Month: July 2012

ชื่อส่วนต่าง ๆ และกลุ่มขนของไก่ฟ้า

1. หน้าผาก FOREHEAD

2. กระหม่อม CROWN

3. หนังบนใบหน้า FACIAL SKIN

4. ท้ายทอย OCCIPUT

5. ขนคลุมรูหู EAR COVERTS

6. เปีย CREST

7. ต้นคอ NAPE

8. สร้อยคอ RUFF

9. หลังส่วนบน UPPER BACK

10. ขนจากบริเวณไหล่ SCAPULARS

11. ขนคลุมหัวปีก WING COVERTS

12. หลัง BACK… Read More

นกยูงคองโก

ชื่อสามัญ  Congo Peacock

ชื่อวิทยาศาสตร์  Afropavo congensis

เป็นนกในตระกูลไก่ฟ้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในจำนวนทั้งหมด 48 ชนิด ที่ไม่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย โดยไปมีถิ่นกำเนิดแถบบริเวณลุ่มนํ้าคองโกตอนกลางของทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1913 ถึง ค.ศ.1936 นักปักษีวิทยาเคยเห็นแต่เพียงขนของมันเพียงเส้นเดียวบนหมวกของชาวพื้นเมืองเท่านั้นจนกระทั่ง Dr.James p. Chapin นักปักษีวิทยาชาวอเมริกันได้เห็นตัวจริงที่สตั๊ฟไว้ในพิพิธภัณฑ์คองโก ประเทศเบลเยี่ยม โดยตั้งชื่อผิดเป็นนกยูงไทยด้วย จึงได้ศึกษาอย่างจริงจัง บันทึกรายละเอียดต่าง ๆ และ ตั้งซื่อให้มันในครั้งนั้นด้วย

นกยูงคองโกมีข้อแตกต่างอย่างมากจากนกยูงไทยและนกยูงอินเดียซึ่งอยู่ในตระกูล Pavo โดยที่มันมีตัวเล็กกว่า ตัวผู้ไม่มีขนหางที่ยาวเหมือนสองชนิดแรก ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีรูปร่างป้อม ๆ มีหงอนที่เป็นขนแข็ง ๆ ตั้งขึ้นอยู่บนหัว ความสวยของนกยูงชนิดนี้อยู่ที่สีของขน มันชอบอาศัยอยู่ตามป่าที่มีฝนชุกที่ระดับความสูง 1,200-1,500 ฟุต … Read More

นกยูงอินเดีย

ชื่อสามัญ  Indian Peafowl

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pavo aistatus

เป็นนกยูงที่รู้จักกันแพร่หลายมาตั้งแต่โบราณ เคยถูกนำไปเลี้ยงในอียิปต์ กรีก และโรมัน เมื่อสามพันปีมาแล้ว เนื่องจากมีขนสีฟ้าสดสะดุดตา จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า Blue Peafowl มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกาและประเทศอินเดีย ซึ่งมีไปทางเหนือถึงประเทศปากีสถาน บริเวณเทือกเขาหิมาลัยและหุบเขาพรหมบุตร อยู่ตามป่าตั้งแต่ระดับนํ้าทะเลจนถึงระดับความสูง 3,000 ฟุต ชอบหากินตามที่โล่ง ชาวฮินดูนับถือนกยูงนี้ว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่มีการล่าทำให้มันค่อนข้างเชื่องจนกล้าหากินใกล้ไร่นา และบ้านคน ตัวผู้จะคุมฝูงตัวเมีย 2-5 ตัว บินเก่งและร้องเสียงดังมาก ในฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะรำแพนโดยแผ่ขนหางออกเป็นวงกลม เพื่อล่อให้ตัวเมียสนใจ ตัวเมียจะทำรังบนพื้นดินและวางไข่ 4-8 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 27-29 วัน ตัวผู้จะมีขนสวยสมบูรณ์เมื่ออายุ 3 … Read More

นกยูงไทย

ชื่อสามัญ Green Peafowl

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pavo muticus

นกยูงชอบอาศัยอยูในป่าดงดิบทึบที่ระดับความสูง 3,000-4,000 ฟุต อยู่รวมกันเป็นฝูง ตัวผู้คุมตัวเมียได้หลายตัว จะส่งเสียงร้องในเวลาเช้าและเย็น บินเก่ง ชอบนอนตามต้นไม้สูง ๆ แต่จะทำรังตามพื้นดิน ตัวผู้จะทำลานไว้สำหรับรำแพน ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมิถุนายน-กันยายน วางไข่ครั้งละ 5-8 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่ 28 วัน ตัวผู้จะมีสีเต็มเมื่ออายุ 3 ปี มี 3 ชนิดย่อย

1. นกยูงอินโดหรือนกยูงไทยภาคใต้ (Javanese green peafowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า p.m. muticus มีถิ่นกำเนิดอยูในเกาะชวา มาเลเซีย … Read More

