Month: July 2011

การบีบน้ำมันงาไว้ใช้เองในครัวเรือน

คมสัน  หุตะแพทย์/กำพล  กาหลง

การบีบน้ำมันงานั้นทำได้สองอย่างคือ การบีบงาดิบ กับ การบีบงาสุก การบีบงาดิบคือ การบีบเมล็ดงาที่ดิบ ๆ ยังไม่ต้องนำไปคั่วจะได้น้ำมันงาดิบสีเหลืองใสอมเขียวที่มีคุณภาพดีกว่าน้ำมันงาสุก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ใช้ในการปรุงอาหารเหมือนน้ำมันพืชอื่น ๆ ใช้ในการนวดตัว ใช้ในการดูแลผิวพรรณและเส้นผม รวมทั้งนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สบู่ เป็นต้น

ส่วนน้ำมันงาสุก เป็นการบีบเมล็ดงาที่คั่วสุกก่อนจึงนำมาบีบจะได้น้ำมันงาสุกที่มีสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นหอมแรงกว่าน้ำมันงาดิบ น้ำมันงาสุกนี้มักจะใช้ในการเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้แก่อาหาร

การบีบน้ำมันงาในสมัยโบราณของชาวอัฟริกันและชาวอินเดียเขาจะทำโดยนำเมล็ดงาไปตำในครกไม้ เมื่อเมล็ดงาแตกดีแล้วก็จะใช้น้ำร้อนลงไปล้าง แล้วเอาใส่ภาชนะทิ้งไว้ให้น้ำมันลอยตัวขึ้น จึงค่อยแยกเอาน้ำมันมาใช้ซึ่งคล้ายคลึงกับวิธีการอีดงาของชาวไทยใหญ่ ที่ใช้ครกขนาดใหญ่บีบสกัดน้ำมันงา ปัจจุบันมีการใช้เครื่องสกัดแบบสกรูเพลส(Screw press) และแบบไฮโดรลิกเพลส (hydraulic press)

ในการผลิตน้ำมันงาในเชิงการค้าบางครั้งผู้ผลิตจะนำเมล็ดงาไปผ่านกระบวนการขัดล้างเปลือกออกก่อน  โดยไปแช่สารละลายด่าง เช่น แช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต … Read More

การสกัดน้ำมันงาหรืออีดงาแบบพื้นบ้านของคนไทยใหญ่

คำว่า “อีด” นี้มาจากภาษาไทยใหญ่ ที่แปลว่าการสกัดหรือการบีบน้ำมัน จากเมล็ดงา หรือเมล็ดถั่ว

1.  นำเมล็ดงาที่คัดเลือกและทำความสะอาดดีแล้วมาตากแดด 1 แดด (ใช้เมล็ดงา 15 กิโลกรัมต่อ 1 ครก)

2.  นำน้ำสะอาดต้มสุกมาคลุกเคล้ากับเมล็ดงาให้ทั่วกัน (ใช้น้ำ 1-2 กระป๋องนม ขึ้นอยู่กับงาเก่างาใหม่)

3.  นำมาใส่ลงไปในครก เริ่มทำการบดงาโดยการใช้วัวเดินลากไม้และคานให้สากหมุนบดงาในครกไปเรื่อย ๆ และต้องหมั่นคอยพลิกกลับเมล็ดงาให้ลงไปในครกตลอดเวลาผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมง เมล็ดงาจะแตก ให้เริ่มเติมน้ำต้มสุกลงไปทีละน้อย 3-4 นาที เติมครั้งจนกว่าน้ำมันงาเริ่มซึมออกมาก็ให้หยุดเติม (จะใช้น้ำประมาณ 3-4 กระป๋องนม)

4.  บดต่อไปเรื่อย ๆ กากงาจะไปติดข้างครก น้ำมันงาจะซึมขึ้นมาเป็นฟองสีขาว ยังใช้ไม่ได้ … Read More

