Month: April 2011

ชีวประวัติของแมลงดานา

1.  รูปร่างโดยทั่วไป เป็นแมลงขนาดใหญ่ ปีกแข็งตอนโคนและอ่อนในตอนปลาย  ปลายปีกที่เป็นแผ่นบาง ๆ มีเส้นลวดลายหลายเส้น  ปีกมี 2 คู่ คู่แรกแข็งตอนโคนอ่อนตอนปลายคู่ที่ 2 อยู่ด้านล่างเป็นแผ่นบาง  ใช้สำหรับการบิน มีตา 2 ตา เป็นช่องเล็ก ๆ รวมกันอยู่ด้านข้าง มีหนวดอยู่ข้างตาแต่สั้นมาก มีขา 6 ขา ขาคู่หน้าเป็นขาแข็งแรงใช้สำหรับจับเหยื่อ  ขาคู่กลางเป็นขาเหมือนแมลงทั่วไป  ส่วนขาคู่ที่สามเป็นแผ่นบางมีขนที่ไม่เปียกน้ำมากมายใช้สำหรับว่ายน้ำ  ที่ด้านก้นจะมีท่อโผล่ขึ้นมาเล็กน้อยใช้สำหรับการหายใจ  ตัวผู้จะมีต่อมผลิตกลิ่นอยู่ระหว่างขาคู่ที่ 2 บริเวณกลางท้องมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย

2.  การผสมพันธุ์ แมลงดานามีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนตุลาคม  โดยตัวผู้จะจับอยู่บนหลังของตัวเมียแล้วผสมพันธุ์กัน  จากนั้นตัวเมียจะปล่อยวุ้นขาว ๆ ออกมาสำหรับยึดไข่ให้ติดกับยอดไม้ยอดหญ้าที่มันเกาะอยู่  ทำให้ไข่ติดกับยอดหญ้าเป็นแถว ๆ … Read More

ผลสรุปจากการทดลองเลี้ยงแมลงดานา

จากการทดลองเลี้ยงแมลงดานาเท่าที่สรุปผลแล้วมีดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1

ไข่ (Eggs)  โดยการเก็บไข่แมลงดาที่มีอายุประมาณ 2-3 วัน ในบริเวณหลังเรือนเพาะชำของโรงเรียนเกษตรกรรมปราจีนบุรี  ซึ่งมีขนาดกล้าง 0.1 ซม. ยาว 0.2 ซม. มีสีน้ำตาลเข้ม ปลายเป็นขีด ๆ และจุดที่ยอดใน 1 รังมีประมาณ 165-180 ฟอง ลักษณะการเรียงของไข่จะเรียงกันเป็นแถว ๆ จำนวนที่นำมาทดลองในครั้งนี้มี 6 รัง ด้วยกัน  โดยไปหาไข่แมลงดาตามกอหญ้า  เมื่อเห็นแล้วก็นำเอามาเลี้ยง  โดยเอามาฟักในอ่างเคลือบมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 ฟุต สูงประมาณ 2 ฟุต  ในอางนี้ก็ใส่ดินลงไปสักครึ่งหนึ่งของอ่าง  แล้วเอาน้ำใส่สูงประมาณ 3-5 … Read More

ลักษณะทั่วไปของแมลงดานา

ลักษณะทั่วไปของแมลงดานา

ตา (Eye) มีตาใหญ่แข็งนูนกลมรีสีดำเป็นมันวาว 1 คู่ เป็นตารวมคอมพาวนด์อายส์ (Compound eyes) คือประกอบด้วย ตาหกเหลี่ยมเล็ก ๆ หลายร้อยตารวมกันเข้าเป็นตาใหญ่  ไม่มีตาเดี่ยว (Single eye)

ขา (Legs) แมลงดานา มี 6 ขา และขา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ขาที่ใช้สำหรับจับเหยื่อเป็นอาหาร และขาสำหรับใช้ว่ายน้ำ

ขาคู่หน้าหรือขาคู่ที่ 1  เป็นขาสำหรับใช้จับเหยื่อ ประกอบด้วยค๊อคซ่า (Coxa) และฟีเมอร์ (Femur) ที่ใหญ่และแข็งแรง

