Month: November 2011

ส้ม:ส้มปลอดโรค

ในความหมายจริงๆ คือ พันธุ์ส้มที่ได้มาจากการเสียบยอดหรือติดตาโดยยอดพันธุ์ดีปลอดจากโรคโดยเฉพาะไวรัสทริสเตซ่า และใช้ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ดโดยใช้พันธุ์ที่ทนโรค มีระบบรากที่แข็งแรงเช่นส้มสามใบหรือทรอยเยอร์ แต่เมื่อท่านนำไปปลูกแล้วต้องดูแลจัดการป้องกันแมลงพาหะนำเชื้อไม่ให้เข้าทำลาย หากป้องกันแมลงทำลายไม่ได้ ส้มปลอดโรคก็เกิดโรคได้เช่นเดียววกัน

Read More

ทานตะวัน:ข้อมูลจำเพาะของทานตะวัน

ทานตะวัน(Helianthus anuus) เป็นพืชที่น่ามหัศจรรย์ ดอกทานตะวันจะบานและหันไปทางทิศตะวันออกเสมอ ทานตะวันเป็นพืชที่มีระบบรากลึกและแข็งแรง ทำให้ต้นทนแล้งได้ดีมาก ในปลายปี 2536 ที่แล้งจัด จนต้นข้าวฟ่างที่ปลูกแถว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ยืนต้นตาย แต่ต้นทานตะวันกลับสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดี ดังนั้นจึงเป็นพืชที่น่าสนใจมากที่จะปลูกเป็นพืชปลายฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พันธุ์

แต่เดิมพันธุ์ที่ใช้ปลูกต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสม (แปซิฟิค 33) เป็นพันธุ์ที่ติดเมล็ดได้ดีโดยไม่ต้องใช้แมลงช่วยผสมเกสร พันธุ์นี้มีอัตราการงอกสูงกว่า 90℅ เก็บเกี่ยวภายใน 105-115 วัน ให้ผลผลิต 400-500 กิโลกรัมต่อไร่

การปลูก

เริ่มด้วยการไถเตรียมดินให้ร่วนซุย ควรทำเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ ก่อนไถดายหญ้าให้เตียน หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 1.5 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แล้วจึงทำการไถดะให้ลึกที่สุด หลังจากนั้นจึงไถแปรให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอตลอดแปลง ถ้าแปลงเป็นที่ลุ่มน้ำขังได้ … Read More

พืชน้ำ:ใช้ดูดโลหะหนักจากแหล่งน้ำเสีย

แหล่งน้ำที่เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากประสบปัญหากับเรื่องน้ำกันเป็นประจำไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม หรือน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยออกมาลงสู่แม่น้ำลำคลอง พอนำไปรดต้นไม้ก็ทำให้พืชหรือดินมีปัญหาตามมาอีกมากมาย แก้ไขกันไม่รู้จักจบสิ้น

ลองหันไปสำรวจรอบๆ คลองหรือแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้บ้านว่ามีพืชน้ำเช่น ผักตบชวา หรือผักกะเฉดอยู่บ้างหรือเปล่า ถ้ามีให้นำมาทิ้งไว้ในบริเวณแหล่งน้ำเสียใกล้สวนของท่านดู เพราะมีรายงานวิจัยไว้ว่า “ได้มีการนำผักตบชวา ผักบุ้ง และผักกะเฉดจากบึงมักกะสัน มาศึกษาแหล่งรับน้ำเสียจากโรงงานซ่อมรถจักรของการรถไฟแห่งประเทศไทยและแหล่งชุมชนต่างๆ ผลปรากฎว่าผักตบชวามีประสิทธิภาพหรือมีความสามารถดูดโลหะหนักพวกโครเมียมและสารตะกั่วได้สูง ส่วนผักกะเฉดก็สามารถดูดโลหะหนักพวกโครเมียม ตะกั่ว และปรอทได้สูงกว่า แต่ผักบุ้งจะดูดโลหะหนักเหล่านี้ได้น้อยมากหรือไม่ดูดเลย สามารถนำผักบุ้งนี้มารับประทานได้อย่างปลอดภัย”

