Month: October 2011

ไส้เดือนฝอยปราบหนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง

วัชรี  สมสุข

กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ

กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร

ปัจจุบันไม้สกุลลางสาด อันได้แก่ลองกอง มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกกว้างขวางขึ้น เห็นได้จากกิ่งพันธุ์ลองกองจำนวนมาก ซึ่งขายดีทำเท่าไหร่ก็ขายหมด และยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ ทั้งนี้เพราะพื้นที่การปลูกลองกอง เดิมอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่ปลูกในเขตที่มีความชุ่มชื้นสูง เช่น จันทบุรี ตราด อุตรดิตถ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส เป็นต้น แต่ความนิยมของผู้บริโภคในประเทศมีสูงมากเพราะรสชาติความหอมต่างไปจากไม้ผลชนิดอื่น ทำให้ราคาต่อหน่วยน้ำหนักสูงขึ้นด้วย กสิกรจึงสนใจที่จะทำการเพาะปลูกมากขึ้น เพราะทำรายได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับไม้ผลชนิดอื่น แต่อุปสรรคอันหนึ่งซึ่งกสิกรผู้ปลูกลองกอง ลางสาด หวั่นเกรงกันมากในขณะนี้ คือปัญหาหนอนกินใต้ผิวเปลือก

ลักษณะหนอนและการทำลาย

หนอนกินใต้ผิวเปลือก จะกัดกินทำลายอยู่ใต้ผิวเปลือกลึกระหว่าง ๒-๘ มม. ตามกิ่งและลำต้น ทำให้ต้นเป็นปุ่มปม เมื่อหนอนระบาดมาก ๆ กิ่งจะแห้งและตายในที่สุด … Read More

การปฏิบัติเพื่อการส่งออกสับปะรดสด

เบญจมาส  รัตนชินกร

สณทรรศน์  นันทะไชย

สถาบันวิจัยพืชสวน เกษตรกลางบางเขน กรุงเทพฯ

ผลไม้ไทยที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดคือ สับปะรดโดยเฉพาะในรูปสับปะรดบรรจุกระป๋อง สำหรับสับปะรดรับประทานสดนั้น แม้จะมีมูลค่าการส่งออกยังน้อยอยู่แต่ก็นับเป็นผลไม้สดที่ส่งออกมากเป็นอันดับสองรองจากทุเรียน คือ ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ สับปะรดสดมีมูลค่าการส่งออกประมาณ ๒๑๔ ล้านบาท (ข้อมูลจากกรมศุลกากร) ปริมาณที่ส่งออกนี้เมื่อเทียบแล้วมีไม่ถึงร้อยละ ๑ ของปริมาณที่ผลิตได้ เพราะในแต่ละปีจะผลิตสับปะรดได้ประมาณ ๑.๗ ล้านตัน(กรมส่งเสริมการเกษตร พ.ศ.๒๕๒๘/๒๕๒๙) ตลาดใหญ่ของสับปะรดสดจากเมืองไทยในขณะนี้ก็คือ ญี่ปุ่นซึ่งเราส่งเข้าถึง ๙๖.๔ ของปริมาณส่งออกทั้งหมด ส่วนปริมาณที่เหลืออีกเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ ๕ นั้น ส่งไปจำหน่ายยังประเทศประชาคมยุโรป สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ ตามลำดับ

เนื่องจากสับปะรดไทยมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคต่างประเทศมาก ดังนั้นอนาคตการส่งออกจึงยังสดใสอยู่ ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการส่งออกสับปะรดเท่าที่ผ่านมาก็คือ ยังไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานได้เพียงพอ … Read More

