Month: May 2011

การเพาะเห็ดฟาง เพิ่มรายได้ให้ชาวนา

การเพาะเห็ดฟาง เพิ่มรายได้ให้ชาวนา

อมรรัตน์  ผู้พัฒน์

เห็ดฟางเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยในเมืองไทยมานาน  ทั้งนี้เพราะดอกเห็ดฟางมีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง  สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภททั้งอาหารจืดและอาหารคาว  ยิ่งเทศกาลกินเจด้วยแล้วเห็ดเป็นอาหารที่วิเศษทีเดียว และที่สำคัญที่สุดคือ เห็ดฟางเพาะได้ง่าย  ใช้เวลาเพียง 7-10 วัน ก็เกิดดอกให้เก็บไปเป็นอาหารหรือนำไปจำหน่ายได้  ดอกเห็ดฟางที่ขายในท้องตลาดทั่วไปจะเห็นได้ว่ามีราคาสูงพอควร  และบางครั้งเกิดการปล่อยข่าวลือว่าเห็ดฟางอยู่ในสภาพที่ล้นตลาดทำให้มีราคาถูกหรือราคาตกต่ำเหมือนผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ จนไม่น่าเพาะ  แต่สภาพความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม เนื่องจากเห็ดฟ่างยังมีช่องว่างในด้านต่าง ๆ ทีมีปัจจัยควรส่งเสริมให้มีการเพาะได้อีกมาก เช่น ต้นทุนการผลิต(ค่าเชื้อเห็ด)ต่ำ และเป็นเห็ดที่เพาะง่าย จึงเหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะยึดเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพรองหลังจากฤดูการทำงาน  เพราะเห็ดฟางจะช่วยก่อให้เกิดรายได้เสริมแก่ครัวเรือนเกษตรกรบ้างพอควร

เห็ดฟางมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า VoIvariella volvaceae(Singer)หรือชื่อสามัญเรียกว่า Paddy mushroom หรือ Staw mushroom ลักษณะของเห็ดฟางจะมีหมวกดอก(cap)เป็นสีขาวหรือเทาค่อนข้างดำคล้ายร่ม  ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-10 เซนติเมตร  ที่หัวของหมวกดอกจะเรียบและมีสีค่อนข้างเข้มบริเวณกลางหมวกแต่สีจะค่อย … Read More

มะม่วง:ชี้เหตุมะม่วงออกดอกแล้วไม่ติดผล

ปัญหาที่ชาวสวนมะม่วงมักพบบ่อย ๆ ในระยะมะม่วงออกดอกหรือมะม่วงออกดอกแล้วจะไม่ติดผล  ส่วนใหญ่ดอกร่วงมาก กรมส่งเสริมการเกษตร  ชี้เหตุที่ทำให้มะม่วงไม่ติดผล  เพื่อให้เกษตรกรหาทางป้องกันและแก้ไข  ดังนี้ คือ

–          เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยจั๊กจั่นจะเข้าดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก  ทำให้ช่อดอกไม่สมบูรณ์ ขณะเดียวกันยังขับถ่ายสารที่เป็นอาหารของราดำ  ซึ่งเป็นผลให้มีราดำระบาดมากพร้อมกันด้วย

–          อายุของต้นมะม่วง อายุน้อยเกินไป ยังไม่ถึงวัยที่ควรจะติดผล  เมื่อออกช่อดอกแล้วส่วนใหญ่จะร่วงหมด

–          น้ำและอากาศ ดอกมะม่วงจะแห้งและร่วงเมื่อพบสภาพอากาศร้อนมากและสภาพพื้นที่ปลูกเป็นที่ดอน  ทำให้มะม่วงขาดน้ำ

–          ความสมบูรณ์ของมะม่วง ในสวนที่ขาดการบำรุงรักษาต้นมะม่วงมักจะไม่สมบูรณ์  แม้จะออกช่อดอกมากก็ตามจะร่วงหมดหรืออาจติดผลบ้างเพียงเล็กน้อย

–          ไม่มีแมลงช่วยผสมเกสร ส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งที่มีการใช้สารเคมีฆ่าแมลงมาก จนมีผลกระทบต่อแมลงที่ช่วยผสมเกสรด้วย ทำให้ดอกไม่มีการผสมเกสรจึงร่วงไปหรืออาจเจริญต่อไปเป็นผลที่มีขนาดเล็ก เรียกว่า มะม่วงกระเทยก็ได้