ในงานวิจัยจึงสรุปว่าผักตบชวาและผักกะเฉดสามารถใช้กำจัดน้ำเสียได้ เนื่องจากสามารถดูดโลหะหนักพวกโครเมียม สารตะกั่ว และปรอทได้นั่นเอง นับว่าเป็นการใช้ธรรมชาติพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกทำลายได้อีกทางหนึ่ง (แต่อย่าปล่อยให้ผักตบชวาขึ้นเต็มแหล่งน้ำจนกลายเป็นวัชพืชที่ต้องคอยกำจัดออกไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มา : กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เอกสารวิชาการด้านปฐพีวิทยา การประชุมวิชาการประจำปี 2531 เล่มที่ 1 เรื่องการดูดโลหะหนักของพืชน้ำในบึงมักกะสัน โดยกลุ่มงานวิจัยเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน 113

Read More

จุลินทรีย์:การใช้จุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชอย่างมีประสิทธิภาพ

เกียรติ  ลีละเศรษฐกุล

เหตุการณ์ที่ผ่านมาในพื้นที่การผลิตทุเรียนภาคตะวันออกที่มีฝนตกชุกและเกิดการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่าอย่างรุนแรง แน่นอนเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างมากมาย เพื่อปกป้องและรักษาทุเรียนให้รอดพ้นหรือหายจากโรคที่คุกคาม

จากกระแสของการที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกทำลายไปทุกๆ วัน ทำให้สังคมบางส่วนเริ่มตระหนักถึงพิษภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น และผลกระทบที่มีต่อมนุษยชาติมากขึ้น การผลิตในภาคเกษตรกรรมก็ถูกมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดความเสียหายได้ จึงมีการรณรงค์เพื่อให้มีการลดการใช้สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งในปีหนึ่งๆเราสั่งซื้อเข้ามาใช้เป็นปริมาณหลายพันต้นเพื่อใช้ในการเพิ่มผลผลิต และใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อป้องกันมิให้ผลผลิตจะต้องเสียหาย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่นำมาใช้จะเป็นสารที่มีพิษทั้งนั้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุมีพิษ หากใช้ไม่ถูกต้องและขาดความรู้ความเข้าใจแล้ว จะเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าเปรียบเทียบกับปริมาณของสารที่นำมาใช้ กับผลผลิตโดยรวมของประเทศ จะเห็นว่ามีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในอัตราที่ต่ำมาก แต่ในความเป็นจริงในแหล่งผลิตบางแห่งมีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มากเกินความจำเป็นทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีศัตรูพืชเกิดระบาด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีปริมาณเชื้อโรคสาเหตุสะสมในแปลงปลูกมาก หรือสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมกับการแพร่ระบาดของโรคดังเช่น เหตุการณ์ที่ผ่านมาในพื้นที่การผลิตทุเรียนภาคตะวันออกที่มีฝนตกชุก และเกิดการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่าอย่างรุนแรง แน่นอนเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างมากมาย เพื่อปกป้องและรักษาทุเรียนให้รอดพ้นหรือหายจากโรคที่คุกคาม

ในต่างประเทศมีการให้ความสนใจที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมากกว่า 20 ปีแล้ว โดยการศึกษาที่จะใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืช โดยทำการค้นคว้าวิจัยหาชนิดของจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อโรคสาเหตุมาทำการศึกษาชีวิตและความเป็นอยู่ ข้อดี ข้อด้อยและปฏิกิริยาที่มีต่อเชื้อโรคสาเหตุโดยจะแยกจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ในแหล่งปลูกพืชนั่นเอง … Read More

