม่สาย


ประวัติการปลูกสตรอเบอรี่ในเมืองไทย

ก่อน พ.ศ.2512  ในจังหวัดเชียงใหม่มีการปลูกสตรอเบอรี่  แต่ยังไม่แพร่หลาย  อาจเนื่องมาจากพันธุ์ที่ใช้ปลูกกัน(ที่เรียกว่าพันธุ์พื้นเมือง) ไม่เหมาะสม คือ ผลผลิตต่ำ ขนาดเล็ก รสชาติไม่ดี รวมทั้งเนื้อนิ่มช้ำง่าย ไม่สามารถส่งไปจำหน่ายไกล ๆได้  นอกจากนั้นวิธีปลูกปฏิบัติก็ไม่เหมาะสมรวมทั้งความรู้ในเรื่องโรคและแมลง  ของสตรอเบอรี่ยังไม่กว้างขวางพอทำให้อาชีพการทำสวนสตรอเบอรี่อยู่ในวงจำกัด จนกระทั่งในปี พ.ศ.2512 ภาควิชาพืชสวนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับโครงการหลวงภาคเหนือทำพันธุ์สตรอเบอรี่พันธุ์ดีจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูก  เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสม ณ สถานีไม้ผลเมืองหนาว ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนหลายสิบพันธุ์และได้พบว่ามีพันธุ์สตรอเบอรี่หลายพันธุ์ที่ดีกว่าพันธุ์ที่ปลูกกันมาดั้งเดิม (พันธุ์พื้นเมือง)  ได้แก่พันธุ์เบอร์ 13 (แคมบริดจ์เฟเวอริท), เบอร์ 16 (ไทโอก้า, เบอร์ 20 (ซีกัวยา)  และในปี พ.ศ.2516  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานสตรอเบอรี่พันธุ์ดีทั้งสามพันธุ์นี้แก่ชาวสวนนำไปปลูกกัน จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน … Read More

การทำข้าวเกรียบกุ้งสงขลา

เมืองไทยในอดีตนั้น  ร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติ  อย่างล้นเหลือสมกับที่ศิลาจารึก  ของพ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวไว้ว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว  ซึ่งตรงกับภาษาฝรั่ง  ที่บรรดาไกด์นำเที่ยวอธิบายให้พวกฝรั่งที่ไปเที่ยวสุโขทัยฟังว่า In the water there are fish, in thefields there is rice คนในสมัยกรุงสุโขทัย  อยุธยา กรุงเทพฯ ยุคนั้นจึงได้กิน แต่ กุ้ง หอย ปู ปลา สดๆ ชนิดที่พอขึ้นจากน้ำก็ทำกินกันเลย  เพราะที่ไหนมี คู คลอง หนองบึง  ที่นั่นก็จะมีสารพัดสัตว์น้ำให้เลือกจับตามชอบใจ

ก็ไม่ต้องดูอื่นดูไกลหรอก  เอาแค่สมัยเมื่อ 40 กว่าปีนี้เองเจ้าของร้านค้าแถว ๆ ท่าช้างวังหลวง  ได้เล่าให้ฟังว่าตอนที่ยังเป็นเด็ก … Read More

วิธีการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูของกุหลาบ

แมลง

1. แมลงปีกแข็ง (Beetle)  บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวดำและสีน้ำตาล  มีขนาดลำตัวยาวประมาณ ½-1 ซม.  ออกหากินในเวลากลางคืน ระหว่าง 1-3 ทุ่ม  โดยการกัดกินใบกุหลาบในเวลากลางวันอยู่ตามกอหญ้า  ป้องกันโดยมีโปรแกรมฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเช่น คลอเดน หรือเซวิน และกำจัดด้วยการดักจับตัวแมลงด้วยมือ

2.  ผึ้งกัดใบ (Cutter bee)  จะกัดใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเรียบเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคม ๆ เป็นรูปโค้ง (ส่วนของวงกลม)  อย่างสม่ำเสมอ

3.  เพลี้ยไฟ (Thrips)  เป็นแมลงปากดูดตัวสีน้ำตาลถึงสีดำ  ตัวอ่อนมีสีขาวนวล  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก  ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน  ระบาดมากในฤดูร้อน  ป้องกันโดยมีโปรแกรมฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเป็นประจำ  อาจใช้ โตกุไทออก คลอเดน … Read More

โรคราสนิม,โรคแอนแทรคโนส,โรคหนามดำ,โรคราสีเทาในกุหลาบ

3.  โรคราสนิม (rust)  โรคนี้มักจะเกิดกับกุหลาบในช่วงฤดูฝนเท่านั้น  ไม่ทำลายร้ายแรงมากนัก  มักจะเกิดกับใบแก่ โดยมีจุดสีส้มปรากฎอยู่ทางด้านบนของใบ  ถ้ามองผ่านไปทางใต้ใบจะเห็นเป็นจุดสีเหลือง  ถ้าเป็นมาก ๆ จะทำให้ใบเหี่ยวและร่วงหล่นไป ป้องกันโดยการฉีดพ่นยาที่มีส่วนผสมของกำมะถัน

4. โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) พบในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับโรคราสนิม  จะเกิดจุดสีน้ำตาลเป็นวงกลมขนาดประมาณ ¼ นิ้ว  วงนี้จะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวขอบสีม่วง เกิดกับใบอ่อนหรือกิ่งอ่อนป้องกันโดยมีโปรแกรม พ่นยากันราที่ใช้กับโรคอื่นๆ อยู่แล้ว

5.  โรคหนามดำ (brown canker) เกิดกับหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ  ตามกิ่งก้านทำให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด  ยาที่ฉีดพ่นป้องกันโรคราอื่น ๆ จะมีผลคุ้มครองโรคนี้ด้วย

6.  โรคราสีเทา (gray woldrot)  มักจะเกิดกับดอกกุหลาบในขณะที่ยังตูมอยู่  จะระบาดเฉพาะในที่ที่ มีอากาศเย็นและชื้นเท่านั้น … Read More

โรคใบจุดในกุหลาบและวิธีการป้องกัน

2.  โรคใบจุด (Black spot) เป็นโรคที่ผู้เลี้ยงกุหลาบรู้จักมักคุ้นมากเพราะเป็นกับกุหลาบเกือบตลอดปี  ซึ่งทำความเสียหายอย่างร้ายแรง  ใบกุหลาบที่เป็นโรคนี้  จะมีจุดวงกลมสีดำ ที่ผิวด้านบนของใบ  จุดนี้จะขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝน  ที่มีฝนตกสม่ำเสมอ หรือในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างมาก ๆ ขนาดของวงอยู่ระหว่าง ½ -1 ซม. ในวงกลมนี้ ประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กคล้ายขนปุย ๆ และมีก้อนสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่บนเส้นใยด้วย  นอกจากบนใบแล้ว  ตามก้านใบจะพบแผลวงกลมในขณะเดียวกัน ทำให้ใบเหลืองและร่วงไปในที่สุด  มีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

เกิดจากเชื้อราที่เรียกว่า “ดิฟโพลคาร์พอน โรเซ วู๊ดฟ์” (Diplocarpon rosae walf) จะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ในลักษณะอากาศร้อนและชื้น  ฉะนั้นสภาพของเมืองไทยจึงช่วยให้เชื้อนี้ระบาดอย่างรวดเร็ว  โดยสปอร์ของเชื้อรา จะปลิวไปตามลมหรือการชะล้างของน้ำ … Read More