Month: March 2012

โรคของลองกอง

ลองกองเป็นไม้ผลตระกูลเดียวกับลางสาด  แต่มีรสชาติที่หอมหวานกว่า และเป็นที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป  จึงเริ่มมีการขยายการปลูกลองกองออกไปอย่างกว้างขวาง  ทั้งทางภาคใต้และทางภาคตะวันออกของประเทศ แหล่งปลูกดั้งเดิมของลองกองอยู่ทางภาคใต้ แถบจ.ยะลา และนราธิวาส  ซึ่งส่วนใหญ่ขยายพันธุ์โดยการเพาะด้วยเมล็ด  ซึ่งทำให้พบความแตกต่างของลักษณะรูปร่างผล  และรสชาติอยู่เสมอ ๆ ต่อมามีการนำเอาวิธีการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งหรือเสียบยอดมาใช้ จึงทำให้สามารถคัดเลือกต้นที่มีคุณภาพดีไปปลูกยังแหล่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น

ลองกองเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้นและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีร่มเงาพอสมควร เกษตรกรจึงมักปลูกลองกองแซมพืชอื่น โดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ของการปลูก เช่นปลูกแซมระหว่างแถวทุเรียนหรือเงาะ

อย่างไรก็ตามลองกองก็ยังคงมีปัญหาโรคและแมลงรบกวนเช่นเดียวกับพืชผลชนิดอื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรควรที่จะได้หมั่นตรวจตราดูแล และรู้จักลักษณะอาการ ตลอดจนสาหตุและวิธีการป้องกันกำจัดไว้บ้าง เพื่อที่จะสามารถป้องกันหรือลดความเสียหายได้อย่างทันท่วงที

  • โรคราสีชมพู

เกิดจากเชื้อราคอร์ติเซียม ซาลโมนิคัลเลอร์ (Corticium sulmonicolor) เข้าทำลายบริเวณกิ่งหรือลำต้น  ทำให้เกิดลักษณะอาการกิ่งแห้ง ใบแห้งและร่วงหล่น บริเวณกิ่งที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายเริ่มแรกจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุมบาง ๆ บริเวณโคนกิ่ง และจะค่อย … Read More

รากสะสมอาหารของปทุมมา

ผลของจำนวนและความยาวของรากสะสมอาหารของปทุมมาต่อการเกิดหัวใหม่

ปทุมมาเป็นพืชหัวที่กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะจากตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น  โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นไม้ตัดดอกและไม้กระถาง  ผู้ส่งออกหัวปทุมมาไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ได้รับการร้องขอจากผู้นำเข้าว่าต้องการเฉพาะหัวปทุมมาที่มีรากสะสมอาหารสั้น และมีจำนวนรากไม่ต่ำกว่า 5 ราก  โดยเหตุผลที่สำคัญของความต้องการเฉพาะหัวปทุมมาที่มีรากสะสมอาหารที่มีขนาดสั้นก็เนื่องจากว่าทำให้การปลูกลงในกระถางเป็นไปได้ง่ายขึ้นเมื่อปลูกลงในกระถางนั่นก็คือที่มาของงานวิจัยในครั้งนี้

ทดลองปลูกหัวปทุมมาที่มีขนาดหัวเฉลี่ย 2-12 ซม. มีความยาวเฉลี่ยของรากสะสมอาหาร 2 กลุ่มคือ กลุ่มสั้นยาว 6.2 ซม. และกลุ่มยาวยาว 10.1 ซม. โดยแต่ละกลุ่มย่อยมีจำนวนรากสะสมอาหารต่าง ๆ กันคือ 0,1,3,5,7 และ 9 ราก พบว่า

1.  หัวที่มีรากสะสมอาหารที่สั้นและมีจำนวนตั้งแต่ 3 รากขึ้นไป อัตราการงอกจะเร็วตามจำนวนรากที่เพิ่มขึ้น