ส้ม:โรคไวรัสใหม่ของส้ม

ไมตรี  พรหมมินทร์  กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา

โรคไวรัสที่ว่าใหม่เป็นโรคใหม่สำหรับบ้านเรา เพราะรายงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2536 แต่สำหรับต่างประเทศพบโรคนี้มานานแล้ว ปัจจุบันโรคนี้แพร่ระบาดไปเกือบทุกประเทศทั่วโลกที่ปลูกส้ม เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ โรคที่ว่านี้คือ โรคแทตเทอร์ลีฟ(Tatter leaf) เป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ในบ้านเราพบเป็นกับส้มเขียวหวานที่สถานียางโป่งแรก อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี พบเป็นกับมะกรูด ที่อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และพบเป็นกับมะนาวที่อ.เมือง จ.ชัยนาท

ลักษณะอาการ

เชื้อสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส ซีทีแอลวี (Citrus tatter leaf virus;CTLV) มีรูปร่างคดยาว โรคนี้สามารถเป็นกับส้มได้ทุกพันธุ์  แต่จะอยู่ในลักษณะแฝงคือ อาการของโรคไม่เด่นชัด พันธุ์ส้มที่มีความรุนแรงต่อโรคนี้คือ … Read More

กุหลาบ:การป้องกันโรคใบด่างของกุหลาบ

สุรภี  กีรติยะอังกูร  กลุ่มงานไวรัสวิทยา กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

กุหลาบ เป็นไม้ตัดดอกที่มีความสวยงามมากเป็นอันดับหนึ่งจนได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งดอกไม้ ถึงแม้กุหลาบจะเป็นไม้ตัดดอกที่ให้ผลตอบแทนได้คุ้มกับการทำธุรกิจ เป็นพืชที่ปลูกได้ไม่ยากนัก แต่ก็ไม่ง่ายเสียทีเดียว เพราะมีทั้งโรคและแมลงคอยรบกวนสร้างความเสียหายให้กับทั้งต้นใบและดอก ซึ่งด้านแมลงนั้นได้แก่ เพลี้ยไฟ ไร และหนอน หรือแม้แต่เชื้อราและแบคทีเรียนั้นสามารถถูกควบคุมได้ด้วยการจัดการปลูกและการใช้ยาที่เหมาะสม แต่สำหรับโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบด่างหลายชนิดด้วยกัน สำหรับโรคใบด่างบนกุหลาบยังไม่ได้มีการศึกษาว่าเป็นไวรัสชนิดใด และเป็นที่ทราบกันดีว่าโรคไวรัสนั้นไม่สามารถใช้ยาในการป้องกันกำจัดหรือรักษาได้แต่ก็ไม่ยากเลยในการที่จะป้องกันการติดโรคในสวนของเกษตรกรเอง ซึ่งจะขอแนะนำไว้ในการป้องกันกำจัด

ลักษณะและความสำคัญของโรค

โรคใบด่างของกุหลาบ เป็นได้กับกุหลาบทุกพันธุ์แม้แต่พันธุ์ป่า แต่จะให้อาการรุนแรงที่แตกต่างกัน ความเสียหายจะเกิดกับพันธุ์ที่อ่อนแอต่อไวรัสชนิดนี้เช่น พันธุ์แยงกี้ แองเจลเฟช เป็นต้น ซึ่งมีอาการของโรครุนแรงโดยต้นแคระแกรน ใบด่างชัดเจน เป็นทั้งแบบวงแหวน และเส้นหรือแถบเหลือง และบิดเบี้ยวผิดรูปร่าง กลีบดอกขาดแหว่งไม่สมบูรณ์ ถ้าดอกสีเข้มจะมีดอกด่าง ใบกุหลาบพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค จะมีอาการด่างไม่ชัดเจน จะเห็นอาการด่างชัดเจนในช่วงใบอ่อนเท่านั้น เช่น … Read More

องุ่น:ผลของจิบเบอเรลลิคแอซิดที่มีต่อการพัฒนาของเมล็ดและผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา

วิทยานิพนธ์โดย น.ส.รวีวรรณ  ยุวรรณศิริ ภาควิชาพืชสวน คณะบัณฑิตวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์

พิจารณาเห็นชอบโดย ผศ.ดร.สุรศักดิ์  นิลนนท์

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2537

ผลของจิบเบอเรลลิค แอซิด ที่มีต่อการพัฒนาของเมล้ดและผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา ที่ปลูกบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

องุ่น (Vitis vinifera L.) เป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของโลก มีถิ่นกำเนิดแถบเอเซียไมเนอร์ บริเวณรอยต่อระหว่างทะเลดำ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากนั้นองุ่นก็ได้แพร่ขยายไปยังแหล่งอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งพืชในวงศ์นี้มีทั้งหมด 12 สกุล มีทั้งที่เป็นพันธุ์ปลูกและพันธุ์ป่าซึ่งมีฤทธิ์เปรี้ยวฝาดจัด เนื้อน้อย รับประทานไม่ได้ สกุลที่สำคัญที่สุดของพืชวงศ์นี้คือ ไวทิส(Vitis)

องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาจัดอยู่ในกลุ่ม โอลด์ เวิลด์ เกรพ … Read More

ซันโช้ค:ซันโช้คหรือแห้วบัวตองพืชอาหารใหม่สำหรับคนไทย

ดร.สุรพงษ์  โกสิยะจินดา, นายจันทร์รักษ์  พิมพ์สาลี, นายสุพจน์  ปิ่นพงษ์, นายวิฑูรย์  สวัสดิสิงห์, นายสิทธิชัย  วิทยาเอนกนันท์

ซันโช้ค หรือ แห้วบัวตอง เกี่ยวดองกับบัวตองตรงที่ต่างก็เป็นพืชสกุลเดียวกันกับต้นทานตะวัน แต่ ซันโช้ค หรือแห้วบัวตอง มีหัวกินได้ ใบและลำต้นก็ต่างกันบ้าง ส่วนดอกคล้ายคลึงกันแต่ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย

หลายคนคงรู้จักดอกบัวตองดี โดยเฉพาะคนแม่ฮ่องสอนและคนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หรืออย่างน้อยก็ได้ยินหรือได้อ่าน เพราะการบานของดอกบัวตองในฤดูหนาวทางภาคเหนือ ทางการท่องเที่ยวได้ใช้เป็นสื่อชักชวนให้ผู้คนมาท่องเที่ยวและมาชมกัน นอกจากนี้ยังมีผู้นำภาพทุ่งบัวตองกำลังบานมาพิมพ์เป็นบัตร ส.ค.ส. ฯลฯ เมื่อได้ยินเรื่องซันโช้ค หรือแห้วบัวตอง ก็ย่อมมีคำถามตามมาเป็นขบวนซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

ซันโช้ค หรือ แห้วบัวตอง เกี่ยวดองกับบัวตองตรงที่ต่างก็เป็นพืชสกุลเดียวกันกับต้นทานตะวัน แต่ซันโช้ค หรือ แห้วบัวตอง มีหัวกินได้ ใบและลำต้นก็ต่างกันบ้าง … Read More

พรรณไม้:พรรณไม้น้ำสวยงามทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรไทย

วิทยา  หวังเจริญพร

ถึงแม้ว่ายังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงพรรณไม้น้ำไม่มากนักก็สามารถเริ่มต้นได้โดยการเริ่มเลี้ยงพรรณไม้น้ำบางชนิดที่เลี้ยงง่าย ตลาดต้องการแน่นอน และต้องการใช้ในปริมาณมาก

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “พรรณไม้น้ำ” เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในตู้ปลาที่มีประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในแง่ความสวยงาม และมีประโยชน์ต่อปลาที่เลี้ยงอยู่ร่วมกัน ทั้งในด้านเป็นแหล่งอาหาร เป็นที่หลบซ่อนศัตรูและวางไข่ การผลิตออกซิเจนทำให้น้ำบริสุทธิ์มากขึ้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันอีกว่า พรรณไม้น้ำมีการผลิตยาธรรมชาติที่รักษาและบำรุงสุขภาพของปลาได้อีกด้วย