ส่วนทิเบีย (Tibia) จะเล็กเรียวโค้งเล็กน้อย … Read More

ผลการทดลองเลี้ยงแมลงดานาที่ปราจีนฯ

ผลการทดลองเลี้ยงแมลงดานาที่ปราจีนฯ

เอกชัย  พฤกษ์อำไพ

นักวิชาการ

สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ

ถ้ามีข่าวเกี่ยวกับตำรวจกองปราบยกกำลัง  เข้าทะลายซ่องครั้งใด ผู้ต้องหาก็เห็นจะหนีไม่พ้น พ่อเล้า แม่เล้า โสเภณี และแมงดา  แต่แมงดาที่คุมซ่องนั้น  เป็นคนละพันธุ์กับแมงดาทะเลและแมลงดานา  เพราะเป็นแมงที่หากินอยู่แต่ในซ่อง หรือ สถานที่ที่ค้าประเวณีโดยเฉพาะ

สำหรับเหตุผลที่คนโบราณท่านเปรียบเทียบมนุษย์ผู้ชายที่ทำมาหากินบนความทุกข์ยากลำบากและคราบน้ำตาของผู้หญิงสาว ๆ ว่าแมงดาก็เพราะทำตัวเหมือนแมงดาทะเล  ตัวผู้ที่คอยแต่จะเกาะหลังตัวเมียลูกเดียว แต่ภายหลังทำไมจึงเกิดเพี้ยน  กลายเป็นแมงดาปีกทองฝังเพชรไปได้อย่างไรก็ไม่รู้  ถ้าไม่คิดก็ไม่แปลก  แต่ถ้าคิดแล้วยิ่งแปลกเพราะเกิดสัตว์ประหลาดขึ้นมาใหม่อีกพันธุ์คือจะเป็นแมงดาทะเลก็ไม่ใช่ เพราะนอกจากจะมีกระดองแล้วยังมีปีกบินได้เสียอีก  จะเป็นแมลงดานาก็ไม่เชิง  เพราะแมลงดานารูปร่างหน้าตาเป็นแมลงถึงจะมีปีกก็จริงแต่ไม่มีกระดอง และอาศัยอยู่ในน้ำจืดแสดงว่าคนที่ต่อปีกต่อหางให้แมงดาในซ่องนั้นช่างเด๋อด๋าเสียจนไม่รู้ว่าสัตว์ทั้งสองประเภทนั้นมันไม่มีทางที่จะเหมือนกันได้เลยถึงแม้ว่า  แมงดาทะเลกับแมลงดานาจะอยู่ในไฟลัมเดียวกัน คือ ไฟลัมอาร์โทร์โพด้า (Arthropoda) ซึ่งเป็นไฟลัมที่ใหญที่สุด

ในอาณาจักรของสัตว์  ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ที่มีกระดองหรือโครงกระดูกหุ้มอยู่ภายนอก  เช่น แมลงต่าง  ๆ กุ้ง … Read More

ปุ๋ยยูเรีย:ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย

1.  ปุ๋ยอินทรีย์คือปุ๋ยที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่สลายตัวแล้วจนพืชสามารถนำไปใช้ได้แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ

1.1  ปุ๋ยคอก ได้แก่ขี้วัว ขี้ควาย ขี้ม้า ขี้แพะ แกะ กระต่าย เป็ด ไก่ ห่าน นกกระทา ฯลฯ รวมทั้งอุจจาระและปัสสาวะของคนด้วย

1.2  ปุ๋ยหมัก ได้จากการเอาวัชพืชต่าง ๆ เช่น หญ้า บอน ตลอดจนใบไม้ใบหญ้า ฟางข้าว เปลือกถั่ว กากอ้อย ต้นข้าวโพด ต้นถั่ว เศษผัก มาหมักจนสลายตัว

1.3  ปุ๋ยพืชสด ได้จากการนำเมล็ดถั่วกระด้าง ปอเทือง มาหว่านลงในดินพอเริ่มออกดอกก็ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน… Read More

การปลูกมะม่วงมันค่อม

มะม่วงมันค่อมเป็นมะม่วงชนิดเดียวที่เตี้ยแคระอย่างแท้จริง ต้นจะไม่เติบโตสูงใหญ่มากเหมือนต้นมะม่วงพันธุ์อื่น ๆ ปลูกไปตั้ง 20-30 ปี ก็ไม่สูงและไม่ใหญ่มากนัก มะม่วงเศรษฐกิจระบบปลูกชิดนี้ เรามีความประสงค์จะรักษาความเตี้ยของต้นไว้ไม่ให้สูงเกินมือเอื้อม ทำงานได้สะดวกและทั่วถึงตลอดต้น  ถ้าสูงเกินมือเอื้อมถึงเราจะต้องตัดแต่งให้มันเตี้ยลงจนมือเอื้อมถึง  ถ้าเป็นพันธุ์มะม่วงที่สูงมาก สูงเร็ว เราก็จะต้องเสียเวลาในการตัดแต่งมากและบ่อย ๆ เป็นการสิ้นเปลืองแรงงานและเงินทองมากโดยไม่จำเป็น