2.  ปทุมมาที่ไม่มีรากสะสมอาหารหรือมีเพียง 1 ราก จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ากลุ่มที่มีรากสะสมอาหารตั้งแต่ 3 รากขึ้นไป  … Read More

ผักปลอดสารพิษ

ปัจจุบันสารกำจัดแมลงจากการสังเคราะห์ทางเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศยิ่งมีความร้ายแรงมากขึ้นทุกที และมีราคาสูงขึ้นมาตลอด มิหนำซ้ำยังทำให้เกิดปัญหามลภาวะทำลายสิ่งแวดล้อมให้เลวร้ายมากยิ่งขึ้น มีพิษตกค้างในดิน น้ำ อากาศ พืชผลที่ใช้บริโภค รวมทั้งกำจัดแมลงศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์อีกด้วยและผู้บริโภคเริ่มตื่นตัวตระหนักถึงพิษภัยอันตรายแก่สุขภาพชีวิตกันแล้ว  ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์เกษตรจึงได้หลีกเลี่ยงที่จะใช้สารกำจัดแมลงโดยคิดค้นทดลองหาวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ปลอดภัยต่อมนุษย์สัตว์เลี้ยง สภาวะแวดล้อม ด้วยการใช้เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส วิธีกล สารสกัดจากพืช และอื่น ๆ ซึ่งพอประมวลสรุปได้ดังนี้

1.  การใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis

หรือที่เรียกชื่อย่อว่า B.T. ซึ่งทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด  อาทิเช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้หอม หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ ด้วงหมัดผัก ฯลฯ  การใช้เชื้อแบคทีเรียนี้ เริ่ม่นำเข้ามาตั้งแต่ปี 2512 เป็นทางเลือกหนึ่งที่ลดการใช้สารกำจัดแมลง โดยไม่มีพิษตกค้างและพิษสะสมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ผู้บริโภค รวมทั้งแมลงศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์เช่น ผึ้ง ตัวห้ำ ตัวเบียน … Read More

วิธีทำกาวเหนียวดักแมลง

1.  เคี่ยวน้ำมันละหุ่ง 550 ซีซี.บนหม้อตั้งไฟ จนเดือด

2.  เติมผงน้ำมันสน 380 กรัม และคาร์นัวบ้าแว็กซ์ 60 กรัม (มีขายที่ร้นเคมีภัณฑ์)อย่างช้า ๆ คนให้ทั่ว ทิ้งไว้จนเย็น

3.  นำกาวเหนียวที่ได้มาทาบาง ๆ ลงบนแกลลอนพลาสติกใส่น้ำมันสีเหลืองที่เสียบปากขวดไว้กับไม้ลวกที่ปักดินไว้ในแปลงปลูก จะคงทนได้ 10-15 วัน

กระป๋องที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก  โดยล้างด้วยผงซักฟอกหรือผ้าชุบน้ำมันเบนซิน หรือใช้ถุงพลาสติกครอบก่อนทากาวก็ดี

ข้อมูลจาก คุณกอบเกียรติ์  บันสิทธิ์

 

