Month: November 2011

กุ้งกุลาดำ:โรคเสี้ยนดำในกุ้งกุลาดำ

จิรศักดิ์  ตั้งตรงไพโรจน์และคณะ

หน่วยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะสัตวแพทย์ศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำคือ “โรคกุ้ง” โรคกุ้งจะเกิดขึ้นได้ในทุกระยะหรือขนาดของกุ้ง เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า สภาพแวดล้อม เช่น ความเค็ม อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีก๊าซอ๊ออกซิเจนในน้ำต่ำ ก๊าซแอมโมเนียสูง รวมถึงการเกิดโรคเนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส บัคเตรี พยาธิทั้งภายนอกและภายใน เชื้อราและการขาดสารอาหารบางชนิด การวินิจฉัยสาเหตุต่าง ๆ ของโรคนั้นจำเป็นจะต้องกระทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกัน มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างมาก

พบกุ้งกุลาดำเป็นโรคเสี้ยนดำ

ปัจจุบันนี้ ในช่วงฤดูฝน ผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชลบุรี … Read More

ข้าว:ปลูกข้าวให้วัวกิน

ทวี  คุปต์กาญจนากุล

สถานีทดลองข้าวหันตรา  สถาบันวิจัยข้าว

กรมวิชาการเกษตร

ตามท้องนาในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม หลายท่านอาจจะเคยสังเกตเห็นชาวนากำลังเกี่ยวใบข้าวในนา มัดเป็นฟ่อน หาบใส่รถเข็น หรือใส่เรือขนกลับบ้าน หากลงไปสอบถามดูก็จะได้คำตอบว่านำใบข้าวที่เกี่ยวได้ไปเลี้ยงวัว

การเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะโคและกระบือนั้นเคยเป็นอาชีพเก่าแก่ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางมาก่อน เพื่อใช้แรงงานในการทำนาหรือขายสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นเป็นรายได้เสริม การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีการเกษตรในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรเลิกเลี้ยง

โคกระบือ หันไปใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการทำนาแทนแรงงานสัตว์ เป็นผลให้โคกระบือในพื้นที่เหลือจำนวนน้อยมาก

ภาวะราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวนาประสบปัญหาทำนาแล้วขาดทุน มีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันความต้องการอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์สูงขึ้น ทำให้โคกระบือมีราคาแพง เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวเลยหันมาเลี้ยงสัตว์กันหลายรายปรารภว่าจนเพราะทำนา แต่พอจะลืมตาอ้าปากได้จากการเลี้ยงโคกระบือ

การเลี้ยงปศุสัตว์แทบทุกชนิด ปัจจัยต้นทุนการผลิตที่สำคัญมีสองอย่าง คือ … Read More

เห็ดฟาง:เห็ดฟางแห้งและการประกอบอาหารจากเห็ดฟางแห้ง

ภูมิอากาศของประเทสไทยเหมาะสมต่อการปลูกเห็ดฟาง และสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศเกษตรกรจึงนิยมปลูกมากกว่าเห็ดชนิดอื่น ผลผลิตของเห็ดฟางมีประมาณ ๘๕ เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตเห็ดทั้งหมดไทยผลิตเห็ดฟางสดได้ปีละ ๖๐,๐๐๐ ตัน คิดเป็นเงินประมาณ ๙๐๐ ล้านบาท เห็ดฟางที่ผลิตได้ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ใช้บริโภคภายในประเทส อีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เนื่องจากเห็ดฟางเป็นพืชที่เน่าเสียได้ง่าย การส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศจำเป็นต้องแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บรักษาไว้ได้นาน เช่น เห็ดฟางกระป๋อง เห็ดฟางแห้งก็เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มจะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้

ฟางข้าวเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ในการเพาะเห็ด ดังนั้นหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวจึงมีการเพาะเห็ดฟางกันมาก ทำให้บางครั้งมีปริมาณเห็ดฟางสดล้นตลาด นอกจากนั้นยังมีเห็ดฟางสดที่มีคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ เช่น ดอกบาน ดอกเล็กหรือใหญ่เกินไป เห็ดฟางสดที่เหลือจากการจำหน่ายเหล่านี้เมื่อทิ้งไว้จะเน่าเสียได้ง่าย จึงควรทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บรักษาไว้ได้นาน เช่น เห็ดฟางแห้ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เห็ดต้องสูญเสียไป ซึ่งจะเป็นผลเสียหายในทางเศรษฐกิจ