ดังนั้นจึงได้มีการทดลองใช้มะม่วงมันค่อม  ซึ่งเป็นมะม่วงชนิดเดียวที่เตี้ยแคระอย่างแท้จริงเป็นต้นตอและใช้มะม่วงน้ำดอกไม้ทวายเบอร์ 4 เป็นยอด  ซึ่งทางชมรมผู้พัฒนามะม่วงแห่งประเทศไทย ได้ทดลองแล้วเห็นว่าเหมาะสมที่สุดในอันที่จะปลูกเป็นมะม่วงเศรษฐกิจระบบปลูกชิดมากกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นใด  ทั้งในด้านคุณภาพของต้น เช่นปลูกและเลี้ยงดูง่ายเติบโตเร็วและให้ผลดก และให้ผลได้ในเวลาเร็ววันเท่าที่ผมเคยทดลองได้ผลมาแล้วปลูกต้นตอประมาณ 1 ปี จึงติดตาหลังจากติดตาแล้วประมาณ 6 เดือน มันก็จะตกผล  ใช้เวลาเพียงประมาณ 1 ปีครึ่งก็ได้ผลแล้ว ส่วนทางด้านคุณภาพของผลทางมาตรฐานสากลตั้งไว้ถึง 13 ข้อ มะม่วงน้ำดอกไม้ทวายเบอร์ 4 มีความดีเข้าขั้นมาตรฐานถึง … Read More

มะเขือเทศ:การปลูกผักสวนครัวแบบแขวน

สวนครัวแขวน

สุนทร  ปุณโณทก

ทุกวันนี้เราควักเราล้วงเอาวิชาธรรมจริยาว่าด้วยการเจียมตน ประหยัด มัธยัสถ์ ฯลฯ  เก็บหอมรอมริบมาใช้จนหมดสิ้นก็แล้ว  สถานภาพในครอบครัวก็ยังไม่กระเตื้องดีขึ้น  ต้องนำวิธีทุนอัฐประหยัดเงินมาใช้ ต้องหาวิธีเพิ่มพูนรายได้ช่วยเหลือจุนเจือมาประพฤติปฏิบัติ ฉบับนี้ขอแนะนำการทำสวนหลังบ้านต้านของแพง สักอย่างหนึ่งคือ การทำสวนครัวแขวน “ปลูกกินเองสิ้นปัญหาสารยาพิษ”

“ทำไม่ต้องปลูกผักแขวนล่ะ?” แม่บ้านวัยกลางคนผู้หนึ่งถามด้วยความสงสัย

“ที่ทางเดี๋ยวนี้คับแคบ  อีกทั้งหาเวลาว่างกันยาก ก็จับใส่กระถางหรือกะละมังปลูกแขวน มันเสียเลย  ห้อยหรือแขวนก็ได้ ตรงไหนก็ได้ ให้โดนแดดสักครึ่งวัน  ต่อไปนี้เรามุ่งประหยัด มากประโยชน์ โทษไม่มี เพราะเราปลูกของเราเอง  ควบคุมการใช้ยาฆ่าแมลงได้”

“เอ! ผักอะไรบ้างที่ปลูกแบบแขวนได้  แล้วผลผลิตจะเพียงพอไว้ใช้สอยหรือคะ”

“ได้แทบทั้งนั้นเป็นต้นว่า ต้นหอม ผักชี โหระพา กระเพรา สะระแหน่ แมงลัก … Read More

การปลูกพืชในดินเค็มชายทะเล โดยระบบการให้น้ำแบบหยด

การแก้ปัญหาการปลูกพืชในดินเค็มชายทะเล โดยระบบการให้น้ำแบบหยด

ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกรม

กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ดินเค็ม คือดินที่มีเกลือชนิดต่าง ๆ ผสมอยู่เป็นจำนวนมากจนมีผลกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของพืช  ทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผล

ดินเค็มในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของหินเกลือใต้ดิน และดินเค็มชายทะเลที่เกิดจากอิทธิพบของน้ำทะเล  ซึ่งจากการรายงานการสำรวจดินของกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน  ปรากฎว่ามีดินเค็มชายทะเลอยู่ถึง 1,509,137 ไร่ กระจายอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเลภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง  เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียว ถึงดินเหนียว การระบายน้ำไม่ดี  สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลน และที่รกร้างว่างเปล่า การใช้ประโยชน์ทางด้านกสิกรรมมีน้อย

โดยทั่วไปการปลูกพืชในดินเค็มให้ได้ผลนั้น  การจัดการน้ำนับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  วิธีการให้น้ำแก่พืชที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาการปลูกพืชในดินเค็มได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการให้น้ำที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้เป็นอย่างดี  และยังสามารถควบคุมไม่ให้ความเค็มในดินเป็นอันตรายต่อพืชได้อีกด้วย  หลักการของการให้น้ำแก่พืชที่ปลูกในดินเค็มคือ  … Read More

ว่านหางจรเข้ต้นไม้มหัศจรรย์

นิตยสาร “ชาวเกษตร” ฉบับที่ 21 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 26 ในหัวเรื่องเกษตรแดนไกล  ได้ลงเรื่อง “ต้นหางจรเข้” โดย คุณหรรษา  จักรพันธ์ ได้กล่าวถึงสรรพคุณของว่าหางจรเข้ไว้ถึง 25 ประการด้วยกัน  จะต้องขอกล่าวถึงว่านชนิดนี้กันอีกสักครั้งคงไม่ว่าอะไรกันนะ  ผมได้อ่านหนังสือ คู่มือการใช้ว่านหางจรเข้ ของโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง  ก็อดไม่ได้ที่จะนำมาขยับขยายเล่าสู่กันฟัง  เขามีอะไรดี ๆ หลายอย่างที่กล่าวถึงสรรพคุณของว่านหางจรเข้  ส่วนวิธีการใช้การปลูก ถ้าจะนำมากล่าวในที่นี้หน้ากระดาษคงจะไม่เพียงพอ  เลยลองสรุปให้เป็นตัวอย่างสักสอง-สามอย่างก็แล้วกัน  เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในตำบลหรืออำเภอที่ไกลออกไป  เพราะการสาธารณสุขนั้น ยังไม่สามารถเข้าไปได้ถึงจึงเป็นโอกาสของโครงการสมุนไพร  เพื่อการพึ่งตนเอง ก็แล้วกัน

น้ำยาที่ทำจากว่านหางจรเข้ ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ขนาดรุนแรงได้  โดยการทาน้ำเมือกจากต้นว่านหางจรเข้ ทาอยู่เสมอ ๆ ถ้าน้ำเมือกแห้ง  ก็ขูดวุ้นต่อจะมีน้ำเมือกออกมาอีก  … Read More

เทคนิคการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

เทคนิคการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

รศ.สุนทร  ปุณโณทก

บทบรรยาย  เนื่องในการอบรมไม้ดอกไม้ประดับ หลักสูตรพิเศษ แก่ประชาชน “งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ” ณ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 15  สิงหาคม  2527  เวลา 13.00 – 18.00 น.

งานเพาะปลูกพืชต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ พืชสวน หรือการป่าไม้ก็ตาม  สิ่งหนึ่งที่นับเป็นหัวใจของการเพาะปลูก  ซึ่งผู้ประพฤติปฏิบัติต้องมีความรู้ความเข้าใจ  มิเพียงแต่รู้จดรู้จำเท่านั้น  ยังต้องรู้แจ้งรู้จริง นั่นคือ “งานขยายพันธุ์พืช” ถ้ารู้หลักการขยายพันธุ์เป็นอย่างดีแล้ว  ความสำเร็จในอาชีพด้านการเพาะปลูกจะมีมากขึ้น

มนุษย์เรียนรู้การขยายพันธ์พืชมาช้านาน  ด้วยอาศัยการสังเกตพินิจพิเคราะห์อย่างให้ความสนใจ  สันนิษฐานว่าเดิมทีคงเก็บผลไม้ในป่าบริโภค  เมื่อเห็นว่าอร่อยไม่เป็นพิษเป็นภัย  จึงเก็บไปฝากลูกฝากเมียที่บ้าน  เมื่อกินเนื้อผลไม้หมดแล้ว  เมล็ดที่เหลือก็โยนทิ้งรอบบริเวณบ้านนั่นเอง  … Read More