เพลี้ยไก่ฟ้ากระถินและการป้องกันกำจัด

มาลี  ชวนะพงศ์

กองกีฏและสัตววิทยา

กรมวิชาการเกษตร

บางเขน กรุงเทพฯ

กระถิน Leucaena leucocephala(Lam.)de Wit. เป็นพืชพื้นเมืองตระกูลถั่วของประเทศเม็กซิโก ปัจจุบันพบปลูกทั่วไปในแถบลาตินอเมริกา อาฟริกา หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ ออสเตรเลียและเอเซีย สำหรับประเทศไทยได้นำกระถินมาปลูกนานแล้ว เพราะเป็นพืชข้างรั้วที่คนไทยรู้จักดี ต่อมาได้นำกระถินยักษ์ L.Leucocephala var. glabrata มาปลูกเพื่อประโยชน์หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปไม้โตเร็ว เพื่ออนุรักษ์ดิน ให้ร่มเงา วัสดุเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์

เนื่องจากกระถินเป็นพืชที่มีโปรตีนสูงประมาณ ๑๔℅อุตสาหกรรมอาหารสัตว์จึงนำมาผสมอาหารสัตว์ ๓-๓.๕℅ ในรูปกระถินป่น แหล่งปลูกกระถินที่สำคัญคือ กาญจนบุรี ลพบุรี นครปฐม สระบุรี และนครราชสีมา ในเนื้อที่เพาะปลูกประมาณ … Read More

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม:แง่คิดพิจารณาก่อนตัดสินใจเลี้ยงไหม

ณรงค์ฤทธิ์  วิจิตรจันทร์

สถาบันวิจัยหม่อนไหม

กรมวิชาการเกษตร

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลาประมาณ ๗๐-๘๐ ปี แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังนัก จนกระทั่งระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผ้าไหมไทยเริ่มเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศมาก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖-๑๗ กระทรวงเกษตรฯ ได้ให้ความสำคัญกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาก และได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ตั้งศูนย์วิจัยและอบรมหม่อนไหมขึ้นเป็นแห่งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา และเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับหม่อนไหมในปัจจุบันเทคโนโลยีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมก้าวหน้าไปได้มาก ขณะนี้มีพันธุ์ไหมที่รับรองพันธุ์แล้วคือ นครราชสีมา ๖๐-๑ และนครราชสีมา ๖๐-๒ พันธุ์หม่อนนครราชสีมา ๖๐ และบุรีรัมย์ ๖๐

ปัจจุบันกสิกรรายย่อยและรายใหญ่ ๆ ให้ความสนใจการเลี้ยงไหม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นที่ยอมรับของกสิกรมากขึ้น กสิกรบางท่านอาจคิดว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนี้ใช้เวลาสั้น ความต้องการของตลาดมีมากและยาวนาน จึงได้หันมาสนใจ

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะลงมือหรือตัดสินใจยึดการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นอาชีพหลัก ก็มีข้อที่น่าจะต้องทราบและศึกษา เตรียมตัวให้พร้อมก่อน … Read More

ไหมไทย:ลักษณะของไหมพันธุ์ไทย

สถาบันวิจัยหม่อนไหม

เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ประวัติ เดิมชื่อพันธุ์สุรินทร์นางลาย โดยสถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์ได้รวบรวมมาจากบ้านนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีรังสีขาว มาทำการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ จนได้รังสีเหลือง ให้ชื่อว่าพันธุ์นางลาย และเผยแพร่แนะนำพันธุ์สู่เกษตรกรในปี พ.ศ.๒๕๐๗

ลักษณะประจำพันธุ์

  • เป็นพันธุ์ฟักตลอดปี
  • ลำตัวมีลายสีน้ำตาลเข็มคาดขวางโดยตลอด
  • ไข่สีขาวอมเหลือง
  • รังสีเหลืองเข้ม หัวท้ายรังค่อนข้างแหลม
  • ความยาวเส้นใย ๑ รัง ๓๕๐ เมตร
  • จำนวนรังไหม ๑ กก. ๑,๓๐๐ รัง

ลักษณะเด่น

ข้อดี

  • ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
  • เปอร์เซ็นต์รังเสียต่ำ
  • สาวเส้นใยออกง่าย
  • เส้นใยเหนียวและเลื่อมมัน