งา ปลูกได้ไม่ต้องใช้สารเคมี

งาเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกปี เนื่องจากความต้องการเมล็ดงาทั้งในประเทศและต่างประเทศมีสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันประเทศไทยผลิตงาได้ปีละประมาณ 35,000 ตัน ใช้บริโภคเองภายในประเทศร้อยละ 45 อีกร้อยละ 55 ของผลผลิตส่งไปขายยังต่างประเทศ ตลาดเมล็ดงาที่สำคัญของไทยได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย ในขณะที่ตลาดโลกโดยเฉพาะยุโรปและอเมริกายังมีความต้องการงาอีกมาก ประเทศที่มีการปลูกงามากก็คือ อินเดีย จีน และในอัฟริกา

ในประเทศไทย เกษตรกรมักจะปลูกงาเป็นพืชเสริมหลังการปลูกพืชหลัก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่แห้งแล้วมีน้ำน้อย เพราะงาเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลงทุนน้อย ทนต่สภาพแห้งแล้วได้ดี งาจึงปลูกได้ในทุกภาคของประเทศ แต่พื้นที่ที่มีการปลูกงากันมากได้แก่ บุรีรัมย์ ศีรสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครราชสีมา มหาสารคาม ชัยภูมิ สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ … Read More

การบำบัดน้ำเสียด้วยน้ำสกัดชีวภาพ

น้ำเสียในแหล่งน้ำสาธารณะ เกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ เกิดจากน้ำเสียจาก การเกษตร โดยเฉพาะจากการเลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์น้ำสัตว์บก น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และน้ำเสียจากครัวเรือน

การบำบัดน้ำเสียจากการเลี้ยงสัตว์

น้ำเสียจากการเลี้ยงสุกรและโค

1.  สุกร การบำบัดน้ำเสียจากการเลี้ยงสุกรจำเป็นต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียอย่างน้อย 2-3 บ่อคือ

บ่อที่ 1 เป็นบ่อที่รับน้ำเสียจากการล้างคอกด้วยน้ำที่ผสมด้วยน้ำสกัดชีวภาพแล้วน้ำสกัดชีวภาพจะทำงานย่อยสลายช่วยให้น้ำมีอุณหภูมิดีขึ้น

บ่อที่ 2-3 เมื่อน้ำเสียผ่านการบำบัดบางส่วนแล้วจากบ่อที่ 1 ผ่านไปยังบ่อที่ 2-3 น้ำจะมีสภาพดีขึ้นให้เติมน้ำสกัดชีวภาพในอัตรา 1:1000 หรือน้ำสกัดชีวภาพ(ขยาย) 1 ลิตรต่อน้ำในบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร จนได้น้ำที่สะอาดมีค่าออกซิเจนสูงขึ้นจนสามารถเลี้ยงปลาได้  ก็นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้เช่น นำไปล้างคอกสุกร นำไปรดต้นไม้ หรือปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้

2.  โค(โคเนื้อและนม)Read More

การผลิตธูปสมุนไพรไล่ยุง

วัตถุดิบ

1.  เปลือกต้นธูปสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง 2 ส่วน

2.  เปลือกสะเดาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง 1 ส่วน

3.  เปลือกอีเหม็นสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง 1 ส่วน

4.  ผิวมะกรูดตากแดดให้แห้ง 1 ส่วน

5.  หัวข่าสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง 1 ส่วน

6.  ตะไคร้หอมทั้งต้นสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง 1ส่วน

7.  น้ำตะไคร้หอมที่คั้นมาจากใบสด 1 ขวด

8.  ก้านธูปทำมาจากไม้ไผ่ตากแดดให้แห้ง… Read More

การเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกพืชผักด้วยเทคนิคจุลินทรีย์

เทคนิคทางเลือก

คมสัน  หุตะแพทย์  แปลและเรียบเรียง

โดยทั่วไปเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกพืชผัก เกษตรกรและผู้ปลูกมักจะต้องซื้อจากร้านค้า ซึ่งถูกผลิตขึ้นในระบบอุตสาหกรรมเพื่อการค้า เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อการค้านี้มักจะอ่อนแอที่ขาดพลังชีวิต เพราะเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ผลิตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ถูกปกป้องไว้อย่างดีที่มีธาตุอาหารและน้ำอย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ

ปัญหาต่าง ๆ จึงมักถูกขจัดให้หมดไปภายใต้สภาพแวดล้อมเทียม ดังนั้นถ้าเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ถูกนำไปปลูกในไร่นาจริงที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่สมบูรณ์ เมล็ดพันธุ์เหล่านี้ก็จะไม่มีความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพปัญหาจริงในไร่นา การจะทำให้เมล็ดพันธุ์ที่อ่อนแอเหล่านี้แข็งแรงขึ้น จึงต้องมีการเตรียมเมล็ดพันธุ์

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ให้มีความแข็งแรงโดยเทคนิคจุลินทรีย์ ทำได้โดยนำไปแช่ในสารละลายที่เป็นส่วนผสมของน้ำหวาน หมักจากพืชที่มีความเข้มข้น 0.2 %(คือนำไปผสมน้ำ 1:500 ส่วน) น้ำส้มหมักจากข้าวกล้องที่มีความเข้มข้น 0.2 % และสารอาหารสมุนไพรตะวันออกที่มีความเข้มข้น 0.1 % (คือนำไปผสมน้ำ 1:1,000 ส่วน) โดยใส่เมล็ดพันธุ์ลงในผ้าขาวบาง หรือตะแกรงแล้วแช่ไว้นาน 4-8 ชั่วโมง เมล็ดพันธุ์ที่งอกได้ง่ายก็ให้แช่นาน 4-5 ชั่วโมง เมล็ดพันธุ์ที่งอกช้ากว่าก็ให้แช่นานขึ้น … Read More

แตงไทย:ไม้ล้มลุกเถาเลื้อย


แตงไทยฟังดูชื่อแล้วน่าจะเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศไทยเรา แต่ที่ไหนได้แตงไทยดันเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปแอฟริกาโน่นแต่ยังไง ๆ เราก็ยึดเอามาเป็นพืชพื้นฐานบ้านเราได้ดี ทำน้ำกะทิแตงไทยได้อร่อยอย่าบอกใครเชียว ปลูกได้ทั่วทุกพื้นที่ของเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นพืชที่ราบ ที่ดอน ที่สูงแถบภูเขาสูงชาวเขาก็ปลูกกันมาก

แตงไทยเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo Linn. ชื่อสามัญ Musk melon หรือบ้างก็ว่า Cantaloupe ชื่อเรียกหลาย ๆ ภาคแตกต่างกัน ภาคกลางเรียกแตงไทย ภาคอีสานว่า แตงจิง ภาคเหนือเรียกมะแตงลาย มะแตงสุก แตงลาย แตงไทย เป็นไม้ล้มลุกเถาเลื้อยไปบนพื้นดินใบมีขนาดใหญ่ มีมือจับตรงง่ามใบ ทุกส่วนของลำต้นแตงไทยมีขนสีขาวปกคลุม ดอกสีเหลืองแบ่งออกเป็นดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่ในต้นเดียวกัน ผลไม้ขนาดโตรูปร่างกลมรี กลมยาวมน เปลือกผิวบางมีหลายสี สีขาว สีครีม สีเหลือง … Read More

สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับฟันและช่องปาก

โรคปริทันต์(โรครำมะนาด)

โรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ รอบๆ ตัวฟัน ได้แก่ เหงือก เนื้อเยื่อ ปริทันต์(เยื่อยึดรากฟัน) กระดูกทับรากฟัน ในระยะแรกที่เป็นโรคนี้จะไม่มีอาการใด ๆ ต่อมาจะมีการทำลายอวัยวะเหล่านี้ ทำให้กระดูกหุ้นฟันละลาย และเหงือกรับ รากฟันโผล่ อาจจะมีอาการปวดบวม ฟันโยกคลอนและหลุดในที่สุด

