Month: May 2011

เทคนิคการแขวนถังอาหารในการเลี้ยงไก่

เกษตรกรที่เลี้ยงไก่ในช่วงหน้าร้อนนี้ต้องทำใจสักนิด หากไก่ที่เลี้ยงจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าช่วงที่เลี้ยงปกติสักหน่อย  เพราะเมื่ออากาศร้อนไก่ก็จะเกิดความเครียดและกินอาหารได้น้อย ที่ร้ายกว่านั้นก็คือไก่ตาย ดังนั้นการเลี้ยงไก่ในเล้าให้ได้มากที่สุดน่าจะดีกว่า คือปล่อยเลี้ยงไม่ต้องให้หนาแน่นมาก เพราะยิ่งเลี้ยงหนาแน่นมากเปอร์เซ็นต์การตายก็ยิ่งสูงขึ้น  แค่เลี้ยงให้ได้น้ำหนักรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีก็น่าจะพอใจและน่าจะคุ้มกว่าแล้ว

สำหรับเทคนิคการแขวนถังอาหารนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรจะทำในช่วงที่ไก่มีอายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป  โดยจะเริ่มฝึกให้ไก่กินประมาณ 1-2 วัน ก่อนเข้าสัปดาห์ที่ 4 เมื่อไก่เริ่มปรับตัวได้แล้วจึงค่อยแขวนถังในช่วงกลางวันได้เต็มที่  ไม่ควรจะแขวนถังทันทีทันใด เพราะไก่จะหรับตัวไม่ทันและเครียด ต้องรอให้ไก่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนอาหารจากระยะที่ 1 เป็นระยะที่ 2 ก่อนจึงแขวนถัง ไก่ก็จะไม่เครียด

Read More

ดอกนุ่น: นุ่นเป็นพืชเส้นใยที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง

ดอกนุ่น

ดอกนุ่นจะออกเป็นช่อ  มีสีขาวหรือขาวปนเหลือง  เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันกลีบดอกมี 5 กลีบ  กระเปาะเมล็ดมี 5 กระเปาะ  ดอกนุ่นจะบานตอนเย็นใกล้ค่ำจนถึงตอนเช้า มีกลิ่นหอม มีน้ำหวานมาก จึงเหมาะสำหรับการเลี้ยงผึ้ง (ดอกนุ่น 10 ดอก ให้น้ำผึ้งประมาณ 1 ซีซี.) ดอกนุ่นจะบานประมาณเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม นุ่นอายุมากจะออกดอก และแก่ก่อนนุ่นอายุน้อย นุ่นเป็นพืชผสมตัวเอง  แต่อาจมีการผสมข้ามพันธุ์ได้โดยค้างคาว ผึ้ง และผีเสื้อกลางคืน  ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ดอกนุ่นจะไม่ผสมตัวเองและร่วง ในกรณีที่มีฝนตกขณะออกดอกก็ทำให้ดอกนุ่นร่วงเช่นเดียวกัน

นุ่นเป็นพืชเส้นใยที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง  ประเทศไทยเคยเป็นผู้ส่งออกปุยนุ่นมากเป็นอันดับ 1 ของโลก  ทำรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 200 ล้านบาท  แต่นับตั้งแต่ปี … Read More

อาหารเป็นพิษ กระเทียมช่วยได้

นอกจากกระเทียมจะสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล และลดระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้แล้ว  ยังช่วยป้องกันอาหารเป็นพิษได้ด้วย  เพราะในกระเทียมมีน้ำมันที่มีกลิ่นฉุน  ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาหารเป็นพิษขึ้นภายในระบบย่อยของคนเรา

การรับประทานกระเทียมเป็นประจำช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาหารเป็นพิษได้  จากการวัดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้พบว่า  ในขณะที่กระเทียมอยู่ในลำไส้จำนวนเพิ่มของแบคทีเรียชนิดธรรมดาจะเป็นไปอย่างปกติ  และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคจะถูกกำจัดไป  แบคทีเรียชนิดธรรมดามีอยู่จำนวนมากบริเวณลำไส้ส่วนล่าง  ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารและผลิตวิตามินเค

จากการใช้กระเทียมทดลองกับแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า ลิสเตเรีย รวมทั้งทดลองกับแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่เป็นต้นเหตุของอาหารเป็นพิษ เช่น ซัลโมเนลลา

คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของกระเทียมอยู่ที่สารอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารประเภทซัลเฟอร์หรือกำมะถัน นับเป็นตัวยาชนิดแรกที่มนุษย์เรานำมาใช้ในการต่อต้านแบคทีเรีย