พรรณไม้น้ำ นับว่าเป็นสินค้าส่งออกอย่างหนึ่งของไทยที่มีอนาคตสดใส เนื่องจากตลาดต่างประเทศต้องการมากและได้ราคาดี มีเกษตรกรหลายรายให้ความสนใจในเรื่องนี้มากพอสมควร แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านการผลิต การตลาดมาก่อน แต่มีความตั้งใจและต้องการเป็นผู้ผลิตพรรณไม้น้ำ โดยเฉพาะในแง่ของความเป็นไปได้ในการผลิตเพื่อเป็นการค้า

ความเป็นไปได้ในการผลิตพรรณไม้น้ำ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเพาะขยายพันธุ์พรรณไม้น้ำมาก เนื่องจากมีภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีพรรณไม้น้ำท้องถิ่นจำนวนมาก สำหรับเกษตรกรผู้สนใจผลิตพรรณไม้น้ำ ถึงแม้ว่ายังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงพรรณไม้น้ำไม่มากนัก ก็สามารถเริ่มต้นได้โดยการเริ่มเลี้ยงพรรณไม้น้ำบางชนิดที่เลี้ยงง่ายตลาดต้องการแน่นอน และต้องการใช้ในปริมาณมาก เช่น สาหร่ายหางกระรอก หลิวน้ำ ขาไก่ด่าง มะพร้าวน้ำ เป็นต้น เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น จึงทำการขยายการผลิตพรรณไม้น้ำชนิดอื่นๆ ต่อไป… Read More

สุกร:การจัดการในฟาร์มสุกรป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอส

โรคพีอาร์อาร์เอส(PRRS) หรือโรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ในสุกร เป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตโดยตรง เช่น การแท้งของแม่สุกร การตายของลูกสุกรอนุบาล การตายของสุกรขุน และการตายของสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และที่สำคัญโรคพีอาร์อาร์เอสเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ อีกทั้งสุกรที่หายจากอาการป่วยแล้ว ยังสามารถแพร่เชื้อไปยังสุกรตัวอื่นได้ โดยเฉพาะสุกรที่นำเข้ามาร่วมฝูงใหม่ เมื่อได้รับเชื้อจากสุกรที่มีอยู่เดิมแล้วจะแสดงอาการรุนแรง และอัตราการสูญเสียสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้นคือโรคนี้เป็นโรคที่กดกูมิคุ้มกัน ทำให้เชื้ออื่นๆ แทรกซ้อนเข้ามาโดยง่าย

นายปรีชา  สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคพีอาร์อาร์เอส ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ อีกทั้งเมื่อสุกรที่ได้รับเชื้อดังกล่าวจะไปกดภูมิคุ้มกัน ทำให้เชื้ออื่นแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น ดังนั้นแนวทางที่จะลดความสูญเสียและสามารถแก้ปัญหาโรคนี้ได้อย่างยั่งยืน คือการจัดการฟาร์มโดยใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสตลอดจนโรคระบาดอื่นๆ เข้าสู่ฟาร์มได้ดีที่สุด

ในส่วนของเกษตรกรรายย่อยหรือประชาชนที่มีการเลี้ยงสุกรหลังบ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรือเลี้ยงเพื่อการบริโภคเองนั้น จะประสบปัญหากับโรคพีอาร์อาร์เอส รวมถึงโรคระบาดอื่นเป็นประจำ เนื่องจากการละเลยในด้านการป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยเฉพาะการนำสุกรไม่ทราบแหล่งที่มา และการเลี้ยงสุกรรวมกันหลายรุ่น ทำให้เมื่อเลี้ยงไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง ลูกสุกรจะแสดงอาการป่วยตาย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรใส่ใจในการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม … Read More