นกหว้า

ชื่อสามัญ Great Argus

ชื่อวิทยาศาสตร์ Argusianus argus

เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่มีเดือย ชอบอาศัยอยู่ตามป่าลึกที่มีความทึบมากๆ ตั้งแต่ระดับนํ้าทะเลจนถึงระดับความสูง 4,000 ฟุต แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันมาก

1. Malay Great Argus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า A.a.argus มีในคาบสมุทรมาเลย์ เกาะสุมาตราตอนใต้ของประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนถึงแหลมมลายู

2. Bornean Great Argus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า A.a.grayi มีในเกาะบอร์เนียว ตามป่าเชิงเขา ไม่พบตามชายฝั่ง มีลักษณะเด่นน้อยกว่าชนิดแรก แต่จะมีสีสดใสกว่าเล็กน้อย

ทั้งสองชนิดนี้มีน้อยมากในป่าธรรมชาติ เริ่มเป็นที่รู้จักกันในยุโรปในศตวรรษที่ 18 และถูกส่งจากสิงคโปร์ไปที่สวนสัตว์กรุงลอนดอนในปี ค.ศ.1872 เป็นนกที่ชอบหากินอยู่ตัวเดียว

Read More

นกหว้าหงอนมาเลย์

ชื่อสามัญ  Malay Crested Argus

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rheinartia ocellata nigrescens

นกหว้าหงอนในตระกูล Rheinartia จัดว่าเป็นนกที่มีขนหางใหญ่ที่สุดในโลก มีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ R.ocellata แต่แยกออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ R.o.ocellata ที่มีถิ่นกำเนิดอยูในเวียดนาม และอีกชนิดย่อยหนึ่งคือ R.o.nigrescens มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมาเลย์ ซึ่งพบบริเวณที่ต่ำในรัฐปะหัง และมีพบบ้างในบริเวณภูเขาในรัฐตรังกานูและทางใต้ของรัฐกลันตัน รวมทั้งในบริเวณหุบเขาปาดังทางใต้ของรัฐเปรัคด้วย เป็นนกที่มีลักษณะคล้ายกันกับชนิดแรกที่อยู่ในเวียดนาม แต่สีเข้มกว่าและจุดบนขนเป็นระเบียบมากกว่าโดยเฉพาะหงอนยาวกว่าโดยยาวถึง 85 มม.

นกหว้าชนิดนี้มีผู้รู้เรื่องของมันน้อยมาก และยังไม่เคยปรากฎว่ามีที่ไหนเคยเพาะเลี้ยงนกหว้าชนิดนี้ในธรรมชาติ เชื่อว่ายังพอมีอยู่บ้าง แต่มันชอบซุกซ่อนตัวมากกว่านกหว้าธรรมดา มันอาศัยอยู่บนภูเขาที่มีความสูงถึง 3,000 ฟุต หรือบางแห่งก็สูงกว่านั้น เคยมีผู้พบว่ามันมีจำนวนมากบนภูเขาแถบ Gunong Tahan … Read More

นกหว้าหงอนเวียดนาม

ชื่อสามัญ  Rheinart’s Crested Argus

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rheinartia ocellata ocellata

บางแห่งเรียกนกตระกูลนี้ว่า Ocellated Pheasant พบในตอนกลางของเวียดนาม และมีผู้อ้างว่าเคยพบในลาวด้วย ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบชื้นที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นตามบริเวณเชิงเขาและบนภูเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ระดับนํ้าทะเลจนถึงระดับ 5,000 ฟุต แต่ส่วนมากจะอยู่ต่ำกว่า 3,000 ฟุต เป็นนกที่หากินอยู่เป็นที่ พบเห็นได้ยากในธรรมชาติ เพราะมันเป็นนกที่มีความระมัดระวังตัวมาก มีนิสัยและพฤติกรรมเหมือนนกหว้าธรรมดามาก คือมันเป็นพวก Polygamous ตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว แต่ปกติมันจะหากินตามลำพังตัวเดียว ไม่หากินเป็นคู่ ในฤดูผสมพันธุ์มันจะทำลานสำหรับรำแพน โดยมักจะทำไว้ใต้ต้นไม้ และจะทำความสะอาดลานของมันไม่ให้มีใบไม้ร่วงอยู่ในลานแม้แต่ใบเดียว มันจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย และจะออกหากินไม่ห่างลานของมันมากนัก เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะแยกออกไปทำรังเพื่อวางไข่ 2 ฟอง โดยมีผู้รายงานไว้ว่ามันจะทำรังอย่างหยาบ ๆ บนพื้นดิน แต่จากการเพาะเลี้ยงพบว่ามันชอบวางไข่บนตะกร้าที่แขวนไว้สูงบนต้นไม้หรือริมกำแพงมากกว่า … Read More