Read More

จะเริ่มต้นเลี้ยงบอนไซอย่างไร

–        หาต้นตอ หากเราจะเลี้ยงบอนไซด้วยฝีมือเราเองก็ต้องเริ่มตั้งแต่เพาะเมล้ดไม้ หรือไปขุดต้นตอที่มีอายุ 5-6 เดือนจากป่า  หรือจะซื้อตอที่เขาขุดมาขายตามตลาดพันธุ์ไม้ก็ได้ วิธีการเพาะเมล็ดเองนับเป็นวิธีที่สร้างบอนไซได้สวยงามที่สุด  แต่ต้องเสียเวลานาน เพราะกว่าเมล็ดจะงอกก็ใช้เวลาเกือบเดือน  เมื่อต้นที่งอกจากเมล็ดอายุได้ 2 เดือนก็นำมาปลูกลงกระถาง  พอตั้งตัวได้ก็เริ่มให้ปุ๋ย  ช่วงเลี้ยงต้นตอใส่ปุ๋ย 16-16-16 หรือออสโมโค้ทก็ได้ เพื่อให้ต้นตอโตเร็ว พอต้นตออายุประมาณ 5-6 เดือนก็เริ่มจำกัดเรื่องปุ๋ยและน้ำเพื่อไม่ให้ต้นตอโตเร็วเกินไป เมื่อได้ต้นตอมาแล้วไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม ตัดยอดออกให้เหลือตอสูงประมาณ 1 ฟุต ตัดแผลให้ตรงอย่าให้เบี้ยวหรือเฉียง แล้วรอให้แตกกิ่งใหม่

–        ดัดตัดแต่งกิ่ง ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากตัดยอด กิ่งใหม่ก็จะเริ่มแตก หากกิ่งที่แตกออกมาแล้วดูไม่สวยก็เด็ดทิ้งไปก่อนแล้วจึงรอให้แตกกิ่งใหม่ออกมาอีก  จนกระทั่งได้กิ่งที่สวยสมใจแล้วจึงเริ่มดัดตัดแต่งกิ่งไปเรื่อย ๆ วิธีดัดก็ใช้ลวดปักลงในดินบริเวณโคนต้นแล้วพันขึ้นไป  จากนั้นดัดซ้ายดัดขวาตามกิ่ง  คอยดัดให้ได้ลีลาตามต้องการ  และตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ … Read More

การแต่งกิ่งกระท้อนให้ต้นเตี้ยห่อง่าย

ตัดยอดเมื่อสูง 80-100 ซม. เลี้ยงกิ่งข้างให้แตกออกประมาณ 3 กิ่ง แล้วตัดครั้งต่อไปเป็นช่วย ๆ เพื่อคุมความสูงประมาณ 2.5 เมตร

–        การตัดแต่งลักษณะนี้โคนจะใหญ่รับน้ำหนักได้ดี ต่อไปเมื่อมีกิ่งกระโดงใหญ่แตกออกมาอาจแต่งออก แต่กิ่งน้ำค้างเล็ก ๆ ภายในอย่าแต่งออกหมด  เพราะจะมีการออกดอกที่กิ่งย่อยภายในพุ่มด้วย  ซึ่งจะได้กระท้อนผลโตดี

–        ไม่ควรตัดแต่งยอดแบบฝาชีหงายแบบมะม่วงทันที (ต้นเดิมไม่เคยแต่งเลย) เพราะแสงจะส่องมากทำให้แดดเผา  เปลือกกิ่งจะแห้งเปราะหักในฤดูต่อไป

ข้อมูล: สวนกระท้อน คุณประภาส  สุภาผล

 

Read More

มุมมองเรื่องกุหลาบตัดดอก

เมื่อมีโอกาสผ่านไปเชียงใหม่ครั้งใดก็อดไม่ได้ที่จะแวะเยี่ยมเยือน คุณพจนา  นาควัชระ เจ้าของสวนกุหลาบพน.และประธานกลุ่มผู้ปลูกกุหลาบเชียงใหม่ กุหลาบที่สวนพน.ในปีนี้มีการฟื้นตัวช้า  บางแปลงต้องตัดทิ้งแล้วนำถั่วเหลืองมาปลูกเพื่อทำการปรับปรุงดินให้สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์  ซึ่งปกติแล้วการปลูกกุหลาบจะไม่นิยมปลูกซ้ำที่เดิม แต่ในกรณีที่บางสวนไม่มีพื้นที่ที่จะขยายไปปลูกแห่งใหม่มีความจำเป็นที่จะต้องปลูกซ้ำที่เดิม  ก็ควรจะมีการปรับปรุงพื้นที่หรือปลูกพืชบำรุงดิน ซึ่งเป็นทางออกที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

