Month: December 2011

ทุเรียน:การฟื้นฟูต้นทุเรียนภายหลังการเข้าทำลายของเชื้อไฟทอปธอร่า

วันทนีย์  ชุ่มจิตต์  และคณะ..ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

ต้นทุเรียนที่ถูกเชื้อไฟทอปธอร่า(โรคโคนเน่า) เข้าทำลายจะทรุดโทรมเนื่องจากระบบรากและระบบลำเลียงเสียหาย นอกจากนี้เชื้อที่อยู่ในลำต้นยังสามารถทำลายต้นทุเรียนได้อย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ต้นตายได้ การแก้ไขปัญหาเรื่องโรคโคนเน่านี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จโดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น ควรใช้หลายวิธีเช่นกัน ซึ่งแนวทางการแก้ไขมีดังนี้

1.  เพิ่มความสมบูรณ์ของต้นเพื่อให้ต้นสามารถต้านทานต่อโรคได้

2.  ทำลายเชื้อที่ยังอยู่ในต้นเพื่อหยุดยั้งการทำลาย

3.  หยุดยั้งการเจริญของเชื้อที่ยังอยู่ในดิน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายครั้งต่อไป

4.  ปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกันทดลองใช้เชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีกับต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า รวมทั้งการเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นทุเรียนโดยการให้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากทุเรียนที่เป็นโรค ระบบรากของทุเรียนมักจะไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ตามปกติ การให้ปุ๋ยทางใบจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูสภาพต้นไม้ได้เร็วขึ้น

จากการทดลองพ่นปุ๋ยทางใบ (น้ำตาลมอลตานิค อัตรา 20 ซีซี+ปุ๋ยเกร็ด 15-30-15 อัตรา 60 กรัม+ฮิวมิค แอซิด อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) … Read More

มอดเจาะลำต้นทุเรียน:เชื้อราไฟทอปธอร่าสาเหตุโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน

ชัยวัฒน์  กระตุฤกษ์  กลุ่มงานวิจัยโรคไม้ผลพืชสวนอุตสาหกรรมและสมุนไพร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

ทุเรียน (Durio zibethinus Murray) อาจพูดได้ว่าเป็นผลไม้ที่เคียงคู่กับเมืองไทยของเราเพราะปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนทุเรียนสามารถผลิตทุเรียนออกจำหน่ายหมุนเวียนกันได้ตลอดทั้งปี จนประเทศไทยเราได้กลายเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกผลทุเรียนสด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เรามีทุเรียนพันธุ์ดีเป็นที่รู้จักและทำชื่อเสียงให้กับประเทศหลากหลายพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายได้แก่ ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว และพันธุ์กระดุมทอง และจากการที่มีพื้นที่ปลูกเป็นแหล่งผลิตใหญ่ๆ ย่อมต้องมีปัญหาติดตามมา ปัญหาที่พบมากของการทำสวนทุเรียนนอกเหนือจากแมลงศัตรูต่างๆแล้ว “โรคของทุเรียน” นับว่ามีความสำคัญมากโดยเฉพาะโรครากเน่า-โคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora (Butler) Butler) ซึ่งนับได้ว่าเป็นของคู่กันกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนมาโดยตลอด และสิ่งที่ปรากฎควบคู่ไปกับการเกิดโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน ได้แก่ร่องรอยการเจาะของมอดตัวเล็กๆ ตามกิ่งและลำต้นของทุเรียนที่เป็นโรคนี้จนกลายเป็นปัญหาที่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนได้ถกเถียงกันมาตลอดว่าสิ่งไหนเกิดขึ้นก่อนกันระหว่างมอดเจาะลำต้นทุเรียนกับโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน เกษตรกรชาวสวนทุเรียนหลายท่านมีประสบการแตกต่างกันไป หลายท่านเข้าใจว่ามอดเจาะลำต้นทุเรียนเกิดขึ้นก่อน และเป็นตัวนำพาเชื้อราของโรครากเน่า-โคนเน่าให้มาเกิดกับทุเรียน นอกจากนี้นักวิชาการที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับแมลงศัตรูทุเรียน ยังได้รายงานไว้ว่ารอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อโรคโคนเน่าเข้าทำลาย และทำให้ต้นทุเรียนต้นขนาดใหญ่ตายได้

มอดเจาะลำต้นทุเรียน (Durian Shot-hole … Read More

มังคุด:เทคนิคการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพมังคุด

มังคุดเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรูปทรงสวย สีผลสวย สะดุดตา เนื้อภายในสีขาวสะอาด ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว ตลาดต้องการมังคุดที่ผลมีน้ำหนักมากกว่า 80 กรัม ผิวผลเรียบ เป็นมันไม่มีร่องรอยของการเข้าทำลายของโรคและแมลง ไม่มีหรือมีอาการเนื้อแก้วยางไหลในผลน้อยมาก แต่เกษตรกรไม่สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้ราคาของมังคุดที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสถานการณ์การผลิตในปัจจุบันปริมาณการผลิตมังคุดที่มีคุณภาพที่เกษตรกรผลิตได้มีน้อยกว่าร้อยละ 60 ของผลผลิตรวมทั้งหมด ดังนั้นเทคนิคและวิธีการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของมังคุดเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้ได้ราคาดีตามไปด้วย

เทคนิคการจัดการเพื่อควบคุมปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตมังคุด

1.  การปลิดดอก การที่ต้องปลิดดอกที่มีปริมาณมากเกินไป ให้เหลือในปริมาณที่พอเหมาะนั้นก็เพื่อช่วยให้ผลมังคุดที่เหลือมีขนาดใหญ่ และพัฒนาการได้เร็ว เนื่องจากภายในต้นมีปริมาณอาหารสะสมที่จำกัด

ระยะเวลาที่ควรปลิดดอกคือ ในระยะดอกตูม ปริมาณดอกที่ควรไว้คือ 20 ดอกต่อกิ่ง

2.  การป้องกันกำจัดโรคแมลง เพื่อให้ผลมังคุดปราศจากการเข้าทำลายของโรคแมลงจึงต้องมีการป้องกันกำจัดแมลงในระยะการพัฒนาการของดอกและผลอ่อน ศัตรูสำคัญของมังคุดในระยะนี้ ได้แก่

–    เพลี้ยไฟ ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของศัตรูชนิดนี้ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกอ่อนและผลอ่อนของมังคุดทำให้ดอกและผลร่วงได้ … Read More