นกแว่นสีเทา

ชื่อสามัญ Grey Peacock Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyplectron bicalcaratum

เรียกกันในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงว่า “นกแว่นเหนือ” เพราะเป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเหนือสุดในจำนวนนกแว่นทั้ง 6 ชนิด มีอีกชื่อหนึ่งว่า Chinquis Peacock Pheasant มีถิ่นกำเนิดในสิกขิม ภูฐาน อัสส้ม พม่า ไปทางตะวันออกจนถึงตังเกี๋ยและไฮหนาน ตอนใต้จนถึงด้านเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี ทางเหนือของไทย ลาว และเวียดนามตอนเหนือ แบ่งเป็น 5 ชนิดย่อย ซึ่งเหมือนกันมาก จำแนกค่อนข้างยาก ชนิดที่มีในเมืองไทยคือ Burmese Grey Peacock Pheasant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า p.b. bicalcaratum มีทางภาคตะวันตก, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ… Read More

นกแว่นรอทไชลด์

ชื่อสามัญ Rothschild’s Peacock Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyplectron inopinatum

เป็นนกแว่นที่หาได้ยากและมีผู้เพาะเลี้ยงน้อยมากชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดเฉพาะบนภูเขาบริเวณตอนกลางของประเทศมาเลเซียแห่งเดียวเท่านั้น ชอบอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง ๆ มีในธรรมชาติน้อยมาก พอจะพบเห็นได้ตามบริเวณสันเขาที่อยู่ระหว่างเซลังงอและปะหัง ตามซอกเขาหรือร่องนํ้าที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น โดยมีผู้เคยพบเป็นฝูงเล็ก ๆ 4-5 ตัว ปกตินกแว่นชนิดนี้บินไม่เก่ง จึงมักจะหากินตามพื้นดิน กินอาหารพวกผลไม้สุกและที่หาได้บนพื้นดิน พฤติกรรมต่าง ๆ ของนกแว่นชนิดนี้เช่น เสียงร้อง และการรำแพนเกี้ยวตัวเมีย ยังไม่มีใครทราบรายละเอียดมากนัก

ลักษณะโดยทั่วไป เป็นนกแว่นที่มีขนาดใหญ่เท่ากับนกแว่นสีเทา ไม่มีขนหงอน ที่คอ หน้า และคาง ขนจะเป็นสีเทาแก่และมีจุดหรือแถบสีขาวเล็ก ๆ จะเห็นจุดนี้ชัดโดยเฉพาะที่บริเวณคางและหน้า ขนคลุมคอสั้นมาก ลักษณะขนส่วนหัวและคอของนกแว่นชนิดนี้จะไปเหมือนกับนกแว่นเยอเมน ตัวผู้มีเดือยข้างละ 2 … Read More

นกแว่นเยอเมน

ชื่อสามัญ Germain’s Peacock Pheasant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyplectron germaini

มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติทางด้านตะวันออกของโคชินไชน่าและทางตอนใต้ของเวียดนาม ไม่ปรากฎว่ามีทางตะวันตกของโคชินไชน่า เขมร และไทย ตามที่เคยมีผู้ระบุไว้ เป็นนกแว่นที่ไม่มีหงอนและขนสร้อยคอ เป็นนกที่ชอบอาศัยอยูในป่าทึบตั้งแต่ระดับนํ้าทะเลจนถึงระดับความสูง 4,000 ฟุต มีนิสัยเหมือนกับนกในตระกูลนี้ทั่วไปคือ จะตื่นตกใจง่าย มองเห็นตัวได้ยาก เวลาตกใจจะร้องเสียงดังติดต่อกันแล้ววิ่งหนีไปโดยเวลาวิ่งจะกางปีกไปด้วย ไม่ชอบใช้วิธีบินหนีเหมือนนกชนิดอื่น ในธรรมชาติดูเหมือนจะผสมพันธุ์ตลอดปี ตัวเมียจะวางไข่อีกเมื่อลูกชุดแรกโตพอที่จะหากินเองได้ เป็นนกที่ดักได้ง่ายกว่านกแว่นชนิดอื่น

นกแว่นเยอเมนถูกนำเข้าไปเลี้ยงในปารีสเมื่อปี ค.ศ.1875 และขยายพันธุ์ได้ในปีเดียวกัน เป็นนกที่เลี้ยงและขยายพันธุ์ได้ง่าย ให้ไข่ตก ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงในอเมริกามากกว่าในยุโรป เป็นนกที่มีสัญชาตญาณป่ามากกว่าชนิดอื่น ๆ เมื่อเลี้ยงในกรงจะบินและส่งเสียงร้องเมื่อถูกทำให้ตกใจ ชอบไข่ในรังที่แขวนไว้สูงจากพื้นดินมากกว่าที่อยู่บนดิน วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 22 วัน

Read More