–          ลักษณะประจำพันธุ์ของมะม่วง มะม่วงแต่ละพันธุ์จะมีปริมาณดอกกระเทยหรือดอกสมบูรณ์เพศมากน้อยต่างกัน  ดังนั้น โอกาสที่มะม่วงแต่ละพันธุ์จะติดผลจึงมีมากน้อยต่างกันด้วย… Read More

กล้วย:วัสดุเหลือทิ้งจากกล้วยมีประโยชน์นานัปการ

กล้วยเป็นพืชเมืองร้อนที่มีปลูกกันทั่วไปในแถบเหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร  ทุกส่วนของกล้วยมีประโยชน์นานัปการ  นับตั้งแต่ผลกล้วย  ใบกล้วยหรือใบตอง ดอกกล้วยหรือหัวปลี  ตลอดจนลำต้นกล้วยหรือกาบกล้วย ฯลฯ  ที่ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่มีการปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย  ได้มีหน่วยงานหลายแห่งทำการวิจัยถึงประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งจากกล้วย  ในโรงงานอุตสาหกรรม ดังเช่น ที่การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของฟิลิปปินส์(National Science and Technology Authority) พบว่าการนำเอาวัสดุเหลือทิ้งจากกล้วยมาใช้ประโยชน์นั้นกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น

1.  ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ เปลือกกล้วยและวัสดุเหลือทิ้งจากกล้วยนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ได้โดยตรง  โดยเอามาตากแห้งอัดเป็นเม็ด  แต่มีคุณค่าทางอาหารต่ำซึ่งอาจปรับปรุงให้มีคุณค่าทางอาหารสูงขึ้นได้  โดยนำมาผสมกับวัสดุเหลือทิ้งอย่างอื่นที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีราคาถูกได้แก่รำข้าว ซึ่งมีโปรตีนประมาณร้อยละ 12 และมูลไก่ ซึ่งมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 23 และได้รับการรับรองว่าไม่เป็นอันตรายเมื่อนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์  โดยผสมในอัตราส่วน  เปลือกกล้วยต้มตากแห้ง 10 กก. มูลไก่ 1.5 กก. รำข้าว 1 กก. … Read More

ครัวเกษตรกร : หน่อไม้ฝรั่งต้มกะทิปลาเค็ม,แกงส้มหน่อไม้ฝรั่ง

ครัวเกษตรกร

หน่อไม้ฝรั่งต้มกะทิปลาเค็ม

เครื่องปรุง

หน่อไม้ฝรั่ง             300    กรัม

ปลากุเลาเค็ม          250    กรัม

กะทิ                          3    ถ้วยตวง

หอมแดงซอย                     ¼    ถ้วยตวง

น้ำปลา                  1 ½   ช้อนโต๊ะ

น้ำมะขามเปียก      ½     ถ้วยตวง

วิธีทำ

1.  หักหน่อไม้ฝรั่งเป็นท่อนขนาด  2  เซนติเมตร

2.  หั่นปลากุเลาเค็มเป็นชิ้นหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร

3.  ต้มกะทิ กับ ปลากุเลาเค็ม พอเดือด ใส่หน่อไม้ฝรั่ง ปรุงรสด้วน้ำปลา น้ำมะขามเปียก พอเดือด … Read More

โรคใบด่างมะละกอและวิธีการป้องกัน

โรคใบด่างมะละกอ

นายสันติวัน เชียงสอน นักวิชาการเผยแพร่ 6

งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ฝ่ายเผยแพร่และฝึกอบรม

สำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดขอนแก่น

(043) 225690-2

ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมบริโภคส้มตำมะละกอมาช้านาน  จนอาจกล่าวได้ว่า มะละกอเป็นอาหารหลักที่สำคัญของชาวชนบทในภาคนี้ก็ว่าได้  แต่ปัจจุบันผลผลิตมะละกอที่ปลูกในภาคนี้ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค สาเหตุสำคัญก็เพราะว่าการปลูกมะละกอยังประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องโรคใบด่าง  ซึ่งพบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงเกือบทุกจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นักวิชาการของสำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า โรคใบด่างมะละกอมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งสามารถทำลายต้นมะละกอได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต  โรคนี้แพร่ระบาดติดต่อถึงกันโดยการนำของเพลี้ยอ่อนหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อนฝ้าย เพลี้ยอ่อนยาสูบ เพลี้ยอ่อนถั่ว เป็นต้น  แต่ไม่สามารถติดต่อโดยทางเมล็ด