ข้อเสีย

  • รังไหมขี้ไหมมาก
Read More

กล้วยหอมทองปลอดสารพิษเจาะตลาดญี่ปุ่น

กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออก โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท แพนแปซิฟิคฟู้ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นำเข้ากล้วยหอมทองของประเทศไทย และให้สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด เป็นผู้ดำเนินการด้านการผลิตและส่งออก โดยส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ จำนวน ๖ ตัน/สัปดาห์

ต่อมาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคชุโตเคน ประเทศญี่ปุ่น หรือชุมนุมสหกรณ์ผู้บริโภคในปัจจุบันเดินทางมาเจรจาและได้ตกลงรับซื้อกล้วยหอมทองจาก สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด โดยตรง มาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยส่งเฉลี่ยสัปดาห์ละ ๘ ตัน

ล่าสุด นายสมชาย  ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ … Read More

เห็ดหลินจือ:เห็ดที่มีสรรพคุณทางยา

ศุภนิตย์  หิรัญประดิษฐ์, สัญชัย ตันตยาภรณ์, พรรณี  บุตรธนู, สมพงษ์  อังโขรัมย์ (กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร)

หลินจือ เป็นคำเรียกทับศัพท์ภาษาจีน Ling Zhi หมายถึง วิญญาณ ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า Reishi  ซึ่งหมายถึง เห็ดหมื่นปี ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Lacquered mushroom และ Holy mushroom  ส่วนในประเทศไทยนั้นมีทั้งที่เรียกทับศัพท์ภาษาจีนว่าหลินจือ ที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่นว่า หมื่นปี หรือตั้งขึ้นใหม่ว่าเห็ดอมตะ

เห็ดหลินจือ เป็นเห็ดที่ชาวจีน มีความเชื่อถือว่ามีสรรพคุณทางยามาแต่โบราณนับพันปี ในปี ค.ศ.๑๙๗๑ ได้มีการปลูกเห็ดชนิดนี้ในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่จะช่วยบำรุงรักษา และส่งเสริมสุขภาพ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์Read More

เทคนิคการเปลี่ยนสีและเคลือบผิวส้มเพื่อการส่งออก

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วท.)ได้พัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนสีเขียวของผิวผลส้ม และการเคลือบผิวเป็นผลสำเร็จ และได้แนะนำให้เอกชนผู้ส่งออกนำไปปฏิบัติ เพราะนอกจากจะเปลี่ยนผิวผลส้มให้เป็นสีเหลืองหรือสีส้มสวยทั้งผลเป็นที่ต้องตาตามความต้องการของตลาดต่างประเทศแล้ว ยังสามารถเก็บไว้ได้นานถึง ๓ เดือน โดยไม่เหี่ยวอีกด้วย

การเปลี่ยนผิวสีเขียวของผลส้ม

ทำโดยการนำผลส้มที่ผ่านการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์มาอบในห้องอบ (degreening room) ที่ควบคุมอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ และควบคุมก๊าซเอทธีลีน ให้อยู่ในอัตราต่ำ ตลอดจนควบคุมอากาศหมุนเวียนและการถ่ายเทอากาศเพื่อไม่ให้มีปริมาณออกซิเจนสะสมมากเกินไป ซึ่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว สีเขียวบนผิวส้มจะสลายตัวไปในเวลา ๒-๓ วัน

ส่วนการเคลือบผิวนั้น ต้องนำผลส้มมาล้างด้วยน้ำสบู่ก่อน แล้วนำมาล้างด้วยยากำจัดเชื้อราหลังจากนั้นนำเข้าสู่เครื่องเคลือบผิวที่สามารถฉีดพ่นสารเคมีเคลือบผิว ที่ผสมยาป้องกันและกำจัดเชื้อราในอัตราที่พอเหมาะ แล้วเป่าแห้งด้วยลมร้อน

วท.ได้คิดค้นเครื่องเคลือบผิวต้นแบบที่มีกรรมวิธีง่าย ๆ และต้นทุนต่ำ และพร้อมที่จะให้คำแนะนำเทคโนโลยีการเปลี่ยนสีผิวส้ม และการเคลือบผิวแก่ผู้ประกอบการส่งออก

 