ความเชื่อของชาวจีนเองก็ยืนยันว่า กระเทียมยังเป็นยาอายุวัฒนะ และยังเชื่อกันอีกว่ากระเทียมเป็นพืชบำรุงพลังทางเพศ

แต่การรับประทานที่ได้ประโยชน์จะต้องผ่านกระบวนการทางความร้อนให้น้อยที่สุด และต้องรับประทานเป็นประจำ  เพราะกระเทียมไม่ใช่ยาที่จะสามารถบำบัดให้คนไข้หายป่วยแบบฉับพลันทันที แต่จะช่วยรักษาระบบต่าง ๆ  ภายในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม  แม้กระทั่งเรื่องการขับถ่าย

เมืองไทยมีกระเทียมทั้งประเภทกินสดและกระเทียมแห้งไปจนถึงกระเทียมโทน  ดังนั้น  จึงสามารถเลือกรับประทานได้  และหากไม่ใช่ฤดูกระเทียมสดก็ยังมีกระเทียมแห้ง หรือเบื่อกระเทียมแห้งทั่วไปก็หันมารับประทานกระเทียมโทนดองก็ยังได้  แม้ราคาจะสูงไปนิด แต่ถ้าคิดว่าเพื่อซื้อชีวิตของเราให้ยืนยาวและอยู่ดูโลกอันสวยงามนี้ละก็ ราคาแพงนั่นอาจจะกลายเป็นถูกไป… Read More

สารเคมีที่นิยมใช้ควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตพืชสวนในปัจจุบัน

สารเคมีที่นิยมใช้ควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตพืชสวนในปัจจุบัน

  • ออโธ-ฟีนีลฟีนอล (Ortho-phenylphenol)

เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มใหญ่มาก  เพราะจะเป็นพิษต่อเชื้อรา  แบคทีเรียและตัวของผลิตผลเองด้วย  โดยสารประกอบฟีนอลที่ไม่แตกตัวจะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้และเป็นพิษต่อผลิตผลเมื่อใช้ในอัตราความเข้มข้น 200-400 มก./ลิตร  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสารละลายและระยะเวลาที่ใช้  แต่สารประกอบออโธ-ฟีนีลฟีเนต ซึ่งมีประจุบวกจะไม่เป็นพิษต่อพืช  และสารละลายโซเดียมออโธ-ฟีนีลฟีเนต หรือ SOPP ก็นับเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยในการนำมาใช้กับผักและผลไม้

สำหรับผลไม้ที่มีแว็กซ์เคลือบผิว เช่น ส้ม แอปเปิ้ล และผลไม้อื่น ๆ นั้นจะไม่ยอมให้สารละลายออโธ-ฟีนีลฟีเนตผ่านเข้าไปได้ จึงทำให้สารเคมีชนิดนี้ไม่สามารถควบคุมโรคหลังจากที่ใช้กับผลิตผลประเภทนี้  อย่างไรก็ตามสารนี้จะสามารถซึมเข้าสู่แผลของผลิตผลได้ การล้างผลิตผลที่ได้รับสารนี้แล้วจะทำให้สารถูกชะล้างไปกับน้ำจึงมีสารเหลืออยู่ที่ผิวผลน้อยมากแต่หากผลิตผลมีบาดแผลก็จะยังคงมีสารชนิดนี้อยู่และสามารถป้องกันการเข้าทำลายผลิตผลได้

การใช้สารโซเดียมออโธ-ฟีนีลฟีเนต (SOPP) มีประโยชน์คือ สปอร์ของเชื้อราและแบคทีเรียซึ่งอยู่ที่ผิวผลิตผลหรือในน้ำที่ใช้ล้างผลิตผลจะถูกฆ่าหมดและสารออโธ-ฟีนีลฟีนอล ซึ่งตกค้างอยู่บริเวณแผลจะป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ที่บริเวณในระหว่างการขนส่งได้

สารละลาย SOPP สามารถใช้ในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลไม้หลายชนิด เช่น แอปเปิ้ล สาลี่ ท้อ มันเทศและผักผลไม้ที่เสียง่าย  วิธีการใช้ก็สามารถทำได้หลายวิธี  … Read More

เลี้ยงไก่หน้าร้อนอย่างไร ให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด

การเลี้ยงไก่ในลักษณะฟาร์มเปิด และฟาร์มที่ปล่อยไก่เลี้ยงหนาแน่นเกินไป มักจะพบความเสียหายที่เกิดจากสภาพอากาศร้อนได้มาก  โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งอากาศมักจะร้อนกว่าช่วงอื่น ๆ และรวมไปถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคมด้วย  ไก่เนื้อและไก่ไข่ที่มีการเลี้ยงในระบบโรงเรือนเปิดธรรมดาก็มักจะพบปัญหา เช่น ไก่กินอาหารได้น้อย ไก่โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนาน ไก่ป่วยและไก่มีเปอร์เซ็นต์การตายเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ การจะเลี้ยงไก่ในช่วงหน้าร้อนให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุดนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการของเกษตรกรเป็นสำคัญด้วย  ในรายที่มีการเลี้ยงไก่บนบ่อปลา หรือเล้าไก่มีการยกพื้นสูง ก็อาจจะใช้วิธีสเปรย์น้ำเพื่อช่วยลดความร้อนได้แต่ก็ต้องมั่นใจว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอเพราะต้องหมั่นสเปรย์น้ำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี  ส่วนในรายที่เลี้ยงแบบปล่อยเลี้ยงบนพื้นดินหรือพื้นปูน  ก็อาจใช้วิธีการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อช่วยลดความร้อน อาจจะติดตั้งพัดลมเพื่อเพิ่มความเย็นที่สำคัญควรจะปล่อยไก่ลงเลี้ยงในช่วงนี้เบาบางกว่าช่วงปกติ ส่วนวิธีการสเปรย์น้ำนั้นไม่ค่อยเหมาะสมกับการเลี้ยงแบบนี้เท่าไรนัก เพราะจะทำให้พื้นแฉะ เกิดโรคระบาดได้ง่าย อย่างไรก็ตามหากสภาพอากาศร้อนจัดก็อาจจะใช้วิธีสเปรย์น้ำได้ในช่วงก่อนจับส่งตลาด 1 สัปดาห์

ส่วนในกรณีของการเลี้ยงแบบโรงเรือนเปิด หรือโรงเรือนอีแวปที่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในบ้านเรากำลังนิยมกันนั้นเกษตรกรหลายรายก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับการจัดการอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบอีแวป  ดังนั้นการเลี้ยงไก่ในโรงเรือนระบบนี้จึงอาจจะไม่เหมาะสมในบางพื้นที่หรือสำหรับเกษตรกรบางราย วิธีการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างได้ผลดีก็คือ การแขวนถังอาหารในช่วงกลางวัน เนื่องจากในช่วงกลางวันอากาศร้อน ไก่จะเครียด กินอาหารได้ไม่เต็มที่ และเมื่อกินอาหารเข้าไปก็จะเกิดการเผาผลาญที่จะต้องมีการนำพลังงานมาใช้ค่อนข้างสูง  เกษตรกรจึงควรอดอาหารไก่ตลอดช่วงกลางวัน โดยอาจจะเริ่มตั้งแต่ช่วง 5.00-6.00 ไปจนถึงประมาณ 17.00-18.00 … Read More

โรคและศัตรูของลำไย

โรคและศัตรูของลำไย

โดย  ดร.นุชนารถ  จงเลขา

ผู้เขียนได้ไปตรวจดูสวนลำไยที่ อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน  กับคุณปิยนันท์  ศิริวรรณ  ผู้ช่วยเกษตรจังหวัดลำพูน และคุณพิพัฒน์  เกษตรตำบล คุณปิยนันท์รู้สึกกังวลกับอาการผิดปกติของลำไยที่เกิดขึ้นในสวนหลายแห่งในอำเภอนี้ เนื่องจากต้นลำไยออกช่อผิดปกติ บางช่อสั้นเป็นกระจุก  ซึ่งทำให้เข้าใจว่าเกิดโรคพุ่มแจ้  หรือไม้กวาดแจ้(witches’ broom) ซึ่งเกิดจากเชื้อมายโคพลาสม่า (mycoplasma) ระบาด นอกจากนี้ใบลำไยบางต้นไม่โต ต้นโทรมใบม้วนงอลง ส่วนใบอ่อนไม่คลีและม้วน  นอกจากนี้ยังมีอาการใบเป็นจุดสีเทาบ้าง สีสนิมบ้าง ต้นมีอาการเป็นขี้กลาก เป็นดอกสีขาวสีเทาอมเขียวบ้าง เมื่อตรวจไปเรื่อย ๆ ก็พบอาการยอดไหม้หรือปลายกิ่งแห้งตาย เปลือกของกิ่งมีรอยแทะ  สำหรับอาการต้นเหลืองและทรุดโทรมไม่พบในวันที่ออกสำรวจ แต่สองวันต่อมาคุณปิยนันท์  ก็นำกิ่งที่ตัดจากต้นที่แสดงอาการดังกล่าว  ซึ่งคุณปิยนันท์พบที่สวนอื่นผ่าดูมีสีดำอยู่ภายใน  สงสัยว่าจะเป็นโรค