มะละกอที่เป็นโรคใบด่างจะมีอาการใบสีเหลืองโปร่งใสในระยะแรก ต่อมาจะมีอาการเขียวด่าง  เมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น พื้นที่ผิวใบจะแคบลง จนในที่สุดจะเหลือแต่เส้นกลางใบที่มีลักษณะคล้ายด้าย  ที่ก้านดอก ก้านใบและลำต้นส่วนบนจะปรากฎรอยช้ำเป็นขีด ๆ หรือวงกลมเล็ก ๆ … Read More

การทดสอบ ความงอกของ เมล็ดพันธุ์แบบชาวบ้าน

การทดสอบ ความงอกของ เมล็ดพันธุ์แบบชาวบ้าน

ท่านเคยเจอปัญหาเหล่านี้บ้างไหม

ในแต่ละปีเกษตรกรจำนวนมากต้องพบกับความผิดหวังเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ เช่น ปลูกแล้วไม่งอก หรืองอกน้อยไม่ทั่วแปลง บางทีต้องปลูกซ่อมหรือปลูกใหม่ ต้องลงทุนลงแรงสองครั้งสามครา บางครั้งก็เลิกปลูกหรือหมดโอกาสที่จะปลูกไปเลยก็มี ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าท่านเลือกใช้แต่เมล็ดที่มีความงอกดี อย่างไรก็ตาม ความงอกหรือความสามารถในการงอกของเมล็ดพันธุ์ ไม่สามารถบอกได้จากการดูลักษณะภายนอกทางเมล็ดแต่เพียงอย่างเดียว  จะต้องทดสอบดูให้แน่ชัด

การทดสอบความงอกแบบชาวบ้าน

การทดสอบความงอกแบบง่าย ๆ สามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์พิเศษแต่อย่างใด เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้เอง ดังนี้

ก.  การสุ่มตัวอย่าง ในการทดสอบความงอกนั้นเราเพาะเมล็ดเพียงกำมือเดียว เพื่อประเมินว่าเมล็ดส่วนใหญ่ที่เหลืออีก 5 กิโลกรัม หนึ่งกระสอบ สิบกระสอบ หรือมากกว่านั้น  มีความงอกเป็นประการใด ดังนั้น การสุ่มตัวอย่างเมล็ดมาทำการทดสอบจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  หากสุ่มมาไม่ดี ผลการทดสอบจะไม่มีประโยชน์ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดความเสียหายได้ จึงควรสุ่มหลาย ๆ … Read More

ข้อมูลการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ

ข้าวโพดเทียน

–         ระยะปลูก 0.50 x 0.50 เมตร

–         วิธีให้ปุ๋ย  ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัด คลุกเคล้าเข้ากับดิน ปุ๋ยเคมี (แอมโมเนี่ยมซัลเฟตหรือยูเรีย) ใช้ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร(ปี๊บ) รดบนพื้นดินรอบโคนต้น ควรรดน้ำเปล่าล้างปุ๋ยที่ใช้เร่งใบตกค้างตามใบ  ส่วนปุ๋ยเคมีผสมสูตรเท่า 15-15-15 ที่เป็นเม็ดให้โรยหว่านรอบโคนต้น พร้อมกับพรวนดินในอัตราหลุมละ 1 ช้อนโต๊ะ บำรุงต้นและฝัก

–         ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 60 วัน

ถั่วฝักยาวไร้ค้าง

–         ระยะปลูก 1.00×1.00 เมตร

–         วิธีให้ปุ๋ย … Read More

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

เรียบเรียง โกรินทร์  บุญประเสริฐ  กองขยายพันธุ์พืช

นิศากร  พลับรู้การ  กองเกษตรสัมพันธ์

การเก็บเมล็ดพันธุ์ในสภาพอากาศร้อนชื้น หรืออบอ้าว เช่นประเทศไทยเรานี้ทำได้ค่อยข้างยาก  เพราะความงอกมักจะลดลงอย่างรวดเร็ว  แต่หากมีการปฏิบัติที่ถูกต้องก็พอจะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชไว้ใช้ในฤดูถัดไปได้

การเก็บรักษาที่ดีที่สุดก็ไม่อาจทำให้เมล็ดพืชที่มีคุณภาพต่ำกลายเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดีได้  และโดยปกติเมล็ดซึ่งมีความงอกดี มีความแข็งแรงสูง จะเก็บรักษาไว้ได้ง่ายกว่าเมล็ดที่มีความงอกต่ำ  ดังนั้นในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชไว้สำหรับทำพันธุ์  จึงต้องเลือกเก็บแต่เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ มีนั้น จำเป็นต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตั้งแต่อยู่ในไร่นา  จนถึงก่อนนำเข้าเก็บรักษาดังนี้