Read More

สาเหตุของโรคขี้เรื้อนสุกรและวิธีการรักษา

โรคขี้เรื้อนสุกรเป็นโรคผิวหนังที่พบในฟาร์มต่าง ๆ ในอัตราค่อนข้างสูง เกิดจาก “ไรขี้เรื้อน” เป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญที่สุดในสุกรทั่วโลก เพราะก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากโดยเจ้าของคาดไม่ถึง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นผลเนื่องจาก

๑.  อัตราการเจริญเติบโตลดลง และมีประสิทธิภาพ การแลกอาหารลดลงประมาณร้อยละ ๙.๒-๑๒.๕

๒.  สุขภาพไม่สมบูรณ์  เป็นสาเหตุโน้มนำทำให้สุกรช่วยง่ายต่อการเกิดโรคอื่นแทรกซ้อน เกิดอาการหงุดหงิดและเครียดเนื่องจากอาการคันที่เกิดขึ้น อาจก่อให้เกิดปัญหาการกัดกัน เกิดบาดแผลที่ง่ายต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยโรคผิวหนังชนิดอื่น ๆ หรือเกิดจากปัญหาฝีภายในอวัยวะภายในและข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา

๓.  ลักษณะภายนอกไม่น่าดู เนื่องจากบาดแผลจากการเกาหรือการกัดกันในรายเป็นโรคแบบภูมิแพ้ ซึ่งค่อนข้างรุนแรง หรือเนื่องจากเป็นโรคแบบเรื้อรัง ซึ่งจะมีสภาพผิวหนังหนาย่น ขนหยาบกร้านไม่เป็นมัน ทำให้ถูกตัดราคาหรือเป็นปัญหาในการซื้อขาย

สาเหตุเกิดจากไรขี้เรื้อนเป็นปรสิตรูปร่างกลมสีขาวแกมเทา ขนาดความยาวประมาณ ๐.๕ มิลลิเมตร ซึ่งมองเห็นยากด้วยตาเปล่า ตัวเต็มวัยของไรชนิดนี้มีขาสั้น ๆ ทั้งหมด ๔ คู่ ไรชนิดนี้จัดเป็นปรสิตภายนอกอย่างถาวรของหนังกำพร้า(ผิวหนังชั้นนอก) … Read More

วิธีการทำให้มะนาวออกผลนอกฤดู

ปกติมะนาวจะออกดอกเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ผลจะแก่ประมาณเดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม ซึ่งในช่วงดังกล่าวนี้มะนาวจะขายได้ราคาถูก แต่ถ้าผลแก่ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ซึ่งเป็นระยะที่ผลผลิตมะนาวมีน้อยจึงทำให้ขายมะนาวได้ราคาสูง มะนาวเริ่มจากออกดอกถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน ถ้าต้องการให้มะนาวเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ให้นับย้อนหลังไป ๖ เดือน ได้มีผู้พยายามหาวิธีที่จะให้มะนาวออกนอกฤดูมีหลายวิธีเช่น

๑.  ตัดปลายกิ่งหรือตัดแต่งกิ่งออกประมาณ ๑-๒ นิ้วทั้งต้น แล้วใส่ปุ๋ยเพื่อกระตุ้นให้ออกดอก

๒.  รมควันต้นมะนาวเพื่อให้ใบร่วง แล้วแตกใบใหม่พร้อมกับให้ดอกตามมา

๓.  ใช้น้ำอุ่นค่อนข้างร้อนฉีดให้ใบร่วง

๔.  ใช้ลวดเล็ก ๆ รัดโคนกิ่งใหญ่ เพื่อให้กิ่งมะนาวมีการสะสมอาหาร

๕.  ปล่อยน้ำเข้าขังสัก ๓ วัน จึงปล่อยออก

๖.  งดการให้น้ำเพื่อให้ใบเหี่ยว แล้วกลับมารดน้ำและใส่ปุ๋ยเคมีกระตุ้นให้ออกดอก

๗.  ใช้ปุ๋ยยูเรีย ๕℅ โดยน้ำหนักละลายน้ำฉีดให้ใบไหม้และร่วง … Read More