ผู้เขียนได้ตรวจดูอาการของลำไยแล้วพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากศัตรูหลายชนิดระบาด ศัตรูที่สำคัญคือไรขาว (Polyphagotarsonemus … Read More

เห็ดยานางิ เห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่น

เห็ดยานางิเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่นิยมบริโภคเห็ดชนิดนี้กันมาก นักวิชาการในบ้านเราจึงได้ทดลองนำสายพันธุ์จากญี่ปุ่นเข้ามาศึกษาวิธีการเพาะเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว  ซึ่งก็ปรากฎว่าเห็ดชนิดนี้เจริญเติบโตและออกดอกได้ดีในสภาพแวดล้อมของบ้านเรา

คุณเรียม  สายเสียงสุด  แห่งชมรมเห็ดศูนย์ไบโอเทค  สาขาเพชรบุรี  ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทและผลักดันให้เห็ดยานางิกลายมาเป็นเห็ดเศรษฐกิจของชาวเพชรบุรีในวันนี้บอกว่า เห็ดยานางิเป็นเห็ดที่ทานอร่อย เนื้อเหนียว นุ่ม นำมาทำอาหารได้หลากหลายไม่แพ้เห็ดชนิดอื่นไม่ว่าจะเป็นผัดน้ำมันหอย ผัดผักรวมมิตร ต้มยำ ฯลฯ จุดเดินอีกอย่างของเห็ดชนิดนี้ก็คือ เมื่อนำมาแปรรูปแล้วคุณค่าทางอาหารและความอร่อยแทบจะไม่เปลี่ยนแปลง วิธีการเพาะก็ไม่ยุ่งยาก คล้ายคลึงกับการเพาะเห็ดนางรม-นางฟ้าที่เกษตรกรคุ้นเคยดีอยู่แล้ว แต่อาจจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเท่านั้น  แต่เห็ดยานางิขายได้ราคาที่สูงกว่ามากกิโลหนึ่งตก 80-100 บาท ขณะที่เห็ดนางรมนางฟ้าขายกันอยู่ที่ 10-25 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น  นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คุณเรียมเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรที่เพาะเห็ดที่เพชรบุรีหันมาเพาะเห็ดชนิดนี้กันมากขึ้น  ซึ่งที่เพชรบุรีก็ถือว่าเป็นแหล่งเพาะเห็ดที่สำคัญของบ้านเราอยู่แล้ว  เห็ดที่เพาะกันมากก็คือ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดนางรม จึงทำให้การส่งเสริมการเพาะเห็ดยานางิที่นี่ประสบความสำเร็จได้ไม่ยากและขยายตัวอย่างรวดเร็ว

คุณเรียมนั้นถือได้ว่าเป็นลูกหม้อของศูนย์ไบโอเทค(อ.อานนท์  เอื้อตระกูล) ที่มีประสบการณ์ในงานส่งเสริมการเพาะเห็ดของศูนย์ฯ มาหลายปี  จึงถือได้ว่ามีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดต่าง ๆ

Read More

พลูทอง: การปลูกและการขยายพันธุ์

“พลู” เป็นไม้เลื้อย มีข้อและปล้องเห็นชัดเจน มีรากออกรอบข้อ ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ มีรูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบเรียบ “พลู” ชอบความชุ่มชื้น ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่มีน้ำขัง ชอบแดดรำไร

การขยายพันธุ์ใช้เถาเพาะชำ  โดยตัดเถาพลูเป็นท่อน ๆ ให้มีข้อติด 3-5 ข้อ ปักชำในถุงเพาะชำจนรากงอกดีแล้วจึงย้ายปลูกในหลุม ขุดหลุมไม่ต้องลึกนึก  จากนั้นต้องทำค้างให้พลูเลื้อยขึ้น  โดยใช้เสาไม้เต็ง ไม้รัง หรือไม้ทองหลางปักเป็นหลัก

ปลูกพลู 2-3 ต้นต่อ 1 หลัก ระยะห่างระหว่างหลัก และระหว่างแถวประมาณ 1.5 เมตร  ต้องหมั่นพรวนดิน และตัดแต่งใบให้โปร่งอยู่เสมอ  เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี  และควรใส่ปุ๋ยคอกทุก ๆ 3 เดือน รดน้ำทุก

