Month: June 2011

ประโยชน์จากเปลือกถั่วลิสง (เทคโนโลยีชนบท)

ประโยชน์จากเปลือกถั่วลิสง

เปลือกถั่วลิสงที่เคยเป็นวัสดุเหลือทิ้งนั้น ได้มีผู้คิดค้นหาวิธีนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า  จากคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของมันคือ สามารถดูดซับของเหลวได้ดียิ่งถูกบดให้ละเอียดเท่าไรจะยิ่งสามารถดูดซับได้มากขึ้นเท่านั้น  นอกจากนั้นยังมีความคงทนต่อสารเคมีและวัสดุชักได้เป็นอย่างดีด้วย

จากคุณสมบัติดังกล่าว เปลือกถั่วลิสงจึงให้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้

๑.  ใช้เพาะเห็ด จากการทดลองเพาะเห็นด้วยเปลือกถั่วลิสง  โดยเกษตรกรแห่งรัฐจอร์เจียสหรัฐอเมริกา  พบว่าได้ผลดีและประหยัดกว่าวิธีเก่าที่ใช้มูลม้า แต่ก่อนนำไปใช้ควรผึ่งเปลือกถั่วไว้สักระยะหนึ่งก่อนเพื่อป้องกันการเน่าเสีย

๒.  ใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยการนำไปอัดแน่นเป็นเชื้อเพลิงแข็ง  เปลือกถั่วลิสงแห้งอัดแท่งให้ความร้อนสูงถึง ๖๐ % ของถ่านโค๊กที่มีคุณภาพดี  และยังมีขี้เถ้าเหลือน้อยมากคือเหลือเพียงประมาณ ๒-๓ % เท่านั้น

๓.  ใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุก่อสร้าง โดยใช้ผสมในพลาสติก คอนกรีต แผ่นผนังหรือแผ่นพื้นเช่นเดียวกับการใช้เศษไม้หรือขี้เลื่อยผสม

๔.  ใช้ผสมกากน้ำตาลเป็นอาหารวัว เปลือกถั่วลิสงบดผสมกับกากน้ำตาลที่เหลือจากการทำน้ำตาลทราย เป็นอาหารของวัว-ควายได้ดี มีคุณค่าทางอาหารสูง

๕.  ใช้คลุมดินปลูกต้นไม้ ใช้โรยรอบโคนต้นไม้ดูดซับความชื้นไว้  ป้องกันไม่ให้น้ำซึมลงดินเร็วเกินไป … Read More

พิพิธภัณฑ์ชาวนา ที่…ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก

พิพิธภัณฑ์ชาวนา ที่…ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก

แม้ว่าการปลูกข้าวในปัจจุบัน จะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  และเครื่องจักรกลการเกษตรเป็นส่วนมาก  แต่วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนไทยเกี่ยวกับการปลูกข้าว ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล  ก็ยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน  เนื่องจากประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินมาโดยตลอด  และทรงส่งเสริมประชาราษฎร์ทำการเกษตรกรรมเป็นหลักในการเลี้ยงชีพและครอบครัว ในแต่ละสมัยเป็นลำดับมา  ทรงมีส่วนร่วมในกิจการรม และประเพณีต่าง ๆ ทางการเกษตร เพื่อเป็นการสนับสนุนขวัญและกำลังใจเกษตรกรดังเช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2542  ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก โดยนายเล็ก  จันทร์เกษม ผู้อำนวนการศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ข้าราชการและลูกจ้าง จึงพร้อมใจกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวนาขึ้น  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสอันเป็นมหามงคลนี้  และเพื่อรวบรวมรักษาเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการปลูกข้าวที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวนาไทยไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของข้าว

พิพิธภัณฑ์ชาวนา ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้เปิดให้นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมตามวันและเวลาราชการ ตั้งแต่วันที่ … Read More

ถั่ว:การปลูกถั่วนิ้วนางแดงในระบบปลูกพืชเศรษฐกิจ

ถั่วนิ้วนางแดงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่ง  โดยในปี 2541  มีมูลค่าการส่งออกถึง 125.20 ล้านบาท  แต่ปริมาณการส่งออก มีแนวโน้มลดลงจาก 8,991 ต้นในปี 2540 เป็น 3,230 ต้น ในปี 2542  เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตลดลง  แหล่งปลูกถั่วนิ้วนางแดงที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเลย  ซึ่งมีพื้นที่ปลูกเมื่อปี 2536 ถึง 108,000 ไร่  หรือคิดเป็นร้อยละ 88 ของพื้นที่ ปลูกถั่วนิ้วนางแดงทั้งประเทศคือ 122,000 ไร่  หลังจากนั้นพื้นที่ปลูกได้ลดลงเหลือเพียง 19,868 ไร่  ในปี 2540 ได้ผลผลิตรวม 2,603 ต้น และผลผลิตเฉลี่ยเพียง … Read More