กลุ่มผู้ปลูกกุหลาบเชียงใหม่รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้

ชมรมรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เท่านั้น ส่วนตลาดต่างคนต่างมีตลาดเป็นของตัวเอง การรวมตัวกันขายเป็นไปไม่ได้ ไม่เหมือนกับชมรมผู้ปลูกกุหลาบฮิมดอยที่ อ.สันกำแพงเขาจะรวมตัวกันผลิตและรวมตัวกันขายเป็นการทำในหมู่บ้านในเครือญาติ

เกษตรกรรายย่อยต้องการพันธุ์กุหลาบสำหรับปลูกกลางแจ้ง

ปีนี้กุหลาบฟื้นตัวช้า ปัจจุบันมีเกษตรกรหันมาปลูกกุหลาบโดยที่ไม่มีความรู้ในเรื่องพันธุ์ เมื่อเห็นว่ากุหลาบพันธุ์นี้ดอกโตสีสวยก็นำมาปลูก ไม่ได้พิจารณาว่ากุหลาบที่ปลูกนี้อายุการปักแจกันอยู่ได้นานแค่ไหน ดอกโตสีสวยแต่ปักแจกันได้เพียง 2-3 วัน ตลาดเขาก็ไม่ต้องการ เกษตรกรรายใหม่ไม่รู้เรื่องพันธุ์เมื่อปลูกกุหลาบไปแล้วปรากฎว่ามันใช้ไม่ได้ กว่าจะรู้ว่าใช้ไม่ได้ก็เสียเวลาและหลงทางเสียเงินเปล่า ต้องมาเริ่มต้นใหม่ บางครั้งคนขายพันธุ์กุหลาบเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพันธุ์ไหนควรปลูก พันธุ์ไหนไม่ควรปลูก กุหลาบพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าหายากขึ้นทุกวัน  พันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศเหมาะที่จะปลูกในโรงเรือน ซึ่งต้องลงทุนสูง โรงเรือนไร่ละ 400,000-500,000 บาท เกษตรกรทั่วไปปลูกไม่ได้ ฉะนั้นเกษตรกรจึงต้องมาสนใจพันธุ์ที่สามารถปลูกกลางแจ้งได้  ซึ่งขณะนี้คุณพจนากำลังศึกษาหาพันธุ์ที่จะมาปลูกนอกโรงเรือนหรือปลูกกลางแจ้ง กรมส่งเสริมน่าจะหาพันธุ์ที่ปลูกนอกโรงเรือนมาให้เกษตรกร … Read More

ดองดึง:ไม้ดอกหัวเมืองร้อนที่น่าสนใจ

ปัจจุบันมีผู้สั่งดอกดึงจากต่างประเทศเพื่อใช้จัดกระเช้าร่วมกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ มากขึ้น  แสดงให้เห็นว่าดองดึงมีแนวโน้มเป็นไม้ตัดดอกที่มีอนาคตไกลไม่แพ้ดอกไม้อื่น ๆ

การพัฒนาการผลิตดองดึง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การเกษตร หรือใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดแมลง ขณะนี้มีหน่วยงานหลายแห่งที่ให้ความสนใจ เช่น ทางด้านคณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำการวิจัยสารโคลชิซินเพื่อใช้ทางการแพทย์ทดแทนสารเคมี ซึ่งมีราคาแพง  ส่วนทางการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชนสนใจที่จะปลูกเป็นไม้ตัดดอก เพราะบานทนและสีสันสวยงาม ปัจจุบันมีผู้สั่งดองดึงจากต่างประเทศเพื่อใช้จัดกระเช้าร่วมกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ มากขึ้น แสดงให้เห็นว่าดองดึงมีแนวโน้มเป็นไม้ตัดดอกที่มีอนาคตไกลไม่แพ้ดอกไม้อื่น ๆ ถ้ามีการเร่งปรับปรุงพันธุ์ให้มีก้านดอกที่แข็งแรง ดอกใหญ่ ตรงตามมาตรฐานที่ตลาดต่างประเทศกำหนด ก่อนอื่นควรทราบข้อมูลเบื้องต้นของดองดึงกันก่อน

ดองดึง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superb Linn.

ชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) : Glory lily, Climbing lily, Superd lily, … Read More

การเสียบกิ่งให้มะม่วงออกดอกนอกฤดู

การชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูโดยการเสียบกิ่ง (Induction of Off-season Flowering in Mango by Grafting)

มะม่วงเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ  ปัจจุบันมีการส่งผลมะม่วงสดออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปคิดเป็นมูลค่าปีละหลายสิบล้านบาท ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น  ในการปลูกมะม่วงเพื่อการค้านั้นเกษตรกรมักประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากผลผลิตในฤดูกาลปกติ (ช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม) มีปริมาณมากและออกสู่ตลาดในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน  จึงทำให้จำหน่ายได้ในราคาต่ำ แนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ การผลิตมะม่วงให้สามารถเก็บเกี่ยวนอกฤดูกาล  ในปัจจุบันทำได้หลายวิธีเช่น การใช้สารพาโคลบิวทราโซล (พีรเดช, 2533) การปลูกมะม่วงพันธุ์ทะวายซึ่งเป็นพันธุ์ที่ออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี (อนุชา และคณะ, 2534)  นอกจากสองวิธีการดังกล่าวแล้วยังมีการผลิตมะม่วงนอกฤดูกาลที่น่าสนใจอีกวิธีการหนึ่งคือการชักนำให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูโดยการเสียบกิ่ง  ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในต่างประเทศ (Kulkarni, 1986, 1988) โดยอาศัยหลักการดังนี้คือ นำยอดพันธุ์มะม่วงในฤดูกาลปกติมาเสียบกับยอดมะม่วงพันธุ์ทะวายก่อนที่มะม่วงพันธุ์ทะวายจะออกดอกประมาณ 1 เดือน  เมื่อยอดมะม่วงพันธุ์ทะวายออกดอกนอกฤดูก็จะชักนำให้ยอดพันธุ์มะม่วงในฤดูออกดอกตาม

การชักนำการออกดอกโดยการเสียบกิ่งRead More

การป้องกันกำจัดแมลงในพืชตระกูลกะหล่ำ

การลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในพืชตระกูลกะหล่ำในเขตจังหวัดพิษณุโลก  โดยการใช้สารสกัดจากใบสะเดาผสมข่า

สะเดา

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เจริญงอกงามในเขตที่มีอากาศร้อนชื้น จัดอยู่ในวงศ์มาเลียซีอี (Meliaceae) แบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ สะเดาอินเดีย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยคม โคนใบเบี้ยว ปลายใบเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ บริเวณโคนก้านใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกดอกปีละครั้งในเดือนกุมภาพันธุ์ถึงมีนาคม ผลสุกแก่ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม สะเดาอีกชนิดคือสะเดาไทย มีใบโตกว่าสะเดาอินเดีย ใบสีเขียวเข้มหนาและทึบขอบใบหยักน้อยกว่าสะเดาอินเดีย ดอกสีขาว ออกดอกเป็นกระจุกตรงส่วนยอด ออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลสุกแก่ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พันธุ์ไม้อีกชนิดหนึ่งที่พบทางภาคใต้มีลักษณะใกล้เคียงกับสะเดาไทยเรียกว่าสะเดาช้างหรือไม้เทียม มีใบย่อยรูปหอก แก้มใบมน ปลายใบค่อนข้างแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวเป็นมัน ดอกเป็นช่อยาว 20-46 เซนติเมตรสีขาวอมเขียวอ่อน  ออกดอกเดือนมีนาคม  ผลสุกแก่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน สะเดาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถนำส่วนต่าง … Read More