1.  การเก็บเกี่ยว

  • เก็บเกี่ยวทันที  เมื่อเมล็ดแก่เต็มที่อย่าล่าช้า  ต้องเก็บเกี่ยวก่อนที่จะโดนฝน
  • อย่ากองเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวสุมกันเป็นกองใหญ่ ๆ

2.  การนวด

  • ควรนวดหรือกะเทาะเมล็ดพันธุ์อย่างระมัดระวัง  ให้ได้รับการกระทบกระเทือนและบอบช้ำน้อยที่สุด

3.  การทำความสะอาด

  • ทำความสะอาด และคัดเลือกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ เมล็ดแตกหัก หรือมีโรคแมลงทำลายออก  โดยการคัดด้วยมือ
Read More

โรคของมะม่วง

โรคของมะม่วง

สุชาติ  วิจิตรานนท์, ขจรศักดิ์  ภวกุล  นักวิชาการโรคพืช  กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

ดารา  พวงสุวรรณ  ผู้อำนวยการกองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

โดยทั่วไปแล้ว มะม่วงเป็นพืชที่ค่อนข้างทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคพืชหลายชนิด  และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ผันแปรอย่างรวดเร็วได้ดีพอสมควร  แต่ในเรื่องของปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงแล้ว  มีโรคพืชหลายชนิดที่ทำลายความเสียหายโดยทำให้ผลผลิตลดลงหรือไม่มีผลผลิตเลย  และทำให้คุณภาพของผลผลิตไม่เป็นไปตามที่ตลาดต้องการ  ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ  และนอกเหนือจากนั้นยังเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการผลิตมะม่วงเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ หากปัญหาโรคต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ได้รับการเอาใจใส่  และแก้ไขอย่างถูกวิธี  สำหรับโรคของมะม่วงเท่าทีพบในประเทศไทยก็มีอยู่มากมายหลายชนิด  บางชนิดก็ทำความเสียหายให้อย่างรุนแรง  บางชนิดก็ไม่ทำความเสียหายมากนัก  ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

1.  โรคแอนแทรคโนส

โรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งของมะม่วง  ทำความเสียหายต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงเป็นอย่างมาก สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. ซึ่งสามารถเข้าทำลายได้เกือบทุกส่วนของมะม่วงไม่ว่าจะเป็นต้นกล้ายอดอ่อน  ใบอ่อน ช่อดอก ดอก … Read More

กล้วย:สรรพคุณของกล้วยกับการรักษาโรค

สรรพคุณของกล้วย

 

กล้วยเป็นไม้ผลที่คนโบราณนิยมปลูกใกล้บ้านไว้เป็นอาหารเพื่อไม่ต้องเข้าป่าไปหาประโยชน์ของกล้วยมีมากมาย คนโบราณรู้จักประโยชน์จากกล้วยมานานแล้ว  เกือบทุกส่วนของกล้วยสามารถนำมาดัดแปลงใช้ให้มีคุณค่าได้ ดังนี้

ผล ใช้นำมารับประทาน

ใบ ใช้ห่อของ ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระทง บายศรี

เส้นใย จากกล้วยนำมาใช้สานเป็นกระเป๋าถือสตรี  ประดิษฐ์ของใช้หลายชนิด

กาบกล้วยสด นำมาหั่นคลุมดินรักษาความชื้นได้

ยางกล้วย ใช้เป็นสีย้อมด้ายทอผ้าให้มีสีน้ำตาลไม่ตก ไม่ลอก ทนทานดี

ใบกล้วย มีขี้ผึ้ง คนโบราณนำมาขัดพื้นกระดานทำให้พื้นลื่นเป็นมัน

ใบสด ใช้เป็นเครื่องรองเตารีดที่รีดผ้า เพื่อลดความร้อน

หัวปลี ใช้ทำอาหารเป็นผักสดประกอบแกงหรือต้มยำ

ก้าน นำมาตากให้แห้งทำเชือก

ก้านสด เป็นของเล่นของเด็กโดยเอามาขี่เป็นม้า

กาบ นิยมหามาแกะสลักเรียกว่าแทงหยวก เป็นลายกนกเพื่อตกแต่งประดับพิธีต่าง ๆ

กล้วยจึงนับได้ว่าเป็นพืชสารพัดประโยชน์และเป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก … Read More