เห็ดฟางเป็นพืชผักที่มีปริมาณโปรตีนสูง เห็ดฟางสด ๑๐๐ กรัม … Read More

แมงมุม:ตัวห้ำที่ช่วยกินแมลงในนาข้าว

วิภาดา  วังศิลาบัตร

กองกีฏและสัตววิทยา

กรมวิชาการเกษตร

เมื่อกล่าวถึงแมงมุม ทุกคนมักจะนึกถึงแมงมุมที่ชักใยอยู่ตามบ้านและนึกถึงโทษของมันที่ทำให้บ้านเรือนสกปรกมากกว่าที่จะนึกถึงประโยชน์ของมันที่ช่วยจับยุงกิน หรือบางคนจะไม่ทราบถึงประโยชน์ของมันเลย เช่นเดียวกับในนาข้าวมีแมงมุมที่มีประโยชน์คอยช่วยลดปริมาณแมลงศัตรูข้าว แต่ชาวนาส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงประโยชน์หรือบทบาทของแมงมุมเหล่านั้น การใช้สารฆ่าแมลงในนาข้าวจึงไม่คำนึงถึงผลเสียหายหรือผลกระทบที่จะมีกับแมงมุมเหล่านี้

แมงมุมในนาข้าว

แมงมุมเป็นสัตว์ที่มี ๘ ขา แมงมุมในนาข้าวจับแมลงศัตรูข้าวบางชนิดเป็นอาหาร จะจับกินโดยตรงหรือใช้ใยดักจับ แมงมุมในนาข้าวมีถึง ๖๓ ชนิด แต่ที่สำคัญและช่วยลดปริมาณแมลงศัตรูข้าวมีดังนี้

๑.  แมงมุมหมาป่า

แมงมุมชนิดนี้มีลำตัวอ้วนกลม มีสีเทา ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๗-๘ มม. อาศัยอยู่ตามโคนต้นข้าวเป็นแมงมุมที่ว่องไว สามารถวิ่งบนผิวน้ำระหว่างกอข้าวเพื่อหาเหยื่อ จับเหยื่อกินโดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยชักใยดักจับ

เหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นพวกเพลี้ยกระโดและเพลี้ยจักจั่น ตัวเต็มวัยของหนอนกอข้าว แมงมุมชนิดนี้สามารถกินเหยื่อได้มาก ขนาดโตเต็มที่กินเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเฉลี่ยวันละ ๒๐ ตัว หรือบางครั้งกินได้สูงสุดถึง ๓๕ ตัวต่อวัน และชอบกินตัวเต็มวัยของเพลี้ยมากกว่าตัวอ่อน… Read More

เห็ดฟาง:การปรับปรุงพันธุ์เห็ดฟาง

ยงยุทธ์  สายฟ้า

กลุ่มงานวิทยาไมโค

กองโรคพืชและจุลชีววิทยา

กรมวิชาการเกษตร

คนไทยรู้จักเห็ดฟางและใช้ประกอบอาหารกันมาช้านานแล้วเพิ่งจะมีการค้นคว้าทดลองการเพาะและการทำเชื้อตามหลักวิทยาศาสตร์เมื่อประมาณ ๕๐ กว่าปีมานี้เอง ท่านอาจารย์ก่าน  ชลวิจารณ์ เป็นบุคคลแรกที่ได้บุกเบิกงานศึกษาวิจัยด้านเห็ดฟางจนประสบความสำเร็จสามารถทำเชื้อเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และคิดค้นวิธีการกองเห็ดฟาง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเพราะแบบกองสูง จากนั้นการเพาะเห็ดฟางก็ได้ขยายกว้างออกไป อันเป็นผลมาจากท่านอาจารย์ก่าน  ชลวิจารณ์ ได้เปิดอบรมหลักสูตรการทำเชื้อและการเพาะเห็ดฟางขึ้นหลายรุ่น ทำให้เกิดอาชีพทำเชื้อเห็ดฟาง และเพาะเห็ดฟางขายตามมา เห็ดฟางจึงกลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญและนับวันจะเพิ่มความสำคัญมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาการเพาะเห็ดฟาง

การพัฒนาการเพาะเห็ดฟาง เริ่มจากการเพาะแบบกองสูงมาเป็นเพาะแบบกองเตี้ยที่ต้องใช้แบบพิมพ์จนถึงขั้นเพาะในโรงเรือนอบไอน้ำพันธุ์เห็ดที่ใช้ส่วนใหญ่จะได้จากดอกเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามกองฟางเก่า ๆ แล้วแยกเนื้อเยื่อต่อ ๆ กันเรื่อยมา ไม่มีการบันทึกหรือศึกษาสายพันธุ์เห็ดฟางเหล่านั้นเอาไว้เลย จนอาจจะลืมไปว่าสายพันธุ์เห็ดฟางก็มีความสำคัญมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวิธีการเพาะ

บทบาทของกรมวิชาการเกษตรในการปรับปรุงพันธุ์เห็ดฟาง

กรมวิชาการเกษตรเล็งเห็นถึงความสำคัญของสายพันธุ์เห็ดนี้ จึงได้วางแผนการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เห็ดฟางขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ เป็นต้นมา

สำหรับงานในระยะแรกนั้นเป็นการศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น เพื่อนำมาประกอบการวางแผนการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป งานดังกล่าวประกอบด้วย

๑.  การเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาและอัตราการเจริญเติบโตระหว่างเชื้อเห็ดที่ได้จากสปอร์เดี่ยวจากดอกเห็ดฟางดอกเดียวกัน… Read More