Read More

ปุ๋ยพืชสด การบำรุงดินแบบธรรมชาติ

ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบเศษพืชทั้งหมด (ต้น ใบ กิ่ง ก้าน และราก)  ที่ยังสดอยู่ลงในดิน  เมื่อซากพืชที่ถูกไถกลบนั้นเน่าเปื่อยผุพังแล้วจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืชให้แก่ดิน  อันจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่จะปลูกตามมา  ปุ๋ยพืชสดนอกจากจะช่วยบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์แล้วยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน  ทำให้ดินมีความร่วนซุยสะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน  ทำให้ดินโปร่งมีระบายอากาศระหว่างเม็ดดิน  ดินมีการอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ลดอัตราการสูญเสียหน้าดินอันเกิดจากการชะล้าง  นอกจากนี้การปลูกพืชเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดยังช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดนั้นมีหลายชนิดด้วยกันได้แก่พืชตระกูลถั่ว ตระกูลหญ้าและพืชน้ำ เช่น จอก แหนแดง ผักตบชวา เป็นต้น แต่พืชที่ใช้ปลูกเพื่อทำปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดก็คือพืชตระกูลถั่ว  ทั้งนี้เนื่องจากพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติพิเศษกว่าพืชตระกูลอื่น ๆ กล่าวคือ ที่รกมีปมที่เรียกว่าปมรากถั่ว  ในปมเหล่านี้จะมีเชื้อจุลินทรีย์พวกไรโซเบียมอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งสามารถตรึงเอาธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้  เมื่อพืชสดเน่าเปื่อยก็จะเพิ่มธาตุไนโตรเจนแก่ดินได้มาก  นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วยังปลูกง่าย  เจริญเติบโตเร็ว มีลำต้น กิ่งก้าน ใบ และรากแตกแขนงมากทำให้ได้น้ำหนักสด ของพืชสูง เมื่อตัดสับและไถกลบลงดินก็จะเน่าเปื่อยผุพังได้ค่อนข้างเร็ว  ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมพอสมควร… Read More

ไผ่:ปลูกไผ่ล้อมบ้าน เพื่อใช้สอย

ปลูกไผ่ล้อมบ้าน เพื่อใช้สอย :

ฉลองชัย  จันทร์เพ็ญ


ผมมีโอกาสนั่งรถยนต์ผ่านไปทางอำเภอเทิง เพื่อจะไปยัง อ. เชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นที่น่าสังเกตอย่างเห็นได้ชัดว่าทั้งสองข้างถนนมีไม้ไผ่รวก ไผ่ลำมะลอก ไผ่ดำ ปลูกไว้ตามริมรั้ว รอบบ้าน ตามหัวไร่ปลายนาตามริมทางข้างไหล่ทางหลวง มากเป็นพิเศษและขึ้นเป็นแถวเป็นแนวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยฝีมือของมนุษย์มากกว่าที่จะขึ้นเองตามธรรมชาติแน่นอน

ก็อย่างว่าน่ะแหละเมื่อเกิดความอยากรู้อยากเห็นจนทนไม่ไหวแล้วก็เลยแวะลงไปซักไซ้ไล่เลียง ถามไถ่ ค้นคว้าหาความจริงดูก็ได้รับคำเฉลยปัญหาข้องใจ  จากปากจากคำของชาวบ้านว่า

ชาวบ้านแถวนั้นเขานิยมปลูกไม้ไผ่เอาไว้ใช้สอยในครัวเรือนกันทั้งนี้เพราะไม้ไผ่ปลูกง่ายขยายกอแตกหน่อโตเร็ว มีประโยชน์มากมายหลายอย่างเช่น หน่อหรือต้นอ่อนก็ตัดมาต้มมาแกงกินได้ ลำไม้ไผ่นอกเหนือจากตัดมาใช้สอยภายในครอบครัวแล้ว ถ้าหากมีใครมาซื้อเขาก็ขาย  เมื่อพูดถึงราคาแล้วไม้ไผ่รวกขนาดใหญ่ลำละ 6-10 บาท  ไผ่ลำมะลอก ไผ่ดำลำละ 15-20 บาท  ส่วนไผ่สีสุกนั้นมีน้อยไม่ค่อยจะตัดขายกัน  ส่วนมากจะเอาไว้ใช้จักสาน  ประดิษฐ์เป็นตะกร้า ตะแกรง ตะข้อง กระเฌอ(ก้นไม่รั่ว) กระบุง … Read More