สมุนไพรที่ใช้ในการรักษา

ขนานที่ 1 เอาหัวข่าหั่นเป็นแว่น ๆ ล้างให้สะอาด โขลกกับเกลือมากหน่อย จนเค็มจัด ตื่นนอนแตะนิ้วสีฟัน ให้ทั่วอมไว้ราว 5 นาที แล้วค่อยแปรงฟัน

ขนานที่ 2 เอาต้นชะพลูทั้งราก 6-9 ต้น เกลือ 1 กำมือ ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มเคี่ยวรากครึ่งชั่วโมง … Read More

โรคผักกับการป้องกันและควบคุมโดยไม่ใช้สารเคมี

1.  โรคราน้ำค้าง

มักพบในคะน้า ผักกาด ในทุกระยะการเจริญเติบโต ถ้าเป็นในระยะต้นกล้าจะทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีม่วง ถ้าเป็นกับใบแก่ ด้านบนใบจะมีสีเหลือง และใต้ใบจะเป็นจุดละเอียดสีดำอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่จุดละเอียดนี้จะมีผงสีขาว จะเกิดจากใบล่าง ๆ ขึ้นไปใบที่อยู่สูงกว่าใบที่มีเชื้อรากระจายจะเหลือง ใบจะแห้งร่วงไป ในเวลาที่อากาศไม่ชื้นจะไม่พบผงแป้ง แต่แผลจะแห้งเป็นสีเทาดำ

2.  โรคกุ้งแห้ง(แอนแทรกโนส)

โรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อรา สามารถเข้าทำลายทุกส่วนของพืชได้ ในพริก มะเขือและแตง เชื้อนี้แพร่ไปกับลม น้ำฝน และแฝงอยู่ในเมล็ดพันธุ์

อาการที่มองเห็นได้คือ ผล ใบของพืช จะมีแผลค่อนข้างกลม และแผลนั้นมักจะแห้งตาย

ถ้าเกิดที่กิ่งจะเห็นเป็นแผลสีน้ำตาลขยายตัวออกไปตามความยาว ใบจะร่วงโกร๋นลุกลามไปที่กิ่งจนกิ่งแห้งตาย พร้อมกับเห็นเป็นตุ่มสีดำเล็ก ๆ ที่เชื้อราสร้างขึ้นมาด้วย

ถ้าแสดงอาการที่ผล จะเห็นจุดฉ่ำน้ำเล็ก ๆ เนื้อเยื่อจะยุบตัวลง … Read More

แมลงศัตรูผักกับการป้องกันและกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี

1.  หนอนใยผัก ตัวบิน,จรวด

เป็นหนอนที่ชอบกัดกินใบพืชพวกกะหล่ำผักกาด ยกเว้นผักกาดหอม(ผักสลัด)

การกัดกินจะต่างจากหนอนชนิดอื่น คือจะกัดกินใบผิวด้านล่างใบ จนเหลือแค่ใยขาว มักเข้าไปกัดกินยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต หรือกะหล่ำที่กำลังห่อหัว ทำให้ยอดลีบ กินใบหุ้มกะหล่ำ และกินใบผักผ่อนจนเป็นรูพรุน

ผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบ ไข่มีสีเหลืองอ่อนเหมือนเกล็ดปลา ใช้เวลา 3-4 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอนสีเขียวขนาดเล็กมาก ตัวหนอนจะใช้เวลากัดกินใบพืชนานถึง 14 วัน จึงเข้าดักแด้ เข้าดักแด้นาน 3-5 วัน ก็จะออกมาเป็นผีเสื้อ วางไข่ได้อีกประมาณ 7 วันจึงตาย รวมวงจรชีวิตประมาณ 26 วัน วงจรชีวิตสั้นมาก การระบาดของหนอนชนิดนี้จึงรุนแรงเป็นพิเศษ

การวางไข่ จะวางไข่ติดกัน 2-5 ฟองไว้ใต้ใบผัก ไข่มีขนาดเล็กสีเหลืองค่อนข้างกลมแบน … Read More